Think In Truth

ฉากทัศน์ 'พรรคเพื่อไทย' รัฐบาลสลายขั้ว โดย : หมาเห่าการเมือง



รายงานข่าวจากเว็บไซด์สำนักพิมพ์ไทยรัฐ รายงานข่าววันนี้ 11 สิงหาคม 2566ว่า "เพื่อไทย" จัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ 314 เสียง ดัน "เศรษฐา ทวีสิน" นั่งนายกฯ ฉลุย หลัง พรรค 2 ลุง พปชร.-รทสช. ตอบรับโหวตนายกฯ ให้เพื่อไทย ขณะก้าวไกล และอีก 5 พรรคการเมือง ร่วมเป็นฝ่ายค้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทย (พท.) ถึงการรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทย ได้ร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆ และแถลงร่วมยกมือโหวตให้กับแคนดิเดตนายกฯ จากพรรค พท.ไปแล้วจำนวนมาก ประกอบด้วย พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 71 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) 10 เสียง พรรคประชาชาติ (ปช.) 9 เสียง พรรคเพื่อไทยรวมพลัง (พทล.) 2 เสียง พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) 2 เสียง ส่วนพรรคเสรีรวมไทย (สร.) พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคท้องที่ไทย พรรคละ 1 เสียง รวมเป็น 238 เสียง

ล่าสุด พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แม้ยังไม่แถลงข่าวร่วมกันแต่ก็แสดงความชัดเจนว่า จะยกมือ 40 เสียง ให้พรรคเพื่อไทย ทำให้มีเสียงรวมกันอยู่ที่ 278 เสียง เกิน 251 ข้ามเส้น สามารถตั้งรัฐบาลได้ โดยหลายสื่อได้คาดการณ์กันว่า พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี คือ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรองนายกฯ นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ นั่ง รมต.กระทรวงพลังงาน นายญอคุณ สิทธิพงศ์ รมช.พลังงาน นายพยง ศรีวณิ นั่ง รมต. กระทรวงดีอีเอส ส่วนพรรคพลังประารัฐ มี พลใตใอใพัรวาส วงศ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงทรัพย์  นางสาวตรีนุช เทียนทอง นี่ง รมต.กระทรวงศึกษาฯ  และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า นั่ง รมช. กระทรวงมหาดไทย

อย่างไรก็ตาม การจับพรรคร่วมรัฐบาล ยังไม่ได้มีเสียงตอบรับจากพรรคประชาธิปัตย์ และพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่ก็ยังเชื่อว่า พรรครวมไทยสร้างชาติก็คงจะให้คำตอบมาในเวลาอันใกล้นี้ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็เชื่อว่าจะมีคำตอบรับ ซึ่งถ้ามีการตอบรับโดยครบตามที่ได้ประสานเพื่อการจัดตั้งรัฐบาลทั้งหมด ก็จะได้จำนวน สส.ในฝ่ายรัฐบาลจำนวน 337 ซึ่งจะต้องหาเสียงจาก สว. เพื่อโหวตสนับสนุนอีก 43 เสียง ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนจาก สว. จนสามารถผ่านได้ในครั้งเดียวแน่นอน

หากจะวิเคราะห์เชิงความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคฝ่ายรัฐบาลเดิม รวมถึง สว. ด้วยแล้ว พรรคเพื่อไทยจะถูกมองเป็นพรรคคู่กรณีแห่งความขัดแย้งที่รุนแรงในอดีตที่ผ่านมา ถึงแม้นว่าจะมีเหตุผลรับรองการจับมือร่วมจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้คือ “สลายขั้วความขัดแย้ง เพื่อรักษาหลักการทางประชาธิปไตย” หรือ “การเมืองไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูที่ถาวร” ก็ตาม ความรู้สึกไม่สบายใจ ระแวง และไม่อยากที่จะยกมือให้ ยังคงค้างคาอยู่ในใจของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าหากมีแผนที่จะชิงแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของฝ่ายรัฐบาลเดิม การหักหลังพรรคเพื่อไทยจากฝ่ายรัฐบาลเดิม ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ โดยที่ฝ่าย สว. ไม่ยกมือโหวตสนับสนุน ก็จะทำให้นายเศรษฐา ทวีสิน วืดในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ เนื่องจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน ถูกนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้ออกมาแฉในประเด็นชุกรายได้เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในการซื้อขายที่ดิน ซึ่งอาจจะเป็นข้ออ้างในการไม่ยกมือโหวตให้ของ สว. ได้

