Think In Truth
ทางสองแพร่งในการเลือกเดิน 'เพื่อไทย' โดย : โดยหมาเห่าการเมือง
การเดินเกมในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย โดยมีตัวแทนของพรรคเข้าหารือกับพรรคเสียงข้างน้อย ในการขอการสนับสนุนการลงมติให้กับแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ซึ่งต้องมีการเจรจากับตัวแทนของแต่ละพรรค เพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งรัฐบาล การเจราจาทางการเมือง มีความจำเป็นต้องมีการพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งรัฐบาล แต่กระแสทางสังคมที่มีต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเพื่อไทยเอง กลายเป็นประเด็นถูกวิภากษ์วิจารณ์ต่างๆ ที่เป็นเสียงสะท้อนที่สั่นสะเทือนวงการเมืองไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พรรคเพื่อไทยต้องลำบากใจในการดำเนินการ
หลังจากที่ตัวแทนพรรคเพื่อไทยเข้าพบแกนนำพรรคภูมิในไทย ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเพื่อไทยกำลังขั้วการเมืองใหม่ เพื่อให้ผ่านด่าน สว. โดยสังคมมองว่ามองว่าเพื่อไทยกำลังจะดึงพรรคภูมิใจไทยมาร่วมรัฐบาล เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพรรคที่ 9 กระแสวิภากษ์วิจารณ์ ก็มีมาระดับหนึ่ง ที่กังวลในเรื่องพรรคก้าวหน้ากับพรรคภูมิใจไทยจะทำงานร่วมกันได้ไหม??.. เพราะก่อนหน้านั้นพรรคก้าวไกลก็วิจารณ์นโยบายของพรรคภูมิใจไทยเกี่ยวกับ “กัญชา” อย่างหนัก อีกทั้งนายชาดา ไทยเศรษฐ ก็อภิปรายถึงนโยบายพรรคก้าวไกลในสภาแบบไม่เผาผีกันเลย และเป็นประเด็นที่ทำให้พรรคภูมิใจไทยไม่สนับสนุนนายกที่มาจากพรรคก้าวไกล และผลการเจรจา ทางพรรคภูมิใจไทยก็ยินดีที่จะร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย แต่จะไม่ร่วมกับพรรคที่มีนโยบายแก้รัฐธรรมนูญ ม.112
ความชัดเจนในการปฏิเสธร่วมกับพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาลในฝั่งพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม เมื่อแกนนำเพื่อไทยเข้าเจรจากับพรรคพลังประชารัฐและชาติไทยพัฒนา ซึ่งเงื่อนไขของคำตอบก็ออกมาอย่างเดียวกันกับผลการเจรจากับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งประหนึ่งว่า พรรคการเมืองฝ่ายเสียงข้างน้อย เล่นเกมการเมืองสอดรับกันยังกับเล่นตามโน้ตดนตรีในวงซิมโฟนี เพลงเดียวกัน
ท่ามกลางเสียงวิภากษ์วิจารณ์ จกานักวิชาการ ที่พรรคก้าวไกลไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบังคับใช้กฏหมายรัฐธรรมนูญ และการพิจารณาตัดสินขององค์กรอิสระ ทำให้เกิดกระแสการรวมตัวของกลุ่มชนออกมาแสดงพลังต่อต้าน สว. และองค์กรอิสระ ที่ดำเนินการทางการเมืองและดำเนินทางกฏหมายว่าด้วยกิจการทางการเมืองที่ถูกมองว่าลำเอียงเข้าข้างฝ่ายอนุรักษ์นิยม ในขณะเดียวกัน กระแสในต่างประเทศก็โดยเฉพาะฑูตอเมริกาได้ตอบคำถามของ ศปปส. ว่ายังให้ความเคารพต่อสถาบันของไทย และรอร่วมงานกับรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย กลายเป็นสองกระแสที่เข้ามากดดันต่อประเทศไทย เป็นความลำบากใจแก่พรรคร่วมรัฐบาลอย่างยิ่ง
แกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลก็รู้สึกอึดอัดใจที่มีต่อพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคก้าวไกล ที่มีจุดยืนทางการเมืองที่แข็งแกร่ง มุ่งเน้นทำการเมืองเพื่อประชาชนเป็นหลัก ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองประเทศไทยให้เป็นการเมืองที่นำไปสู่แนวทางการพัฒนาที่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งเป้าหมายทางการของของพรรคก้าวไกลจึงเป็นเป้าหมายที่มีเพดานเชิงนโยบายสูงกว่าพรรคอื่นๆ แต่เป็นเพดานทางการเมืองที่เป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ การที่พรรคก้าวไกล ลดเพดานลงในเรื่องของประธานสภาผู้แทนราษฎร นั่นก็เป็นการถอยมาครั้งหนึ่ง การที่ยอมให้พรรคอันดับสองคือพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และพรรคก้าวไกลก็ยินดีในการสนับสนุน นั่นก็เป็นการถอยครั้งที่สอง แต่ก็ก็ยังมีเสียงเรียกร้องจากพรรคการเมืองเสียงข้างน้อย รวมทั้งพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาล ยังจะเรียกร้องให้พรรคก้าวไกลเสียสละ นั่นถือเป็นการผลักดันให้ถอยจนสุดขั้ว ในความไม่ชัดเจนที่มีต่อการดำเนินการทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยเอง แม้แต่ผู้สื่อข่าวรุ่นใหญ่ที่มีการสื่อข่าวอย่างตรงไปตรงมากับการต่อต้านเผด็จการอย่างนายอทึกกิจ แสวงสุข หรือใบตองแห้ง ก็ต้องลาออกจากการเป็นผู้นำเสนอข่าว วิจารณ์การเมืองของว้อยซ์ทีวี จนกว่าสถานการณ์จะปกติ
พรรคก้าวไกลจึงได้เสนอแนวทางของพรรคก้าวไกลผ่านสื่อมวลชนว่า พรคก้าวไกลคงไม่ยอมถอยอีกต่อไป “ถ้าจะสู้กับคนหน้าด้าน เราต้องหน้าด้านกว่า” ถ้าจะไล่ให้ไป “กูก็ไม่ไป ถ้ากูไปประชาชนจะกินอะไร” วาทะกรรมที่ถูกส่งออกไปจากพรรคก้าวไกล ส่งผลต่อมวลชนนอกสภาที่ออกมาเคลื่อนไหวในหลายรูปแบบ ไม่ว่าเข้าไปสาดแป้งใส่กรรมการพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มีลุงตู่เป็นแคนดิเดทนายรัฐมนตรี หรือปล่อยคลิปสื่อถึงความไม่พอใจผ่านโซเชียลมิเดียร์ในหลายแพล็ตฟอร์ม มีมวลชนลงถนนแสดงสัญลักษณะองค์กรอิสระท่ามกลางสายฝน
ความยุ่งเหยิงทางการเมือง โดยเฉพาะการสื่อสารทางการเมืองที่ส่งผลให้ประชาชนมีมโนทัศน์ทางการเมืองไทย ที่แตกต่างไปจากการปฏิบัติจริง เป็นกระแสสองแนวคิดที่ปะทะกันหนัก ซึ่งความรู้สึกขัดแย้งที่มีต่อภาวะทางการเมืองของไทย อันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติ ที่ประหนึ่งว่า ประชาถูกหลอก ถูกหักหลัง ได้ก่ออารมณ์ร่วมทางการเมืองมากขึ้น ผลกระทบที่มีต่อความเชื่อถือของสถาบันการเมืองที่มีนักการเมืองอาศัยอำนาจประชาชน มาฝังรากผลประโยชน์ในสภาจากถึงขั้นสร้างกติกาที่บิดเบี้ยว บริหารการเมืองและบ้านเมืองด้วยวาทกรรมที่ปิดทางผู้อื่น แต่เปิดช่องให้กับฝ่านตนและพรรคพวก เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนได้แสดงตนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภามากขึ้น และขยายวงกว้างออกไป ที่ยากต่อการควบคุมไม่ให้ขยายวงออกไป
ความไม่ไว้วางใจและระแวงที่มีต่อพรรคเพื่อไทย ในการแสดงบทบาทแกนนำเพื่อการจัดตั้งรัฐบาล จากปรากฏการณ์ของการทำงานเพ่อเจรจาขอการสนับสนุนในการลงมติรับรองนายกรัฐมนตรีจากทุกพรรค โดยเฉพาะพรรคเสียงข้างน้อย ทำให้ฉากทัศน์ในการดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ต่อสาธารณะ ทำให้ถูกมองว่า พรรคเพื่อไทยกำลังผสมพันธุ์กับพรรคเผด็จการฝ่ายอนุรักษ์นิยม กระแสแห่งความไม่ไว้ใจนี้ ก่อให้เกิดสาวกของพรรคก้าวไกลออกมาประนามไปต่างๆ นานา รวมทั้งแสดงความเคียดแค้นออกมา นายจาตุรนต์ ฉายแสงได้ออกมาแสดงทัศนะต่อพรรคและการจัดตั้งรัฐบาลว่า “ถ้าตั้งรัฐบาลที่ทำให้บ้านเมืองวิกฤติ ก็ไม่ควรจัดตั้งรัฐบาล” การสะท้อนออกมาลักษณะนี้ หมายถึงกระแสสังคมมีการแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อภาวะทางการเมือง ที่ยึดโยงหยั่งลึกถึงประชาชนระดับปัจเจก และกระจายตัวไปมาก แกนนำพรรคเพื่อไทยจึงได้ออกมาชี้แจงถึงจุดประสงค์ในการไปเจราจากับพรรคต่างๆ เพื่อประสานความร่วมมือในการสนับสนุนลงมติรับรองนากยกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้ง
