Think In Truth

'อำนาจเก่า'... ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่าน โดย : หมาเห่าการเมือง



ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา เป็นช่วงของกลุ่มคนในยุคเบบี้บูมที่อิทธิพลต่อสภาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทยมาก ภาวะแห่งการแข่งขันและแย่งชิงมีความเข้มข้นสูงมาก ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างทุกด้านอย่างรวดเร็ว ยกเว้นการเมืองการปกครอง ซึ่งเกิดจากภาวะของการเข้าถึงศูนย์กลางของอำนาจที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ประเทศไทยไม่ได้วางแผนรองรับอย่างครอบคลุมและรอบด้าน คือ ปัญหาสังคมสูงวัน  ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาสภาพแวดล้อม และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สภาพปัญหาสังคมสูงวัย ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าภายในปี 2573 ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะคิดเป็น 25% ของประชากรทั้งหมด การเติบโตของประชากรสูงวัยจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ความต้องการแรงงานที่ลดลง และปัญหาการว่างงานของผู้สูงอายุ

สภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูง โดยกลุ่มคนรวยมีรายได้มากกว่ากลุ่มคนจนมาก ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นหากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะส่งผลต่อความมั่นคงทางการเมืองและสังคมของประเทศ

สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ปัญหามลพิษทางน้ำ และปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ

สภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง และพายุ ภัยธรรมชาติเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

จากสภาพปปัญหาดังหลักดังกล่าวส่งผลต่อการชะลอตัวทางด้านเศรษฐกิจ หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ปัญหาคอร์รัปชั่นสูงขึ้นมาก ปัญด้านอาชญากรรมและยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นจนน่าใจหาย ในขณะเดียวกับฃนอัตราการเลิกจ้างกลับเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมย้ายฐานการผลิต ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการจ้างให้ออกจากงาน แต่ภาวะการขาดแคลนแรงงานกลับมากขึ้น ค่าครองชีพมีอัตราเพิ่มขึ้น ปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย และอนาคตอีกสิบปี ปัญหาของบ้านร้างไม่มีคนอยู่จะเพิ่มขึ้น ความต้องการทางด้านการดูแลสุขภาพมากขึ้นแต่กำลังซื้อลดลง ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคตกำลังเพิ่มขึ้นมากตามลำดับ แต่การพัฒนาการเมืองของประเทศไทย ยังไม่สนองต่อการรองรับกับการแก้ปัญหาในอนาคต หากจะมองลึกเข้าไปในการเมืองการปกครองของประเทศไทยแล้ว มันน่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไทย เราะการเมืองไทยอยู่ในสภาวะของการผู้ขาดการใช้อำนาจอยู่เพียงแค่ชนชั้นปกครองมาโดยตลอด แต่ประชาชนมีหน้าที่ในการจ่ายภาษีเพื่อรวมเป็นทรัพยากรในการดำเนินการทางการเมือง และมีหน้าที่ไปเลือกตั้งเท่านั้น การแย่งชิงทรัพยากรทางการเมืองจึงอยู่ในกลุ่มของชนชั้นปกครองมาโดยตลอด โดยที่ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์ย้อนกลับมาจากการจ่ายภาษีไม่เกิน 20% พอมาถึงปัจจุบัน มีนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่เอาความต้องการของประชาชนเข้าไปต่อสู้ทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น

สถานการณ์ทางการเมือง ดูเหมือนจะวุ่นวาย แต่มันก็ไม่ได้เพิ่งเกิดความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อเร็วๆ นี้ ความขัดแย้งเชิงระบอบการเมือง มันมีมานานมากแล้ว ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2475 หรือถ้าจะสืบย้อนอดีตถึงการเมืองการปกครองไทยก็มีความวุ่นวายมาโดยตลอด โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านรัชกาล นั่นหมายถึงการปกครองในระบอบราชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่มีความเด็ดขาดในการตัดสินใจว่าจะทำอะไร แต่ไม่มั่นคงเมื่อผู้ปกครองต้องเปลี่ยนอำนาจ เมื่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเข้ามาเคียงคู่กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ประเทศไทยจะเลียนแบบการปกครองแบบอังกฤษหรือระบบสภา เวสต์ มินเตอร์ (Westminster Parliament) ซึ่งประกอบด้วยสภาล่างหรือสภาสามัญชน (House of Common) และสภาขุนนางหรือสภาสูง(House of Lords) ซึ่งรวมกันเรียกว่าสมาชิกรัฐสภา(Member of Parliament; MP) โครงสร้างนี้ก็มีในประเทศไทย และมีการดำเนินการปกครองในโครงสร้างนี้มาแล้วกว่า 90 ปี ซึ่งก็ล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด มีการทำรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้ง ความขัดแย้งหรือความไม่ลงตัวในการเมืองการปกครองของประเทศไทย อาจจะถึงจุดที่ทุกฝ่ายตกผลึกทางความคิด ว่าสถานการณ์การทางการเมืองที่ติดกับดักทางการเมืองในลักษณะอย่างนี้ มันทำให้ประเทศไทยไม่มีทางออก ฝ่ายที่มีความคิดต่างก็ตั้งกลุ่มก๊วนเพื่อต่อสู้ทางการเมืองซึ่งจุดประสงค์ที่อยู่เบื้อหลังนั้นก็ขึ้นอยู่ในแต่ละกลุ่มก๊วน ต่างฝ่ายต่างใช้วิธีชิงไหวชิงพริบ รวมทั้งใช้กำลังบีบบังคับ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองตามวิธีการของฝ่ายตน บางครั้งถึงขั้นเอาชีวิตซึ่งกันและกันหรือเนรเทศออกไปอยู่นอกประเทศ กฏหมายที่ออกมาบังคับใช้ก็ก่อประโยชน์ให้กับฝ่ายที่ออกกฏหมายประหนึ่งว่าฝ่ายตรงข้ามไม่ได้อยู่ในแผ่นดินเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ มันเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งอาจจะถึงที่สุดของยุคลสมัยของการแย่งชิงเพื่อสร้างความเหลื่อมล้ำให้ตนเองอยู่เหนือใครๆ

ปรากฏการณ์ทางการเมืองเริ่มแสดงให้เห็นในหลายอย่าง เช่น ฝ่ายที่เอาเปรียบ กดขี่ หลอกลวง หรือบางครั้งคนในสังคมก็เรียกว่าโกง ก็เริ่มที่จะหมดหนทางในการที่จะเอาเปรียบ หมดเหตุผลที่จะหลอกลวง ส่วนฝ่ายที่ถูกเอาเปรียบ ถูกกดขี่ ถูกหลอกลวงก็ยิ่งเพิ่มจำนวนในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรมมากขึ้น ประหนึ่งว่าการเมืองการปกครองไทยกำลังเข้าสู่จุดสมดุล ซึ่งต้องอาศันจุดเปลี่ยนผ่านที่ดี เหมาะสม ลงตัว ที่จะเป็นจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศ ที่ทุกฝ่ายรู้สึกพอใจ รับได้ มีความยุติธรรม และสังคมยินดีที่จะปฏิบัติตามให้กลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของชาติ

หากจะวิเคราะห์จากการทำกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งประกอบด้วย สว. และผู้บริหารหน่วยงานราชการระดับสูง ก็จะพบว่า ตกอยู่ในสภาวะเสื่อมถอยมาก รวมทั้งองค์การด้านจิตวิญญาณ ดั่งเช่นองค์กรทางศาสนาภาวะเสื่อมถอยทางศัทธาเหล่านี้ กำลังถึงที่สุดที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

การเมืองไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ นั่นคือ พรรคการเมืองเก่าแก่หลายพรรคกำลังจะถูกยุบ รวมทั้งพรรคการเมืองที่ลุกขึ้นมาท้าทายอิทธิพลทางการเมืองของพรรคการเมืองรุ่นลายครามก็เช่นกัน ความไม่น่าเชื่อถือที่มีต่อ สว. ที่พยายามใช้อำนาจเหนือบทบาทของตนเอง รวมทั้งที่มาของ สว. ยังไม่เป็นเป็นที่ยอมรับ นี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าประเทศไทยถึงจุดที่กำลังก้าวสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

จุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ คือ การมีรัฐบาลบนพื้นฐานของความขัดแย้ง และความรู้สึกระแวง ถ้าดูตามปรากฏการณ์แล้ว โอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะได้อำนาจในการปกครอง และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะรวมกับฝ่ายไหนนั้น คงต้องดูกันอีกครั้ง ที่ประเมินว่า พรรคเพื่อไทยจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลนั้น จากการเดินทางไปร่วมแสดงความยืนวันเกิดนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตรและนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นี่เป็นการตัดสินใจเชิญของนายฮุนเช็นที่ประเมินว่า เพื่อไทยจะได้เป็นรัฐบาล และมีอำนาจในการปกครอง ซึ่งเมื่อก่อนก็รู้สึกได้แสดงความหนักใจที่เข้าใจว่า พรรคก้าวไกลจะได้เป็นรัฐบาลและมีนโยบายจะส่งแรงงานกัมพูชากลับประเทศ

สถานการณ์ของความขัดแย้งทางการเมืองคงจะสิ้นสุดลง เมื่อ สว. ชุดนี้หมดวาระ พรรคการเมืองที่ถูกร้องและอยู่ในบัญชียุบถูกตัดสินยุบพรรคทั้งหมด ในขณะที่รัฐบาลชุดนี้ ทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จและประกาศใช้ พร้อมทั้งยุบสภา สส.รุ่นลายครามทั้งหลายก็จะวางมือ นักการเมืองหน้าใหม่ ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น การเคารพกติกาบนพื้นฐานของหลักการที่ถูกกำหนดจากประสบการณ์ที่เจ็บปวด ก็จะถูกปฏิบัติตาม นี่เป็นเพียงความคาดหวัง ของผู้เขียนเพียงคนเดียวภายใต้ข้อมูลรอบข้างที่ไม่ได้ลงในรายละเอียด เป็นเพียงความเพ้อฝันที่คาดเดา ที่ท่านผู้อ่านอาจจะเห็นพร้องด้วยหรือไม่ก็เป็นหลักคิดของแต่ละบุคคล เราก้ได้แต่เดาไว้ล่วงหน้า แล้วก้เฝ้าติดตามดูว่าจะเป็นอย่างนั้นไหม???...ก็เท่านั้น