Think In Truth

“พิธา” วืดนายกฯรอบแรก...แล้วไง EP.4 โดย : โดยหมาเห่าการเมือง



วันนี้เป็นวันชี้ชะตาของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในการโหวตลงมติรับรองการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 รอบที่ 2 ซึ่งการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ ประชาชนได้ใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ถึง 50% ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเลย และอำนาจตุลาการ ประชาชนไม่มีโอกาสได้ใช้อำนาจผ่านตัวแทนของประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว

สรุปที่ผ่านมาตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนระบอบการปกครองจาก สมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democracy) นับเวลามาได้ ก็ 90 ปี ประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยเลย ประชาชนเป็นเพียงแค่ตัวแสดงหลอกให้ชาวโลกดูว่า ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่แปลกดีที่เราทนอยู่กับมันมาได้เป็นเวลายาวนาน และก็ร่วมกันอยู่อย่างนี้แบบไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร อาจจะเป็นเพราะประเทศไทยมีทรัยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทำมาหากินตามธรรมชาติ พอทรัพยากรของชาติร่อยหลอลง ทรัพยากรไม่พอแบ่งปันกันอย่างเท่าถึง ในน้ำหมดปลา ในตกเขียว หน้าเหี่ยวตอนเกี่ยวส่งล้ง ความเหลื่อมล้ำในการกอบโกยทรัพยากรของชาติก็ห่างกันมาก คนมีโอกาสโดยเฉพาะกลุ่มทุนผู้ขาดก็เป็นผู้กำหนดนโยบายในการจัดสรรทรัพยากร โดยที่ผลของการจัดสรร ทรัยากรจะถูกแบ่งมาให้ประชาชนส่วนใหญ่ในปริมาณที่น้อยกว่าสัดส่วนที่ฝ่ายทุนจะได้ประโยชน์ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากแรงงาน ความรู้ ความสามารถของคนในชาติ ฝ่ายทุนก็เข้ามากำกับด้วยกฏหมายในการกำหนดเพื่อแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็น ราคาของผลผลิต  ค่าแรงในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับทุน การจำกัดโอกาสลู่ทางในการประกอบการ ฯลฯ เหล่านี้คือดรรชนีที่ชี้ให้เห็นถึงอำนาจของประชาชนไม่มีอยู่จริงในระบอบประชาธิปไตยของไทย

ที่เห็นได้ชัดจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรครั้งล่า ที่พรรคก้าวไกล ซึ่งถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชน มีนโยบายในการทำงานให้กับประชาชนที่โดดเด่นมากกว่าทุกพรรค ได้รับการเลือกตั้งเข้าสภามากที่สุด และสามารถรวบรวม สส. เพื่อจะตั้งรัฐบาลได้มาถึง 312 เสียง เมื่อมีการประชุมลงมติรับรอง แคนดิเดทนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ซึ่งต้องได้รับเสียงสนับสนุนเพิ่มเป็น 376 เสียง ปรากฏว่า นายพิธามีเสียงไม่พอในการรับรองเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 โดยที่มี สว. ไม่ขาดการประชุมถึง 42 ท่าน และงดออกเสียง ถึง 149 คน

ปรากฏการณ์ทางการเมือง ในสภาที่ประชาชนได้ใช้สิทธิ์ใช้เสียงตนเองเลือกตัวแทนเข้าสภาแล้ว ยังต้องมีกลุ่มคนที่ไม่ได้มีที่มาจากประชาชน เป็นผู้เลือกผู้บริหารประเทศอีก นั่นเป็นความจริงที่ชี้ให้ประชาชนเกิดตัวแปรในสมการทางความคิด คือเขาได้คนบริหารประเทศจากคนที่เขาไม่เลือกเป็นส่วนใหญ่ กระบวนการทางการเมืองที่อ้างว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย จะถูกแทรกแซงจากกลุ่มอำนาจนิยมแฝงตัวมาในฉากทัศน์ของนักเลือกตั้งที่เขามาตามระบอบประชาธิปไตย แต่มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมคอยคัดกรองตัวแทนที่ถูกเลือกนักเลือกตั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมจากประชาชน ขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยที่จะผลักตัวแทนของประชาชนไปเป็นตัวแสดงฝ่ายค้าน ให้ดูเหมือนมีการเคลื่อนไหวทางบรรยากาศประชาธิปไตยในสภา แต่การตัดสินใจเชิงนโยบาย และบัญญิติกฏหมายขึ้นมาบังคับใช้ อยู่ที่การตัดสินใจของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ที่เป็นคนที่ถูกคัดกรองจากกลุ่มคนฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่เรียกว่า สว. ซึ่งจะได้คนที่เป็นนักเลือกตั้งของฝ่ายอนุรักษ์นิยมเข้าไปบริหาร ถึงแม้นว่า ตัวแทนของประชาชน ที่มีอุดมการประชาธิปไตย จะมีเสียงข้างมากและมีความชอบธรรมในการที่จะเป็นรัฐบาลหรือฝ่าย และผู้นำฝ่ายนิติญัตติก็ตาม นั่นคือผลที่ทำให้คนไทยตาสว่าง ระบอบการเมืองการปกครองของไทย ที่อ้างและระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น ประชาชนไม่เคยมีประชาธิปไตยเลย ที่อ้างว่า อำนาจประชาธิปไตย คือ อำนาจของปวงชนชาวไทย นั้นก็ไม่ใช่ เพราะประชาชนไม่เคยได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองเลย นอกจากมาเลือกตั้งเท่านั้น

