In Thailand

ราชทัณฑ์เปิดโครงการฝึกวิชาชีพ-ทักษะ การทำงานให้แก่ผู้ต้องขังขายTelesales



เชียงใหม่-กรมราชทัณฑ์เปิดโครงการฝึกวิชาชีพและส่งเสริมทักษะการทำงานให้แก่ผู้ต้องขังประเภทการขายโทรศัพท์Telesales ร่วมกับบริษัทไนซ์คอลจำกัด

เมื่อวันที่ 9สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 นาฬิกา นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกวิชาชีพและส่งเสริมทักษะการทำงานให้แก่ผู้ต้องขังประเภทการขายโทรศัพท์Telesalesภายในเรือนจำ โดยทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ร่วมกับ บริษัทไนซ์คอลจำกัดซึ่งได้รับเกียรติจากนายศรัณย์เวชสุภาพรกรรมการบริษัทไนซ์คอลจำกัดและคณะพร้อมด้วยนางอาจารีศรีสุนาครัวผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ผู้บัญชาการเรือนจำผู้อำนวยการทัณฑสถานผู้อำนวยการสถานกักขังกลางเขต5หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่คณะผู้บริหารข้าราชการและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีดังกล่าวณทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่

นายอายุตม์ฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการฝึกวิชาชีพและส่งเสริมทักษะการทำงานให้แก่ผู้ต้องขังประเภทการขายโทรศัพท์Telesalesภายในเรือนจำที่จัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ณ ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ในครั้งนี้ มีผู้ต้องขังเข้าร่วมโครงการฯจำนวน75 คนเป็นการดำเนินงานตามเป้าหมายโครงการในการต่อยอด ขยายเพิ่มจำนวนผู้เข้าโครงการฯจากเดิม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมราชทัณฑ์
และบริษัทไนซ์คอลจำกัดอันเป็นหน่วยงานภาคเอกชนภายนอก ให้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังระหว่างต้องโทษ โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมาในการร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมทักษะวิชาชีพผู้ต้องขังเพื่อให้ผู้ต้องขังได้มีความรู้ และทักษะวิชาชีพ

ในขณะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ นับเป็นการสร้างโอกาส และทางเลือกให้แก่ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการฯ มุ่งหวัง สร้างการยอมรับจากสังคมส่งเสริมแนวทางการประกอบอาชีพสำหรับเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวภายหลังพ้นโทษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์

นายอายุตม์ฯ ทิ้งท้ายว่า การพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง นับเป็นภารกิจที่สำคัญของกรมราชทัณฑ์ การที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม นับเป็นแรงขับเคลื่อนที่จะทำให้ภารกิจบรรลุผล
ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือการที่อดีตผู้ต้องขังสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ ป้องกันการหวนกลับมากระทำผิดซ้ำ
สามารถคืนสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน