Biz news

ริปเปิลตั้งบรู้คส์ เอ็นท์วิสเซิลเป้นเอ็มดี. ภูมิภาคอาเซียน



กรุงเทพฯ-ริปเปิล แต่งตั้ง บรู้คส์ เอ็นท์วิสเซิล ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการดูแลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

วันที่ 22 มีนาคม 2564 - กรุงเทพมหานคร: ริปเปิล (Ripple)ผู้ให้บริการโซลูชั่นบล็อกเชนระดับองค์กรสำหรับการชำระเงินทั่วโลกได้ประกาศแต่งตั้ง มร. บรู้คส์ เอ็นท์วิสเซิลขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นผู้นำทัพและขยายการดำเนินธุรกิจของบริษัทในภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดริปเปิลแสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับลูกค้าปัจจุบัน อาทิธนาคารไทยพาณิชย์ iRemit และแถลงว่าทาง บีเคเค ฟอเร็กซ์ (BKK Forex)ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินธุรกรรมการโอนเงินสัญชาติสิงคโปร์ได้เข้าร่วมกับ RippleNetเครือข่ายทางการเงินระดับโลกของริปเปิล เพื่อดำเนินธุรกรรมสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)ในการโอนเงินจากสิงคโปร์ไปยังประเทศไทยผู้เชี่ยวชาญในวงการด้านการเงินและเทคโนโลยีร่วมงานกับริปเปิลในจังหวะที่การเติบโตของฟินเทคในภูมิภาคนี้กำลังรุ่ง

บรู้คส์ เอ็นท์วิสเซิล จะประจำอยู่ที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ริปเปิลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขานำประสบการณ์การบริหารระดับสูงที่สั่งสมมากว่าสามทศวรรษทั้งในด้านบริการทางการเงินและแวดวงเทคโนโลยี โดยมีพันธกิจในการผลักดันการนำสินทรัพย์ดิจิทัลและบล็อกเชนมาใช้ในภูมิภาคการแต่งตั้งครั้งนี้ประจวบเหมาะและเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่บริษัทกำลังดำเนินธุรกิจเชิงรุกและขยายเครือข่ายRippleNet ไปทั่วภูมิภาคซึ่งตอนนี้ครอบคลุมกว่า 14 ประเทศก่อนร่วมงานกับริปเปิล บรู้คส์ดำรงตำแหน่งสุดท้ายในฐานะประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจ (ระหว่างประเทศ) ของอูเบอร์ (Uber) ซึ่งเขาเป็นผู้นำกลยุทธ์การเติบโตในระดับภูมิภาคโดยการเปิดตัวอูเบอร์ในตลาดใหม่และดำเนินการผ่านความท้าทายด้านกฎระเบียบทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก่อนที่จะร่วมงานกับอูเบอร์นั้นเขาทำงานที่โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs)มานานกว่าสองทศวรรษและยังเป็นหุ้นส่วนและประธานธุรกิจการธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แอชชีช เบอร์ลา (Asheesh Birla) ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย RippleNet ที่ ริปเปิล กล่าวว่า“ระบบนิเวศการชำระเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างมากโดยมีรูปแบบเฉพาะในแต่ละประเทศที่ค่อนข้างซับซ้อนซึ่งต้องใช้องค์ความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกเป็นอย่างมาก
การนำ RippleNet มาประยุกต์ใช้ท่ามกลางบริษัทฟินเทคที่มีอยู่อย่างมากมายในภูมิภาคนี้รวมทั้งผู้ให้บริการการชำระเงิน และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดทั้งในเง่ความต้องการของลูกค้าและการเติบโตของธุรกรรม เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้ต้อนรับ บรู้คส์มานำธุรกิจของริปเปิลให้เติบโตขึ้นเป็นทวีคูณและขยายการเติบโตออกไปอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคที่น่าอัศจรรย์แห่งนี้”

บรู้คส์ เอ็นท์วิสเซิล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ ริปเปิล กล่าวว่า“ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับริปเปิลเพื่อขยายธุรกิจของบริษัทในภูมิภาคที่สำคัญนี้ด้วยประสบการณ์ของผมในการช่วยสร้างและขยายบริษัททั้งในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและเทคโนโลยีในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาการเข้าร่วมงานกับผู้นำในวงการอย่างริปเปิลถือว่าตรงทางและตรงใจเพราะเป็นธุรกิจที่มีการบรรจบกันระหว่างเทคโนโลยีและการเงิน และรวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายในภูมิภาคนี้ซึ่งมีการเติบโตของนวัตกรรมการชำระเงินสูงสุดและต่อเนื่องผมตั้งตารอที่จะได้เป็นผู้นำทีมงานที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถและพรสวรรค์ในขณะที่เราขับเคลื่อนอนาคตของโลกการเงินผ่านการนำRippleNetมาประยุกต์ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่อื่นๆ”

ธุรกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น 10 เท่าในปี 2563 โดยได้รับแรงหนุนจากลูกค้าปัจจุบันของRippleNet และเครือข่ายธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้าร่วมจากผลของการแพร่ระบาดไวรัสที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นทำให้อุปสรรคในการนำการชำระเงินดิจิทัลมาใช้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงและได้กลายเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดบน RippleNet ในปี 2563 จำนวนลูกค้าที่ได้ลงนามเซ็นต์สัญญาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นกว่า 2เท่าเมื่อเทียบเป็นรายปีและภูมิภาคนี้มีธุรกรรม RippleNet เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าเมื่อเทียบเป็นรายปีอีกด้วยการเติบโตที่หาคู่แข่งเทียบได้ยากของภูมิภาคนี้ได้รับแรงหนุนที่แข็งแกร่งจากกลุ่มลูกค้าปัจจุบันของ RippleNetรวมถึงธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในประเทศไทย

ในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในแง่ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดธนาคารไทยพาณิชย์ทำธุรกรรมบน RippleNet ได้สำเร็จกว่าครึ่งล้านรายการในปี 2563 ซึ่งเป็นการเติบโตถึง300% สำหรับปริมาณการโอนเงินเข้าประเทศและการโอนเงินออกไปต่างประเทศที่เติบโตขึ้น 600%เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยแอปพลิเคชั่น SCB Easy ของธนาคารซึ่งทำงานบน RippleNetช่วยให้ลูกค้าสามารถโอนเงินได้แบบเรียลไทม์และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกเพื่อส่งไปยังครอบครัวและเพื่อนๆที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศผ่านโทรศัพท์มือถือธนาคารไทยพาณิชย์ใช้เครือข่าย RippleNetเพื่อเชื่อมต่อกับสถาบันการเงินทั่วโลกซึ่งเป็นการเปิดช่องทางเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้บริการลูกค้าได้มากขึ้นอย่างรวดเร็วและง่ายดาย ในปี 2563 ธนาคารได้สร้างการเชื่อมต่อใหม่เพิ่มอีก 7 ช่องทางบน RippleNet ซึ่งหนึ่งในนั้นคือบีเคเค ฟอเร็กซ์ (BKK Forex)

ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการโอนเงินและแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการในสิงคโปร์บีเคเค ฟอเร็กซ์ เชื่อมต่อกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และผู้ให้บริการโซลูชั่นทางการเงินเช่น DeeMoney ผ่านRippleNet Cloud เพื่อดำเนินธุรกรรมให้แก่กลุ่มลูกค้า SME และการโอนชำระเงินจากสิงคโปร์มายังประเทศไทยและทำให้คนไทยมากกว่า 45,000คนที่พำนักอาศัยอยู่ในสิงคโปร์ได้ใช้ประโยชน์จากการโอนเงินกลับบ้านเป็นประจำ การใช้ RippleNet Cloudทำให้ บีเคเค ฟอเร็กซ์

สามารถโอนเงินและรับการชำระเงินระหว่างสถาบันการเงินด้วยการบูรณาการอย่างเรียบง่ายสำหรับประมวลผลการชำระเงินข้ามพรมแดนได้ทันที เชื่อถือได้ และประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งทั้งหมดทำผ่านบนระบบคลาวด์ลูกค้ารายล่าสุดต่อจาก บีเคเค ฟอเร็กซ์ และสถาบันการเงินอื่นๆ อีกหลายสิบแห่งที่ใช้งาน RippleNet Cloudอยู่แล้วคือ iRemit ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโอนเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) รายใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ในฐานะผู้ใช้โซลูชั่น On-Demand Liquidity (ODL) ของ RippleNet เป็นรายแรกๆ iRemitใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล XRPซึ่งเป็นสกุลเงินกลางที่นำมาใช้เพื่อเพื่อขจัดปัญหาในการจัดหา/วางเงินล่วงหน้าในการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยเหตุนี้การส่งเงินโดยการโอนไปยังประเทศปลายทางที่มีอัตราการรับเงินโอนอันดับต้นๆของโลกอย่างฟิลิปปินส์จึงทำได้อย่างรวดเร็วและถูกกว่าระบบการชำระเงินแบบดั้งเดิม