ผลกระทบจากการบริหารกิจการบ้านเมืองจากนักเลือกตั้งที่เป็นตัวแทนกลุ่มอำนาจนิยมฝ่ายอนุรักษ์นิยม ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทยสูงมาก มีอภิสิทธิ์ชนที่คอยเอารัดเอาเปรียบสังคมมากขึ้น มีการเอารัดเอาเปรียบในหน้าที่การงาน ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนก็มากขึ้น ทำให้เกิดการกดขี่แรงงาน จนมีกลุ่มคนบางกลุ่มยกตนเองเป็นชนชั้นสูงบ้างหละ ซึ่งคนเหล่านี้มักจะมอง “คนไม่ใช่คน” ที่มักแสดงตนให้อยุ่เหนือคน ทั้งการตัดสินใจ การบีบบังคับใช้ การกำหนดเอาเปรียบในการแย่งชิงทรัพยากร และอื่นๆ อีกมาก ที่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัดและเป็นรูปธรรม  และเกิดข้อสรุปทางความคิดที่มีการถ่ายทอดความคิดไปสู่สังคมวงกว้างอย่างมีพลวัตร

การยกระดับกระบวนทัศน์ทางความคิด(Paradigm Shift of Concept) จากหลายๆ กระบวนทัศน์ ที่เกิดจากภาวะแห่งความเป็นจริงในความเหลื่อมล้ำที่มีผลระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในสังคมส่วนใหญ่ กระแสแห่งพลวัตร(Dynamic) ทางความคิดที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญในการร่วมคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ วิธีการในการแก้ปัญหา เพื่อลดความขัดแย้งทางสังคม จึงเกิดกระบวนทัศน์ทางการเมือง(Politics Paradigm) กลุ่มคนที่มีกระบวนทัศน์เดียวกัน มีชุดความคิดในการแก้ปัญหาที่ตรงกัน มีการสังเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกัน ก็จะทำให้เกิดอุดมการทางการเมืองเหมือนกัน นี่จึงเป็นที่มาของพรรคการเมือง ที่อาสาตนเองเป็นตัวแทนในการแก้ปัญหาของสังคม ในกระบวนทัศน์ที่พบเห็นเป็นรูปธรรมในสังคมนั้นๆ

กลุ่มการเมืองหลายๆ พรรคการเมืองได้ทำกิจกรรมการเมืองในสภา ก็จะพบว่าแม้แต่ในรัฐสภาเองก็มีความเหลื่อมล้ำในทางการเมือง ผลสะท้อนจากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองก็จะย้อนกลับมาถึงประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ประชาชนคาดหวังการเมืองในระบอบรัฐสภาไม่ได้ และต่อสู้นอกสภาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสิ่งที่ตนประสบ กลุ่มประชาชนหลายๆ กลุ่มที่สะท้อนการต่อสู้นอกสภา ก็จะรวมตัวกันกดดันทางการเมืองในสภา ที่เขาอุตส่าห์เลือกตัวแทนมาเจราจาต่อรอง โดยอาศัยสภาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ ที่เป็นปัญหาของประชาชนในแต่ละกลุ่ม แต่ก็ยังมีกลุ่มอำนาจนิยม นักเลือกตั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยม กดขี่และเอาเปรียบ กระแสแห่งการต่อต้านกลุ่มอำนาจนิยมของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ก็จะเอาความเหลื่อล้ำในรัฐสภาออกมาเป็นเงื่อนไข ในการรวมตัวกันของประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำนั้นลง เพื่อให้รัฐสภาได้รับปัญหาของประชาชนในแต่ละกลุ่ม(Interest Group) มาต่อรองเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

