In Thailand
วิตก!ต้นลานแทงช่อดอกออกมากผิดปกติ อุทยานฯทับลานชี้สัญญาณแล้ง'เอลนีโญ'
ปราจีนบุรี-เมื่อเวลา 17.00 น.วันนี้ 23 ก.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า ได้รับการเปิดเผยจาก นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลานมรดกโลก ( ในพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด จ.ปราจีนบุรี และ จ.นครราชสีมา) กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานฯแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีต้นลาน หรือป่าลานในธรรมชาติมากกว่า ล้าน ๆ ต้น
ในช่วงปีที่ผ่านมา เราพบกับภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรง จะสังเกตดูว่าเราเปิดแอร์แรงแค่ไหนยังเอาไม่อยู่ หลายบ้านแอร์พังไปเยอะ คือโลกเราพบภาวะปรากฏการณ์เอลนีโญ เป็นสิ่งที่แจ้งเตือนว่ากำลังจะพบภัยพิบัติวันข้างหน้า ผลกระทบดังกล่าว พบที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่ผ่านมาพบว่า ต้นลานในธรรมชาติ มีการแทงช่อดอกออกมามากผิดปกติ มากกว่าทุกๆ ปี ผลจากภาวะภัยแล้ง โดยแค่จุดที่อ่างเก็บน้ำอ่างทับลานเพียงจุดเดียว วิเคราะห์ขั้นต้น ในเนื้อที่มากกว่า 30,000 ไร่ พบมีต้นลานแทงช่อดอก โดย แทงช่อดอกมากกว่า 1 0,000 ต้น จากผลภัยแล้งปีที่ผ่านมา
เราวิตกกังวล เมื่อต้นลานแทงช่อดอก เนื่องจากต้นลานเป็นต้นไม้โบราณเมื่อออกดอกออกผลแล้ว ต้นแม่จะตายทันที ซึ่งเกิดจากผลในภัยแล้งที่ผ่านมา โดยวงจรชีวิตของลาน มีอายุตั้งแต่ 20-80 ปี หมายถึงตั้งแต่เมล็ดงอกจนกระทั่งออกดอกและติดผล หลังติดผล ต้นลานก็จะตาย ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันว่า “ลานลูกฆ่าแม่”
ที่อุทยานแห่งชาติทับลาน มีประชากรของต้นลานขึ้นอยู่จำนวนมาก โดยธรรมชาติ เมื่อลานออกดอก ติดผล เมื่อผลแก่ก็จะร่วงลงดิน กระจายไปรอบๆต้น ยามใดที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม
สิ่งที่ประยุกต์ทางวิชาการคือเราต้องเร่งเพิ่มปริมาณของต้นลานมากเป็นพิเศษ โดยอุทยานแห่งชาติทับลานเราสนับสนุนการให้ชุมชนเพาะกล้าลานช่วยกันนำไปแพร่พันธุ์ ต้นไม้โบราณที่ต้องเก็บให้เป็นเอกลักษณ์ไว้ให้มีมากขึ้น ที่จะต้องตายขึ้นมาแทน ขณะนี้อยู่ระหว่างใช้อากาศยานไร่คนขับของกรมอุทยานฯ บินสำรวจเร็ว ๆ นี้
จะให้ช่วยกันเพาะพันธ์กล้าลานนำไปแพร่พันธุ์ต้นลานในอุทยานฯให้มากยิ่งขึ้น อยากฝากเตือน สภาวะโลกร้อนรุนแรงมาก ปีหน้าจะรุนแรงร้อนหนักมากเพิ่มอีก ทุกคนต้องร่วมใจฝ่าฟันด้วยกันไปให้ได้ ในการเพิ่มโลกสีเขียวต้นลานบนอุทยานแห่งชาติทับลาน”นายประวัติศาสตร์กล่าว
และกล่าวต่อไปว่า ลาน มีชื่อภาษาอังกฤษ Fan Plam,Lonter plam, Talipot palm อยู่ในวงศ์ปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาและในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ต้นลาน มักจะขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นและมีฝนตกมาก มีความทนทานต่อภัยธรรมชาติได้ดี เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ ออกดอกที่ยอด เมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ก็จะออกดอกและเมื่อไหร่ที่ออกดอกต้นก็จะตาย
