In News
ลาวเผยทางรถไฟถึงเวียงจันทน์เสร็จแล้ว คาดปู๊นๆได้ในประชุมACMECSปลายปีนี้
กรุงเทพฯ-เชื่อมต่ออนุภูมิภาค รัฐบาลสนับสนุเงินกู้ขยายเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ระยะ2 เชื่อมหนองคาย-ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 7,500 คนต่อวัน และจะมีพิธีเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ในช่วงปลายปี 2566 หรือในช่วงการประชุมความร่วมมือ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง หรือ ACMECS ครั้งที่10 ซึ่ง สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
วันนี้ (12 ส.ค.66) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนเงินกู้แก่ กรมรถไฟ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว จำนวนกว่า 900 ล้านบาท ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) กระทรวงการคลัง ในการพัฒนาโครงการก่อสร้างทางรถไฟท่านาแล้ง – เวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ส่วนที่ 2 (รถไฟไทย – ลาว) เป็นการขยายระบบคมนาคมขนส่งทางรางของ สปป.ลาว ที่เชื่อมต่อจากเส้นทางหนองคาย – ท่านาแล้ง - เวียงจันทน์ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว(สฟล.) ร่วมอบรมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อรองรับการเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยทาง สปป. ลาว คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 7,500 คนต่อวัน และจะมีพิธีเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ในช่วงปลายปี 2566 หรือในช่วงการประชุมความร่วมมือ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง หรือ ACMECS ครั้งที่10 ซึ่ง สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
“การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางเป็นหนึ่งในความตั้งใจที่ รัฐบาล ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเส้นทางระหว่างประเทศไทย กับ สปป.ลาว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนด้วย อันเป็นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางระหว่างประเทศ สอดรับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และใช้จุดแข็งทางภูมิศาสตร์ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นางสาวรัชดาฯ กล่าว
พาอัปเดทล่าสุด สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
ปลายทางแห่งใหม่ของรถไฟ ไทย-ลาว ภายใต้การสนับสนุนของ NEDA (สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน) ประเทศไทย
วันนี้ขอพาเพื่อนๆ ไปเยี่ยมชมสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ซึ่งเป็นปลายทางแห่งใหม่ของรถไฟ ไทย-ลาว ซึ่งจะขยายปลายจากสถานีท่านาแล้งในปัจจุบัน ไปสู่สถานีสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
โดยในโครงการนี้เป็ระยะที่ 2 ของโครงการรถไฟ ไทย-ลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือ NEDA
โครงการทางรถไฟขนาดราง 1 เมตร ไทย-ลาว จาก หนองคาย-เวียงจันทน์ มีระยะทางรวม 11 กิโลเมตร
แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนหนองคาย-ท่านาแล้ง ซึ่งเปิดใช้งานมาตั้งแต่ 2552
2. ส่วน Container Yard (CY) ท่านาแล้ง ซึ่งเป็นศูนย์รับส่งสินค้าทางคอนเทนเนอร์ เพื่อเชื่อมกับการรถไฟในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พึ่งเปิดใช้งานไปเมื่อปีที่แล้ว