ย้อนกลับไปพิจารณาเรื่องราวตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งมาจนถึงตอนนี้ เกมการเมืองมีการขบเขี้ยวกันอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพรรคก้าวไกลกับพรรคลุงและพรรค สว. รวมทั้งพรรคองค์กรอิสระ ซึ่งเป็นการดึงความสนใจทางการเมืองเล็งไปที่แคมเปญการหาเสียง ไม่ว่าจะแลนด์สไลด์เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ ไม่ว่าจะเลือกก้าวไกลประเทศไทยไม่เหมือนเดิม หรือเงินดิจิตอลคนละหนึ่งหมื่นบาท ค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน โดยที่คนยังไม่ได้สนใจการประกาศการกลับบ้านของ ดร.ทักษิณ  ชินวัตร กันมากนัก ซึ่งเป็นโอกาสที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้เคลื่อนไหวโดยใช้พื้นที่ประเทศรอบข้างประเทศไทยเป็นแหล่งบัญาการทางการเมือง ไม่ว่าสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซียเป็นต้น

หลังการเลือกตั้ง ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงวนเวียนอยู่กับประเทศรอบข้างประเทศไทย ไม่ว่าจะก่อนการโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ก็มีภาพหลุดการเดินทางของรองราชเลขาฯ พร้อมทั้งนักธุรกิจพลังงานที่เป็นทุนอยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองสายลุง ไปพบ ดร.ทักษิณ ชินวัตรที่เกาะลังกาวี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รองราชเลขาฯ ต้องถูกคำสั่งธำรงวินัย 30 วัน หลังจากที่นายพิธาพลาดจากการโหวตการรับรองเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มอบหน้าที่การเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลให้กับพรรคเพื่อไทย การเคลื่อนไหวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตรก็ยิ่งถี่ขั้น ไม่ว่าจะเป็นการประกาศที่จะกลับไทย ในวันที่ 10 สิงหาคม ซึ่งหลายฝ่ายก็ออกมาให้ข่าวไปกันต่างๆ นานา เช่น นายวิษณุ เครืองาม ก็ออกมาให้ความเห็นว่า กลับเข้ามาสามารถเข้าคุกเพียงวันเดียวก็ขออภัยโทษได้เลย ทางด้านกรมราชฑันก็ออกมาให้ข่าวว่าได้เตรียมห้องเพื่อกักพื้นที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตรไว้รองรับการกลับมาแล้ว

เหตุการณ์การเลื่อนการโหวตนายกในวันที่ 4 สิงหาคม ก็เกิดจากศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ส่งเรื่องการพิจารณาการใช้ ม.41 ขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่?...กลับมายังรัฐสภา ซึ่งเป็นการยืดเวลาในการประสานการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ที่จะเขี่ยให้พรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน จะด้วยเหตุผลไดนั้นไม่สามารถที่จะระบุได้ชัด มีแต่พลโทอนันทเดช เมฆสวัสดิ์เท่านั้นที่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า .112 ไม่ใช่เหตุผลหลักในการสกัดพรรคก้าวไกล แต่นโยบายของพรรคก้าวไกลที่กระทบต่อนายทุนที่อยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองเสียผลประโยชน์

หลังจากนั้น ถึงแม้ว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งเสียง 141 ที่เดินออกไปจากพรรคก้าวไกลแล้วทำให้กำลังต่อรองต่ำลงจนแทบจะไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้าปากร้องขออะไรได้เลย ถึงขนาดพรรคเล็กที่มี สส. เพียงแค่ 2 คนก็ยังสามารถต่อรองตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีถึงสองตำแหน่งก็มี แต่พรรคเพื่อไทยก็อดทนรอเดินเกมการเมืองตามบท ตามเวลา และตามจังหวะ การดีลฮ่องกงที่มีข่าวว่านายธนาธรเดินทางไปพบ ดร.ทักษิณ รวมทั้งคนสำคัญ ก็ออกมาซึ่งจะเป็นความจริงอย่างไร ไม่มีใครทราบ นั้นก็เป็นกระแสข่าวออกมาให้ได้วิพากวิจารณ์กัน รวมทั้งมีภาพการพบกันระหว่าง ดร.ทักษิณ และนางสาวยิ่งลักษณ์ กับตัวแทนพรรคฝ่ายรัฐบาลเดิม ออกมาหลังจากนั้น ก็ทำให้สังคมเริ่มจับทิศทางทางการเมืองของประเทศไทยได้ว่าจะไปในทิศทางได้ จนในวันที่ 5 สิงหาคม ก็มีภาพ ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปร่วมงานวันเกิดของ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชา ที่บ้านของสมเด็จฮุนเซนในกรุงพนมเปญ ซึ่งก็มีตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ เดินทางไปพบกันอย่างลับๆ จนมีการแถลข่าวการจับมือกันตั้งรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทย ที่มีกำลังต่อรองเพิ่มขึ้น จาก 141 เป็น 212 ในทันที

กำลังต่อรองทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยมีเพิ่มขึ้นตามลำดับเมื่อมีการจับมือกับพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติและพรรคเล็กอีกสามพรรค ทำให้หลายพรรคในฝั่งรัฐบาลเดิมยิ่งเบนเข็มทิศในการตัดสินใจแห่กลับเข้ามาหาพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะการออกมาให้สัมภาษณ์ของนายภูมิธรรม เวชยชัย ว่าจะเดินทางไปขอขมาพรรคก้าวไกลพร้อมทั้งขอการสนับสนุนโหวตให้กับพรรคเพื่อไทย และวันรุ่งขึ้นก็ได้เดินทางไปยังพรรคก้าวไกลด้วยการเดินเท้า นำโดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายแพทย์ลน่าน ศรีแก้ว นายภูมิธรรม เวชยชัย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งเป็นน้าชายของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่เดินทางเท้าไปยังพรรคก้าวไกล นายสุริยะถึงขนาดต้องสวมแว่นตาดำเดินร่วมคณะเข้าไป ประมาณว่าต้องการภาพในฉากการแสดงความรู้สึกบริสุทธิ์ใจที่ต้องการขอโทษขอขมาที่ไม่สามารถทำตามความประสงค์ของประชาชนที่อยากให้ทั้งสองพรรคร่วมกันจัดต้องรัฐบาลในช่วงเวลาและสถานการณ์นี้

ซีนบทนี้ดูเหมือนไม่ได้แสดงเพื่อขอขมาพรรคก้าวไกลจริงๆ แต่ต้องการสื่อสารถึงประชาชนผู้เลือกตั้งพรรคก้าวไกลและมวลชนคนเสื้อแดงให้ได้ให้อภัยในความจำเป็น และกดดันพรรคลุงที่พยายามต่อรอง เมื่อภาพนี้ออกไปสู่สาธารณะและมีการปล่อยข่าวออกมาว่า พรรคก้าวไกลพร้อมที่จะโหวตให้พรรคเพื่อไทย ส่งผลต่อพรรคพลังประชารัฐก็ประกาศพร้อมที่จะโหวตให้พรรคเพื่อไทยทั้งพรรค 40 เสียง โดยไม่มีข้อต่อรองในสิ่งไดๆ ประมาณว่าเขียนเช็คเปล่าค้ำประกันให้พรรคเพื่อไทยฟรีๆ

สถานการณ์การเมืองที่มีสถานการณ์พลิกผันได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้นั้น หลายฝ่ายก็มองว่านี่คือผีมือการบริหารจัดการการเมืองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่านายไพศาล พืชมงคล อ้างถึงบทเขียนของสิริอัญญา ก็ระบุว่าเกมการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่นี้อยู่ภายใต้การกำกับของดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งสอดคล้องกับนายจัตุพร พรหมพันธุ์ที่ว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้ ถึงเพื่อไทยจะลงทุนเจ็บมาก แต่ ดร.ทักษิณ จะยังมีความมั่นใจว่า ถ้ามีอำนาจในมือ ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้คนเสื้อแดงและโหวตเตอร์คนรุ่นใหม่กลับมาได้ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ข่าวการเมืองของไทยรัฐทีวีที่วิเคราะห์ว่าเกมทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับทิศทางของดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะเดียวกัน ศ.ดร.สุขุม นวลสกุล และ รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ก็ออกมาให้ความเห็นในทิศทางเดียวกัน

ศ.ดร.สุขุม  นวลสกุล ยังมองต่อไปว่า เกมจะยังไม่จบที่นายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งเป้าหมายของ ดร.ทักษิณ ชินวัตรต้องการให้นางสาวแพทองธาร เป็นนายกรัฐมนตรี การกำกับการตัดสินใจทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยสามารถดำเนินไปได้ไม่ยากโดยที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตรไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และนางสาวแพทองธารก็เป็นตัวประกันตามความประสงค์ของคนที่สื่อเอ่ยถึง ดังนั้นการร่วมโหวตให้นายเศรษฐา ทวีสิน อาจะได้เสียงสนับสนุนเกิน 300 เสียง แต่ไม่ถึง 376 ซึ่งจะมีผลทำให้นายเศรษฐา ทวีสินพลาดในการดำรงตำแหน่งนายรัฐมนตรีไปในคราวนี้ ซึ่งจะทำให้พรรคเพื่อไทยสามารถเสนอชื่อนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ซึ่งก็สอดคล้องกับหลายคนที่วิเคราะห์ไว้ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะได้นำเสนอในคราวต่อไป