Think In Truth
'การเมืองไทย'ควรก้าวไปในทิศทางได ? โดย : หมาเห่าการเมือง
หลังจากที่นายพิธาถูกศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ การประชุมรัฐสภาก็ยังคงหาข้อยุติไม่ได้ว่า การเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีให้สภารับรองนั้น เป็นญัตติหรือข้อเสนอ หลังจากที่มีการประชุมสภาที่ถกเถียงถึงประเด็นนี้เป็นเวลายาวนาน ก็ได้ลงมติว่า การเสนอชื่อบุคคลให้สภารับรองเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นญัตติ ซึ่งส่งผลให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่สามารถถูกส่งรายชื่อเข้าสู่สภาให้สภารับรองเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สองได้ เพราะข้อบังคับสภาระบุว่า ญัตติใดที่มีการลงมติตกไปแล้ว จะไม่สามารถเข้าเสนอญัตตินั้นเข้าสภาเพื่อลงมติใหม่ได้
เสียงแห่งความไม่พอใจที่มีต่อการดำเนินการประชุมของประธานสภา ที่ปล่อยให้สมาชิกรัฐสภาอาศัยพวกมากลากไป ของการใช้ข้อบังคับของรัฐสภา มาตัดสินเหนือกว่ารัฐธรรมนูญ จึงปล่อยให้ฝ่าย สว. ได้อาศัยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่กลางสภา จนส่งผลให้ขาดความมั่นใจในการใช้หลักการของกฎหมาย มาเป็นหลักในการใช้ในการตัดสินใจลงมติเพื่อการตัดสินใจของรัฐสภา ซึ่งเป็นทางออกและสนับสนุนให้การดำเนินงานของรัฐสภาสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี
เสียงแห่งความไม่พอใจกระจายออกไปทั่วถึงผลการตัดสินใจของรัฐสภา ที่ขัดแย้งต่อความคากหวังของคนส่วนใหญ่ของประเทศ อีกทั้งยังมีข้อกังขาที่มีต่อการดำเนินงานของ กกต. ที่เร่งรีบส่งสำนวให้ศาลรัฐะรรมนูญพิจารณาคุณสมบัติของนายพิธา โดยที่ไม่เรียกให้นายพิธาได้มีโอกาสเขามาชี้แจงต่อ กกต. เลย และศาลรัฐธรรมนูญรับสำนวนของ กกต. ในการตรวจสอบคุณสอบัติของนายพิธา โดยไม่ได้ให้นายพิธาได้ชี้แจง
ความรู้สึกที่ขัดแย้งและแสดงออกถึงความไม่พึงพอใจต่อการตัดสินใจของรัฐสภาครั้ง ส่งผลให้นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ถึงออกมาชัดมติรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่มีมติไม่เสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี รอบ 2 ว่า “เอาข้อบังคับการประชุมมาทำให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเป็นง่อย ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการเฉพาะแล้ว น่าสงสารประเทศไทย ผิดหวัง ส.ส. คนที่ไปร่วมลงมติห้ามเสนอชื่อซ้ำ” อีกทั้งยังชี้ช่องในการยื่นเรื่องร้องเพื่อรักษาสิทธิ์ด้วยว่า “คนที่คิดว่าสิทธิของตนถูกกระทบ ไปยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ ว่า มติรัฐสภา ซึ่งเป็นการกระทำทางนิติบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญได้ตาม มาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าผู้ตรวจการไม่ส่งศาล ผู้นั้นยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้”
นายชวน หลีกภัย ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานรัฐสภา กล่าวถึงกรณีที่รัฐสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และ แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล โหวตเป็นนายกฯ ว่า “กระบวนการหลังจากนี้จะเป็นไปตามที่ประธานรัฐสภานัดหมายเอาไว้ว่าจะโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 27 ก.ค.นี้ ส่วนเสียงวิจารณ์ว่ารัฐสภามีมติโดยอ้างข้อบังคับการประชุม มีอำนาจใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น หากมีปัญหาต่อไปก็ค่อยว่ากัน” ประหนึ่งว่าได้เห็นคล้อยตามมติของสภา ที่ยอมให้ข้อบังคับของรัฐสภา อยู่เหนือการตัดสินใจตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังคงได้กล่าวผลจากคำวิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อองค์กรต่างๆ ให้ดูเป็นผลกระทบในวงกว้างออกไป ว่า “มติของรัฐสภาก็เป็นมติของรัฐสภาในการให้ความเห็นชอบ หากแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยอย่างไร คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็จะผูกพันกับทุกองค์กร”
ความคิดเห็นทั้งสองคนนี้มีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติในการตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อการดำเนินการทางการเมือง ทั้งที่สองท่านนี้ถือว่าจัดไว้ในกลุ่มอนุรักษ์นิยมเหมือนกัน อีกคนก็เป็นนักวิชาการทางกฎหมายที่เคยเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. แต่ก็ถูกปรับให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ มาเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2560 จึงเกิดมีการเลือกตั้ง และได้นายชวน หลีกภัยมาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฝ่ายรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ
ความเห็นต่างของคนในฝ่ายอนุรักษ์นิยม เป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่า กระแสแห่งความล่มสลายของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในประเทศไทยกำลังจะมาถึง บทบาทของคนรุ่นใหม่ที่แสดงออกถึงแนวคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม ไม่มีบทบาทสำคัญในประเทศเลย นอกจากแสดงออกมาถึงความอับอายต่อสังคม ที่เกิดมาเป็นญาติ หรือบุตรหลานของนักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ในขณะที่กระแสของสังคมแสดงออกความไม่พึงพอใจต่อการดำเนินการของสภา กลุ่มคนตาสว่างก็พร้อมทีจะแสดงออกถึงความประสงค์ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากเปลี่ยนรัฐบาลให้เป็นขั้วฝ่ายประชาธิปไตย แสงสว่างที่สาดส่องเข้าไปในมุมมืดของรัฐสภาไทย ได้ทำให้ความจริงในมุมมืดบางส่วนปรากฏให้คนในสังคมได้เห็น และตาสว่างเกิดมากขึ้น ถึงแม้นว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะใช้ทุนมหาศาลในการผลิตสื่อเพื่อปั่นกระแส ใช้อินฟลูเอ็นเซอร์(Influencer) ที่เป็นที่รู้จักของสังคม มาโน้มน้าวให้สังคมคล้อยตาม ก็ไม่เป็นผล
โดยธรรมชาติของสังคมมนุษย์ มักจะปฏิบัติตนหรือแสดงออกตามกิเลสที่เกิดขึ้นตามหลักการของมัสโลว์ (Abrahum Maslow) ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแบรนดิส อเมริกา ได้เสนอทฤษฎี Maslow’s Hierarchy of Need ซึ่งได้เสนอถึงความต้องการของมนุษย์ 5 ลำดับ และได้เสนอทฤษฎีการกระตุ้นพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการขอมนุษย์ “A Theory of Human Motivation” นั่นคือ ความอยู่รอด ก็จะกระตุ้นด้วยการเสนอ ปัจจัยสี่เพื่อการดำรงชีวิต ความปลอดภัย ก็จะเสนอให้ การประกันในความปลอดภัยของคน ปราศจากอันตราย ได้ความรัก ก็จะกระตุ้นด้วยความรู้สึกใกล้ชิด อบอุ่น สบายใจ มีกลุ่มมีพวก มีอำนาจ ก็จะกระตุ้นด้วย เสรีภาพในการตัดสินใจในปัจเจก อำนาจ ตำแหน่ง ได้รับการยกย่องสรรเสริญ จะกระตุ้นด้วย การยกยอ ปอ ปั้น ภาวะทางการเมืองจะสอดคล้องกับการวางกลยุทธ์ทางการเมืองคล้ายๆ ลักษณะอย่างนี้ โดยปราศจากแนวทางการกลั่นกรองทางจริยธรรมไว้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเมืองที่มีกระบวนการควบคุมและพัฒนาได้อย่างจริงจัง
สังคมไทยจะประกอบไปด้วยมนุษย์ในสังคม ถ้าจะแบ่งออกใหญ่ ก็ได้ สามกลุ่ม คือ ประชาชน ข้าราชการ และพ่อค้า โดยทั้งสามฝ่ายจะมีบทบาทสำคัญในสังคมดังนี้ ประชาชนมีบทบาทในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์การแปรรูป และการบริการ ส่วนพ่อค้ามีบทบาทในการสร้างมูลค่าจากคุณค่าของผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ส่วนข้าราชการมีบทบาทในการอำนวยความสะดวก จัดระบบความสัมพันธ์ บริหารจัดการจทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรรมาดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม รวมทั้งส่งเริมความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้สำนึกต่ออุดมการของชาติ และบริการให้เกิดความสมดุลในการดำรงชีวิตและส่งเสริมให้เกิดวิวัฒนาการที่ดีของสังคม ดังนั้นการบริหารความสมดุลในการอยู่ร่วมกันในสังคมของคนทั้งสามฝ่ายนี้ จึงเกิดระบบการเมืองการปกครองขึ้น นี่นจึงเป็นที่มาของการเมืองการปกครองซึ่งประเทศไทยเองก็เข้าใจว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ซึ่งระบบการเมืองการปกครองไทยเป็นระบบการใช้อำนาจผ่านรัฐสภา ที่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
การปกครองของไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองมาแล้ว 90 ปี แต่ ประเทศไทยก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง มีการใช้กฎหมายที่ถือว่ามีศักย์ ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ คือ “กฎอัยการศึก” มาฉีกรัฐธรรมนูญ หลายต่อหลายครั้ง อุดมการณ์ของชาติที่ระบุไว้เป็นเพียงแค่นามธรรม แต่พยายามที่จะปลูกฝังคนไทยแสดงออกเชิงนามธรรมเพียงเพื่อยอมรับอำนาจที่เหนือกว่า แบบไม่มีการไตร่ตรองไคร่ควร ไม่ว่าอำนาจนั้นจะชอบธรรมหรือไม่ วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย จึงมีวิวัฒนาการที่ช้า กว่าที่ควรจะเป็น เหมือนประหนึ่งว่า ประเทศไทยมีกระแสทางความคิดทางการเมืองการปกครองที่แฝงตัวอยู่ยังไม่หลอมรวมเป็นเอกภาพ ต่างฝ่าย ต่างก็ชิงโอกาสทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะเข้ามามีส่วนในการจัดสรรทรัพยากร โดยขาดสำนึกแห่งผลประโยชน์โดยรวม
แนวคิดทางการเมืองการปกครองที่พอจะมองเห็นเป็นรูปธรรมที่เด่นชัด ในประเทศไทยที่ยังคงมีกรอบนิวคิดที่แข็ง ไม่ยอมหลอมรวมเพื่อเป็นอุมดมการของชาติเพียงหนึ่งเดียว พอจะจำแนกได้ สามแนวคิด คือ แนวคิดการปกครองแบบสมบูรณญาสิทธิราย์(Absolute Monarchy) แนวคิดการปกครองแบบสังคมนิยม(Marxist , Neo Marxist) กลุ่มเสรีประชาธิปไตย (Democracy , Republic , Federation) ทั้งสามแนวคิดนี้ ก็มีความมุ่งหวังที่จะชงอำนาจการปกครองให้อยู่ในมือของตน ด้วยกลยุทธ์ทางการเมือง ที่แตกต่างกันไป แต่โดยประเพณีหลักทางการเมืองการปกครองไทย ยังคงยึดถือแนวทางของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลายคนก็มักจะกระแนะกระแหนว่าเป็นเพียงพิธีกรรม ที่ให้อำนาจ ฝ่ายอนุรักษ์นิยม เอาเสื้อคลุมประชาธิปไตยแทรกตัวขึ้นมาครองอำนาจการปกครอง หรือบางครั้งก็ใช้กองทัพเพื่อทำรัฐประหารเพื่อให้อำนาจอยู่ในมือของฝ่ายอนุรักษ์นิยม
สภาพของความไม่เป็นธรรมทางการเมือง จึงนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่เป็นประชาชน ที่ฝ่ายข้าราชการที่เป็นกลไกหลักของแนวคิดการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รวมกับกลุ่มพ่อค้าที่มีแนวคิดที่มีแนวคิดการปกครองแบบสังคมนิยม กับฝ่ายประชาชน และกลุ่มพ่อค้าฝ่ายแนวคิดเสรีนิยม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม จึงเห็นภาพชัดเจนขึ้นเมื่อสมัยการเลือกตั้งหลังๆ มานี้ โดยเฉพาะครั้งหลังสุด ที่พรรคการเมืองที่มีเสียงในสภามากที่สุด แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เป็นต้น นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความไม่เป็นเอกภาพของอุดมการของชาติ
แนวทางของการแก้ปัญหาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย จึงจำเป็นต้องอาศัยกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนหากกลุ่มแนวคิดทางการเมืองทั้งสามกลุ่มนี้ มาร่วมกันสร้างอุดมการณ์ชาติร่วมกัน แล้วนำอุดมการณ์การของชาติที่สร้างขึ้น มารับฟังความคิดเห็นสาธารณะ จนเป็นที่ตกผลึกทางความคิดร่วมกัน แล้วนำอุดมการของชาติมาร่วมกันร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สนองการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง สร้างความพึงพอใจ และยอมรับได้ในกติกาที่ใช้ในการตัดสิน ที่สังคมมองว่าเป็นดรรชนีแห่งความเป็นธรรม ประเทศไทยจะมีการเมืองการปกครองที่มีความเสถียรภาพ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในความเจริญ รุ่งเรื่อง มีความมั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ หวังว่า ผู้นำทางการเมืองจะเล็งเห็นแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และหาทางออกด้วยการสร้างอุดมการของชาติและกติกาที่ทุกคนยอมรับได้