Think In Truth
'พิธา' วืดนายกรัฐมนตรี...แล้วไง EP.5 โดย : โดยหมาเห่าการเมือง
ในวันประชุมเพื่อลงมติรับรองนายกรัฐมนตรี รอบที่สอง สิบเนื่องจากผลการประชุม วิป 3 ฝ่าย คือฝ่ายเสียงข้างมาก ฝ่ายเสียงข้างน้อย และฝ่ายวุฒิสมาชิก ผลการประชุมยังไม่สามารถสรุปได้ว่า จะยึดเอาตามระเบียบรัฐสภา ข้อ 41 หรือไม่ การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเพื่อการรับรองเป็นญัตติ หรือเป็นข้อเสนอ จึงเป็นความสืบเนื่อง ที่จะต้องนำเรื่องที่ยังคงสรุปไม่ได้จากการประชุม วิป 3 ฝ่าย เอาเข้ามาประชุมในรัฐสภา ส่งผลให้การประชุมลงมติรับรองนายกรัฐมนตรีต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายเสียงข้างน้อย ร่วมกัน ส.ว. พยายามที่จะถ่วงเวลา จนมีคำสั่งจากศาลรัฐธรรมนูญออกมาให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ผลการประชุมจึงออกมาว่าการเสนอชื่อแคนดิเดทนายรัฐมนตรีให้สภาลงมติรับรอง ไม่สามารถเสนอซ้ำได้ และให้มีการประชุมลงมติรับรองนายกรัฐมนตรีใหม่ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566
ปรากฏการณ์การเมืองการปกครองไทย ยังคงให้เห็นได้ชัดว่า การปะทะทางความคิดทางการเมืองระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยม กับฝ่ายเสรีประชาธิปไตยนั้นมีความเข้มข้นสูงมาก ภาวะ Chaos ที่เห็นจากการต่อสู้ทางการเมือง จะเห็นว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยม มีความพยายามดิ้นรนที่จะรักษาสนามการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนัก ถึงแม้นว่า ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะคงอำนาจการปกครองประเทศไทยมายาวนาน แต่การรุกในการยกระดับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ของฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ได้กินพื้นที่เข้าไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภา จนฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นฝ่ายครองอำนาจปกครอง ต้องใช้กลยุทธ์ที่ขัดต่อลำดับศักย์ของกฏหมายออกมาใช้ เพื่อสกัดการรุกพื้นที่อำนาจการปกครองของฝ่ายอนุรักษ์นิยม แม้แต่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นักวิชาการฝ่ายอนุรักษ์นิยม อดีประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. ยังรับไม่ได้ ที่สมาชิกรัฐสภา ใช้ข้อบังคับรัฐสภาซึ่งมีศักย์ทางกฏหมายต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ มาบังคับใช้ในการตัดสินใจของรัฐสภา จนถึงออกปากว่าจะหยุดสอนวิชากฏหมาย
กระแสวิากษ์วิจารณ์ของสังคมที่นักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่มีต่อกระบวนการทางการเมืองในการต่อสู้เพื่อสืบทอดอำนาจของฝ่ายอนรักษ์นิยม ที่ขัดต่อจริยธรรมทางการเมืองการปกครอง ขัดต่อหลักนิติธรรมที่ใช้กฏหมายโดยไม่ยึดหลักการทางกฏหมายที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่สังคมได้ตัดสินในใจแล้วว่า ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นเผด็จการที่ไม่ยึดหลักสากลในการดำเนินการทางการเมือง แต่นั่นก็ทำให้เห็นว่า สนามรบทางการเมืองของฝ่ายอนุรักษ์นิยมเริ่มหดลงเรื่อยๆ ซึ่งหากประเมินตามความแปรผันของตัวแปร ระหว่างการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม เปรียบกับกับฝ่ายประชาธิปไตยแล้ว ความนิยมของฝ่ายอนุรักษ์นิยม แปรผกผันกับกาลเวลา ซึ่งในขณะเดียวกันกับฝ่ายประชาธิปไตยกลับแปรผันตามกาลเวลา หากจะประเมินตามปัจจัยต่างที่สัมพันธ์กับความนิยมทางการเมืองแล้ว โอกาสของการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะหายไปจากการเมืองการปกครองของประเทศไทยอีกภายใน ไม่เกิน 2 สมัยการเลือกตั้ง ยกเว้นแต่ไม่มีการเลือกตั้ง ซึ่งนั่นยากต่อการคาดเดาหรือพยากรณ์อย่างมีหลักการบนฐานข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
หากจะเปรียบสมรภูมิรบของฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายเสรีประชาธิปไตยแล้ว สามารถจำแนกได้ สองสนาม คือสนามรบในสภา กับ สนามรบนอกสภา
สนามรบในสภา ต้องยอมรับว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยม มีความเจนจัดในสมรภูมิในสภามาก สามารถใช้วาทกรรมในการถ่วงเวลา และกระชับเวลาให้รีบตัดสินใจของสภาที่เกิดประโยชน์สูงสุดของฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยไม่สนใจว่าหลักการจะกเป็นอย่างไร โดยประสานการดำเนินการทางการเมืองกับหน่วยงานในกำกับให้สนองความประสงค์ทางการเมืองได้อย่างสอดคล้อง แต่ผลของการตัดสินใจของรัฐสภา จะต้องเป็นไปตามความต้องการของฝ่ายอนุรักษ์นิยม นี่คือความเจนจัด และชำนาญเกมในรัฐสภาที่ทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังคงครองอำนาจการปกครองประเทศไทยมายาวนาน