"ทำไมเราต้องอนุรักษ์ต้นลาน" เมื่อต้นลานออกดอกการกระจายของลูกลานก็จะอยู่กันเป็นกระจุกเพียงบริเวณใต้ต้นแม่ การขยายวงกว้างในเมล็ดลานได้กระจายโดยธรรมชาติไปสู่ผืนป่าจึงมีปริมาณน้อย ต้นลานจึงมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ รวมถึงปัจจัยทางด้านการขยายพื้นที่เพื่อทำการเกษตรจึงทำการขยายและการเจริญเติบโตของต้นลานจึงลดน้อยลงเป็นเหตุให้ต้นลานมีจำนวนลดลง
นานาประโยชน์จากต้นลานต้นลานหรือป่าลาน นับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการสร้างรายได้ของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งประโยชน์ของต้นลาน ใบลาน ก้านลาน ในอดีตใบลานนำมาทำเป็นคัมภีร์พระไตรปิฎก แลปัจจุบันนำมาทำเป็นเครื่องจักสาน ได้แก่ หมวก กระเป๋า และเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมายอีกทั้ง ยังเป็นทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวและกาiขยายพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และที่สำคัญเป็นพื้นที่สำหรับศึกษาระบบนิเวศวิทยาเป็นอย่างดี"อย่าปล่อยให้ต้นลานหายไปจากประเทศไทย ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้เฉยชม "
ลักษณะทั่วไป ลานเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง 60-90 เซนติเมตร ลานเป็นพืชที่มีช่อดอกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีจำนวนดอกถึง 15 ล้านดอก แต่ละต้นจะออกดอกเพียงครั้งเดียว เมื่ออายุ 20-30 ปี ลำต้นเดี่ยวสูงถึง 25 เมตร เป็นไม้ต้นเดี่ยวไม่แตกหน่อหรือกอ คล้ายตาลแต่ลำต้นสั้น ไม่สูงชะลูดเหมือนตาล ใบรูปพัด แกนโค้ง แผ่กว้าง 2 เมตร มีร่องและแยกลึกเป็นแฉกถึง 110 แฉก ใบสีเขียวอมเทา ก้านใบสีออกเขียว อ้วนสั้น มีหนามแน่นสีดำ ยาวถึง 1 ซม. ดอกสีขาวครีมเป็นช่อตั้งใหญ่สูง 6 เมตร ดอกดกออกที่ยอด ผลกลมสีเขียวมะกอกอมเทา ระยะออกดอกจนผลสุกใช้เวลา 1 ปี หลังจากนั้นต้นจะตาย ขึ้นตามที่ราบในหุบเขา
ประโยชน์ : สมัยโบราณใช้ในการบันทึกข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ นำมาใช้มุงหลังคา นำมาจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ อีกทั้งใบลานนำมาเผาไฟใช้ปรุงยาดับพิษต่าง ๆ แก้อักเสบ ฟกบวม ต้น แก้พิษต่าง ๆ รากฝนน้ำดื่มแก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด
ในประเทศไทยยังมีต้นลานชนิดอื่นๆ อีก อาทิ เช่น Corypha Lecomtei มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เวียตนาม มีผู้นำมาตกแต่งเป็นไม้ประดับ และที่พบอีกชนิดหนึ่งคือ ลานอินเดีย ( Corypha taliera ) มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นลานที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับลานวัด แต่โคนกาบใบเด่นชัดกว่า มีแผ่นใบใหญ่กว่า คือ ใหญ่ถึง 3.5 เมตร และมีสีเขียวอมเทา เป็นชนิดที่หายากมากและสูญพันธุ์ในสภาพธรรมชาติแล้ว แต่ยังมีเหลืออยู่เฉพาะต้นที่ปลูกไว้ในสวนพฤกษศาสตร์เพียงไม่กี่ต้น มีผลขนาด 3 เซนติเมตร
มานิตย์ สนับบุญ /ปราจีนบุรี