3. ส่วนทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ซึ่งได้เซ็นสัญญาก่อสร้างไปเมื่อกลางปีที่แล้ว และกำลังก่อสร้างอยู่
ซึ่งในโครงการนี้จะมีสถานีรถไฟเวียงจันทน์ อยู่บริเวณบึงธาตุหลวง ซึ่งเป็นส่วนกลางเมืองของเวียงจันทน์
ระยะทางถึงประตูชัยเวียงจันทน์ เพียงแค่ 8 กิโลเมตร และ ติดกับบึงธาตุหลวง ซึ่งเป็นแหล่งพัฒนาเมืองใหม่ของเวียงจันทน์
ตำแหน่งสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (ราง 1 เมตร)
Near Vientiane Prefecture, Laos
https://goo.gl/maps/AFSX8aQrKu5AtPZ16
ในส่วน ทางรถไฟไทย-ลาว ส่วนต่อขยาย ท่านาแล้ง-เวียงจันทร์ รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดจากการเซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการ https://www.facebook.com/491766874595130/posts/969338660171280/?d=n
- จุดเริ่มต้นโครงการที่ ปลายย่านลานขนส่งสินค่า (cy) ท่านาแล้ง ถึง ย่ายสถานีรถไฟเวียงจันทน์ เป็นทางรถไฟทางเดี่ยว ระยะทาง 9 กิโลเมตร
จากท่านาแล้ง ถึง สถานีเวียงจันทน์ ระยะทาง 7 กิโลเมตร
- มาตรฐานทางรถไฟเทียบเท่าทางหลัก(mainline) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะใช้รางขนาด 100 ปอนด์ ในทางหลัก และ 80 ปอนด์ใน CY
- รางรองรับความเร็วสูงสุดที่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- มีจุดตัดถนนกับทางรถไฟทั้งหมด 8 จุด ซึ่งเป็นทางลอดแบบกล่อง 3 จุด และเป็นจุดตัดระดับดินสำคัญขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือตัดกับถนนคำสวัสดิ์
- มีการก่อสร้างตัวอาคารสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (ราง 1 เมตร) ดูรายละเอียดจากรูปด้านล่างได้เลยครับ การออกแบบสถานีคล้ายกับสถานีบางบำหรุ ของสายสีแดงตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่รวม 13,500 ตารางเมตร
ชั้น 1 ขนาด 6,300 ตารางเมตร
ชั้น 2 ขนาด 3,600 ตารางเมตร
ชานชาลาขนาด 3,600 ตารางเมตร
- มีทั้งหมด 2 ชานชาลา และ 4 รางหลีก
- มีการก่อสร้างอาคารที่ทำการการรถไฟลาว
- งานอาณัติสัญญาณ
ในช่วงเบื้องต้นจะใช้การควบคุมการเดินรถไฟด้วยการใช้ วิทยุ และในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อให้เป็นอาณัติสัญญาณไฟสี ถ้ามีการเดินรถไฟมากขึ้น (ยากหน่อยเพราะต้องแข่งกับรถไฟจีน) และระบบอาณัติสัญญาณรองรับการพัฒนาให้ใช้ร่วมกับระบบ ETCS คล้ายกับรถไฟไทยในทางคู่ ซึ่งถ้าถึงจุดนั้นอาจจะเชื่อมต่อกับอาณัติสัญญาณของไทยเราด้วย
- งานออกแบบและวางผังสำหรับการก่อสร้างศูนยซ่อมรถไฟในอนาคต
- งานออกแบบและก่อสร้าง ลานกองเก็บตู้สินค้า (cy) ท่านาแล้ง (สร้างเฟส 1 เสร็จแล้ว)
- งานออกแบบจุดตัดถนนคำสวัสดิ์ ซึ่งเป็นจุดตัดบริเวณหัวสถานี เพื่อให้รถไฟสับเปลี่ยนหัวรถจักร
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานี
- มีพื้นที่รอโดยสารผู้โดยสารชั้น 1
- พื้นที่ศูนย์อาหาร
- ห้องจำหน่ายตั๋ว
- พื้นที่รองคอยโดยสาร
- สะพานข้ามทางรถไฟพร้อมลิฟต์และบันไดเลื่อน
โดยภาพรวมของสถานี ออกแบบได้ค่อนข้างดีและสอดคล้องกับการให้บริการ
ตอนนี้คงรอแต่การขยายการให้บริการจาก สถานีท่านาแล้ง มาสู่สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้ไวที่สุด เพื่อประโยชน์ของผู้โดยสารของทั้ง 2 ประเทศ!!!
ล่าสุดทางกรมการขนส่งทางราง ได้ให้ข้อมูลว่า จะมีการเร่งรัดให้เปิดให้บริการสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ภายในปี 2566