Authority & Harm
'กรมราชทัณฑ์'ประกวดสวนสนามลูกเสือ จัดลูกเสือราชทัณฑ์อาสาพัฒนาสังคม

ปทุมธานี-วันจันทร์ที่17กรกฎาคม2566 เวลา 09.30 นาฬิกา นายสหการณ์เพ็ชรนรินทร์รองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานในพิธีเปิดการประกวดระเบียบแถวสวนสนามลูกเสือและกิจกรรมลูกเสือราชทัณฑ์อาสาพัฒนาสังคมรอบชิงชนะเลิศ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถานเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์เรือนจำทัณฑสถานร่วมพิธีดังกล่าวณทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี
นายอายุตม์ฯ กล่าวต่อไปว่าการประกวดระเบียบแถวสวนสนามลูกเสือครั้งนี้เป็นการแสดงถึงความมีระเบียบวินัยความกล้าหาญอดทนและความสามัคคีโดยมีเรือนจำ/ทัณฑสถานจำนวน15แห่ง16 กองลูกเสือ เข้าร่วมการประกวดแบ่งเป็นประเภทผู้ต้องขังชาย จำนวน 10เรือนจำได้แก่ เรือนจำกลางชลบุรี, เรือนจำกลางระยอง, เรือนจำอำเภอนางรอง, เรือนจำกลางขอนแก่น, เรือนจำจังหวัดสกลนคร, ทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปาง, เรือนจำกลางเชียงราย, เรือนจำกลางนครปฐม,ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง และเรือนจำกลางคลองเปรมและประเภทผู้ต้องขังหญิงจำนวน6เรือนจำ ได้แก่ ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา, ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก, เรือนจำจังหวัดพังงา, เรือนจำจังหวัดภูเก็ต, ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง และเรือนจำกลางระยองโดยมีลูกเสือราชทัณฑ์เข้าร่วมจำนวน544คนและผู้บังคับบัญชาลูกเสือจำนวน32 คนโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนน ตามการประกวดระเบียบแถวลูกเสือ ในรูปแบบการเดินสวนสนาม แบ่งเป็น หมวดที่ 1 เครื่องแบบ และเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบ อุปกรณ์และการยืนอยู่กับที่ หมวดที่ 2 การปฏิบัติขณะอยู่กับที่หมวดที่ 3 การเดินสวนสนามหมวดที่ 4 การปฏิบัติเมื่อผ่านธง 3 ธง ทั้งหมด 4 หมวดหมวดละ 25 คะแนน
รวมทั้งสิ้น 100 คะแนนซึ่งกองลูกเสือที่ชนะการแข่งขันจะได้รับถ้วยรางวัลเกียรติยศ และเงินรางวัล โดยแบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศประเภทชายจะได้รับรางวัล 100,000บาทรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับรางวัล 60,000บาทรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับรางวัล 50,000บาท และรางวัลชมเชย2รางวัล รางวัลละ 20,000บาทและสำหรับประเภทหญิงกองที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัล 50,000บาทรองชนะเลิศ 30,000บาท ตามลำดับ
นายอายุตม์ฯ ทิ้งท้ายว่ากิจกรรมลูกเสือวิสามัญ นับเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือที่กรมราชทัณฑ์ นำมาพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังทั้งทางด้านร่างกายจิตใจคุณธรรมและจริยธรรมปลูกฝังความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกฝนความอดทน ความมีระเบียบวินัยความสามัคคี และการเสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวมประพฤติตนให้เป็นประโยชน์เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นโดยมุ่งหวังให้ผู้ต้องขังได้นำประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมลูกเสือสามัญ ไปปรับใช้ในชีวิตภายหลังพ้นโทษ และไม่หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ คืนคนดีมีคุณค่าสู่สังคมต่อไป