สภาวะทางการเมืองของประเทศไทย กำลังอยู่ในภาวะการต่อสู้ทางความคิดระหว่างคนรุ่นใหม่ ที่มีกระบวนการทัศน์ทางการเมืองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย กับ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ครองอำนาจการปกครองมายาวนาน ใช้อำนาจการปกครองในการจัดสรรทรัพยากรของชาติให้ตกอยู่ในมือของฝ่ายตน จนเกิดทุนผู้ขาดที่เป็นเจ้าของสวนกล้วยคอยดูแลนักเลือกตั้งเพื่อคงไว้ซึ่งนโยบายที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ประโยชน์

เมื่อโลกมันเปลี่ยนไป ฝ่ายอนุรักษ์นิยมบางกลุ่มก็มีความคิดที่เปลี่ยนตามยุคสมัยไปบ้าง อย่าง อดีต สว. ที่มาจากการเลือกตั้ง นางสาวรสนา โตสิตระกูล ได้ออกมาพูดถึงอดุมการณ์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมว่า เป็นฝ่ายที่ยังคงติดอยู่กับอุดมการทางสังคมแบบเดิม วัฒนธรรมเก่า แต่มีความนิยมในความซื่อสัตย์ สุจริต และการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ก็เห็นชัดว่า ฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังไม่แฟร์ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และขอให้ สว.ในชุดปัจจุบัน ได้ให้โอกาสพรรคก้าวไกล ได้เป็นรัฐบาล เพราะที่ผ่านมา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็ครองอำนาจมายาวนานมาก แต่ก็ยังปกครองโดยไม่ได้ใจประชาชน ควรต้องให้โอกาส โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ต่อให้ทำลายดอกไม้ที่เบ่งบานสะพรั่งใหม้หมดไป แต่ก็จะหยุดไม่ได้ในการผลิดอกออกใบขึ้นมาใหม่

กระแสแห่งการเรียกร้องให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ดำเนินการเมืองตามหลักการและระบบ ไม่บิดเบือนเพียงเพื่อสืบทอดอำนาจซึ่งเป็นปัจจัยในความเหลื่อมล้ำและขัดแย้งในสังคมไทย ได้ให้โอกาสพรรคก้าวไกลได้บริหารประเทศ พรรคอื่นๆ ขยายกว้างออกไป  สังคมไทยก็เห็นหมดแล้ว รู้แล้ว ส่วนพรรคก้าวไกล สังคมไทยยังไม่เห็นฝีมือในการบริหาร กระแสเรียกร้องเริ่มมีสังดังและกระจายกว้างออกไป รวมทั้งกลุ่มต่อต้านบางกลุ่มก็ดำเนิการยกระดับการต่อต้านที่รุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าการขุดธุรกิจ สว. การงดให้บริการ สว.และครอบครัว การขุดพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรม สว. กลุ่มกดดันให้ สว. ที่ขาดประชุมลาออก และอีกหลายๆ กิจกรรม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่พึงพอใจของสังคม ซึ่งก็ต้องติดตามการเมืองไทยอย่างใกล้ชิด

วันนี้ผลโหวตรับรองนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทางการเมืองของพรรคก้าวไกล เป็นปัจจัยที่มีผลต่อารตัดสินใจของศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคุณสมบัตินายพิธาของศาลรัฐธรรมนูญ ในการดำเนินการจัดการกับนายพิธา ผลโหวตรับรองนายพิธาเป็นปัจจัยที่สำคัญของความขัดแย้งของคนในสังคมสูงขึ้น(จะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับความอดทนของสังคมที่มีต่อการกระทำของกลุ่มอำนาจนิยมฝ่ายอนุรักษ์นิยม) และจะมีผลต่อการเกิดจราจลที่มีคนในสังคมออกมาร่วมชุมนุมในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ภาวนาให้ตัวแปรต้นมีผลต่อตัวแปรตามที่ส่งผลต่อการเดินหน้าประเทศไทย  ที่เคยส่งกลิ่นความเจริญออกมา ได้เกิดความเจริญอย่างเป็นรูปธรรม อย่าให้คนไทยผิดหวังที่ได้เพียงกลิ่น แต่ความเจริญที่คาดหวังไม่เกิดขึ้น อย่าให้คนไทยรุ้สึกว่าถูกกระทำแบบ “ตดให้หมาดม” เลย