In News
รัฐฯเตือนผู้อาศัยพื้นที่เสี่ยงริมโขงระวัง! มวลน้ำเพิ่มขึ้นทุกวัน/ติดตามจุดอันตราย
กรุงเทพฯ-รัฐบาลเตือน สถานการณ์น้ำในภาคเหนืออีสาน น่าห่วงพื้นที่แม่น้ำโขง ช่วงนี้ระดับน้ำโขงสูงมาก รัฐบาลประสานประเทศสมาชิกน้ำโขงและจีน ร่วมบริหารจัดการน้ำ เร่งแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง
วันนี้ (12 ส.ค.66) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักสะสมในลุ่มน้ําโขงตอนล่าง และบริเวณแขวงบอลิคําไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ทําให้ระดับน้ําแม่น้ําโขง เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ําปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและ ประเทศจีนตอนใต้ ทําให้ประเทศไทยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้ระดับน้ําในพื้นที่แม่น้ําโขงตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 10 – 15 สิงหาคม 2566
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมและให้มีการเฝ้าระวัง อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชน 8 จังหวัดริมน้ําโขง ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และทางสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) ได้รายงานว่าทำการประสานประเทศสมาชิกน้ําโขงและจีน ผ่านสํานักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ําโขง ((Mekong River Commission Secretariat: MRCS) ขอความร่วมมือช่วยบริหารน้ําเพื่อควบคุมระดับแม่น้ําโขง เพื่อลดความเสี่ยงอุทกภัย จากฝนตกหนักในสปป.ลาว
นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า สำหรับช่วงวันที่ 12 - 18 สิงหาคม 2566 ทางกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ คาดการณ์ผลกระทบจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกําลังแรงขึ้น จะมีพื้นที่เสี่ยงน้ําท่วม ฉับพลัน น้ําป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ําท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้
ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อําเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ (อําเภออมก๋อย) จังหวัดตาก (อําเภอท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดน่าน (อําเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันมีน้ําท่วมขังอยู่ในพื้นที่อําเภอเวียงสา อําเภอท่าวังผา และอําเภอแม่จริม ระดับน้ําจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อําเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อําเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อําเภอเมืองนครพนมท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) จังหวัดสกลนคร (อําเภอบ้านม่วง และอากาศ อํานวย)
ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อําเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อําเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จังหวัดตราด (อําเภอเมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง)
ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อําเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อําเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อําเภอเมืองภูเก็ตกะทู้และถลาง)จังหวัดสตูล(อําเภอละงู) จังหวัดตรัง(อําเภอกันตังสิเกาและปะเหลียน)
“นายกรัฐมนตรี ติดตามสถานการณ์น้ำและการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างใกล้ชิด ทั้งเรื่องการป้องกันความเสียหาย การอพยพ การเข้าช่วยเหลือ ฟื้นฟู ส่วนเรื่องการเยียวยาความเสียหายต่อพืชผลการเกษตรนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบจะเข้าไปสำรวจทันทีเมื่อสามารถดำเนินการได้” นางสาวรัชดา กล่าว