ต่อเงื่อนไขของการชี้แจงข้อมูลต่อสาธารณะอย่างนี้ ผลกระทบก็จะตกไปที่พรรคภูมิใจไทย ที่สังคมโดยส่วนใหญ่มองว่า ถ้าพรรคภูมิใจไทยเข้าร่วมรัฐบาล แค่พรรคเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเสียงจาก สว. ในการรับรองนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วพรรคเพื่อไทยเองก็ได้ยื่นไมตรีไปให้แล้ว ทางพรรคภูมิใจไทยก็ยังคงยืนยันเล่นแง่ ด้วยการไม่ร่วมรัฐบาล ถ้ายังมีพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้รัฐธรรมนูญ ม.112 อยู่ ซึ่งประเด็น ม.112 ประชาชนโดยส่วนใหญ่ได้รับรู้แล้วว่า เป็นเพียงข้ออ้างในการสะกัดพรรคก้าวไกล เพื่อรักษากลุ่มการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมให้ได้ขึ้นมามีอำนาจปกครอง และรักษาผลประโยชน์จากนโยบายที่ดำเนินกันมาอย่างต่อเนื่อง เท่านั้น
เกมการเมืองของพรรคเพื่อไทยถึงแม้นจะแบ่งเบาเผือกร้อนให้ตกไปอยู่ในมือของพรรคภูมิใจไทยบ้าง แต่พรรคเพื่อไทยเองก็ยังมีก้างที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการซ็อปปิ้งพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาล คือพรรคก้าวไกลเพราะพรรคก้าวไกลมีบุคคลิกทีเป็นอัตตลักษณ์ของพรรค คือ ไม่ยอมประนีประนอมกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ยอมลดราวาศอกกับสิ่งที่ขัดต่อแนวทางของพรรค ประเด็นที่พรรคก้าวไกลจะไม่ยอมถอยต่อไปอีก กลายเป็นตัวแปรของสมการทางการเมือง ที่ยังหาค่าในการถอดสมการของรัฐบาลได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลกระอักกระอ่วน จะทิ้งพรรคก้าวไกล ก็เกรงจะต้องเสียมวลชน และจะเสียฐานเสียงในอนาคต ถ้าก้าวไกลไม่ยอมเสียสละ พรรคที่ไปซ็อปปิ้งมาก็ไม่ยอมที่จะเข้าร่วม เชื่อว่าประชาชนผู้ติดตามการเมืองอย่างต่อเนื่องก็คงมีอารมณ์ร่วมและอึดอัดแทนพรรคเพื่อไทยไม่น้อย
แต่ก็นั่นแหละ ท่าทีในการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าเป็นการสื่อสารทางวาจา หรือสื่อสารทางการ หรือสื่อสารผ่านตัวกลางอื่นๆ มันไม่ใช่บทสรุปที่แน่นอน เพราะการเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร สถานการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อให้เวลามันลงตัว ดังนั้น จึงไม่แปลกที่มติผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมาถูกจังหวะ ถูกที่ ถูกเวลา ที่พิจารณาให้เลื่อนการลงมติในการรับรองนายกรัฐมนตรีในวันที่ 27 กรกฎาคม นี้ ออกไป จนกว่าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความถึงการยื่นญัตติเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีซ้ำ จะทำได้หรือไม่ จนกว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จ ในช่วงเวลาที่ยืดออกไปนี้ ก็ต่อรองทางการเมืองกันไปก่อนสิ บรรยากาศทางการเมืองเป็นอย่างไร องค์กรอิสระก็เล็งจะดำเนินการอย่างไรต่อ นั่นคือสิ่งที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมและติดตาม ว่าประเทศจะเป็นประเทศที่มีนายกรัฐมนตรีรักษาการไปอีกนานสักเท่าไหร่ นายกฯรักษาการหมดภาวระแล้วประเทศไทยจะมีนายกฯ คนใหม่เป็นใคร รัฐบาลจะมีหน้าตาอย่างไร เราคงได้เห็นกันตอนนั้นหละนะครับ