สนามรบนอกสภา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่ได้สนใจที่จะเข้าไปคลุกคลีกับปัญหาของสังคมในทุกระดับ นโยาบยการบริหารจะมะโนตามข้อมูลที่ได้มาจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งแตกต่างจากฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ที่คลุกคลีอยู่กับคนทุกระดับชั้น เข้าใจปัญหา เข้าใจความรู้สึก เข้าใจความต้องการ ที่สำคัญมากไปกว่าที่ฝ่ายอนรักษ์มี คือการมีวิสาสะซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลกับบุคคลมากกว่า ดังนั้นการเมืองนอกสภา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมแพ้อย่างราบคาบ หากการเมืองประเทศไทย ยังมีการเลืกตั้ง ถึงแม้นว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่เป็นเพียงพธีกรรมทางการปกครองก็ตาม แต่ความเข้าใจของคนในสังคมส่วนใหญ่จะมีความคิดหลัก(Main Idea) ไปในทางเสรีประชาธิปไตย โดยปฏิเสธหลักอนุรักษ์นิยมที่เริ่มหมดกองเชียร์ จนต้องโหนสถาบัน เพื่อเป็นแบ็คอัพความชอบธรรมที่ขัดต่อหลักการให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังคงสืบทอดอำนาจต่อไป
หลังจากนี้ จนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 นี้ เราจะเริ่มเห็นตัวละครตัวใหม่ออกมาแสดงตนต่อสาธารณะ เพื่อเป็นตัวชูบุคคลที่จะมีการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ให้รัฐสภารับรอง ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 นี้ ฉากทัศน์รัฐบาลใหม่จะเปลี่ยนไป การจับขั้วทางการเมือง ของพรรคการเมืองจะเกิดลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ของพรรคเพื่อไทย จะกลายพันธุ์จากเลือดผสมไฮบริดจ์ตั้งแต่ที่รับเอกฝูงงูเห่าเข้ามาในพรรค จะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ นีโอคอนเซอร์เวตีฟ(Neo Conservative) เพื่อที่จะให้เกิดการบริดจ์สายพันธุ์กลับคืนมาเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง หลังจากผู้นำพรรครุ่นปัจจุบันได้ร่วมรัฐบาลและวางมือทางการเมืองไป แต่กว่าที่จะบริดจ์สายพันธุ์กลับมาเป็นพรรคเสรีประชาธิปไตยได้ คงใช้เวลาอีกนาน ไม่น้อยกว่า สามสมัยการเลือกตั้ง หรือไม่ก็จะหดตัวเหมือนพรรคบางพรรคที่เคยยิ่งใหญ่ จนปัจจุบันเหลือสมาชิกพรรคเพียงคนเดียว โดยที่ผู้ก่อตั้งพรรคได้แต่มองพรรคที่ตนสร้างมากับมือ ค่อยๆ ถูกลบออกไปจากสนามการเมือง
ส่วนพรรค สว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อาจจะถึงกาลเวลาที่จะสูญสิ้นเวทีการเมืองเร็วกว่าที่ควรจะเป็น หากพรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเวลานี้ มีกระแสความเห็นอกเห็นใจ และกระแสของความผิดหวัง ที่พรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ถูกกระทำ ถูกกลั่นแกล้ง จากหมดโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลอย่างไม่ชอบธรรม หากพรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ยังคงรักษาความโน้มเอียงที่จะหันกลับมาเห็นอกเห็นใจและเป็นเป็นศรัทธาและให้การสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น หากการเลือกตั้งครั้งหน้า ถ้าไม่เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรค สว. จะต้องสาบสูญไปจากรัฐสภาไทยแน่นอน
สถานการณ์ทางการเมืองอย่างนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า “ประเทศไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว” ต่อให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะทุ่มทุนในการรักษาไว้ซึ่งความเชื่อและศรัทธาที่มีต่อระบอบการปกครองแบบอนุรักษ์นิยม หรือ พวกฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักเรียกตนว่าฝ่ายซ้าย (Chinism) ก็ไม่สามารถหยุดความคิดความเชื่อของฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ที่ถูกยัดเยียดให้เป็น ฝ่ายขวา(Americano-ism) ได้เลย นับวันจะลดน้อยลงเรื่อยๆ และสูญสิ้นไปในที่สุด นี่ไม่ใช้กลยุทธ์ตามทฤษฏีงูเหลือมรัดเหยื่อ(Python Straddle Prey Hypothesis) เหมือนดั่งฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับลังเดินเกมในสภาอยู่เวลานี้ แต่นี่คือกฏธรรมชาติ (Natural Law) ที่มีองค์ประกอบทั้งกายและจิต ที่จะร่วมกันประกอบให้เกิดปรากฏการณ์(Phenomena) ที่ไม่สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ให้เกิดตามความต้องการได้ โอกาสของประเทศที่จะถูกจัดระเบียบด้วยกระบวนทางเสรีประชาธิปไตย ด้วยการจัดระเบียบตนเองในระดับปัจเจก จะมากขึ้น ยุคสังคมคุณธรรมจะถูกกำหนดด้วยความเข้าใจวัฒนธรรมโดยรวมและวิถีประชาที่มีกรอบปฏิบัติที่เกิดจากการปฏิบัติระดับปัจเจกที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกัน จะเป็นบรรทัดฐานของสังคมที่เล็งเห็นความสงบสุข ในการอยู่ร่วมกัน โดยไม่มีใครเป็นผู้ผูกขาดความถูกต้องไว้เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นี่คือทิศทางของประเทศไทยในทุกมิติที่กำลังเปลี่ยนแปลง เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง