In Thailand

'ราชทัณฑ์'ได้เข้าหารือสภาอุตสาหกรรมฯ ยกระดับทักษะทำงานผู้ต้องขังลดทำผิดซ้ำ



นนทบุรี-วันที่ 15 สิงหาคม 2566 นายอายุตม์  สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ตนและคณะผู้บริหาร โดยมีนายชาญวชิรเดชรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ฝ่ายพัฒนา นายวิรุณเจริญเกียรติวงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพฤตินิสัย นางสาววริศรา ศิริสุทธิเดชา เลขานุการกรม และนายสิริชัย เมืองมูลชัย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมทักษะการทำงานเดินทางเข้าปรึกษาหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อรับข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานร่วมกันที่จะให้โอกาสกับผู้ที่เคยกระทำผิดได้รับการแก้ไขปรับปรุงตนเอง สร้างงาน สร้างอาชีพ รวมถึงการให้โอกาสผู้พ้นโทษซึ่งการประชุมหารือครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายเกรียงไกร เธียรนุกุลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพร้อมรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้แก่นายอภิชิตประสพรัตน์นายวิวรรธน์เหมมณฑารพนางสาวพิมพ์นาราจิรานิธิศนนท์นายสุชาติจันทรานาคราชและดร.เนาวรัตน์ทรงสวัสดิ์รองเลขาธิการดร.สมสิทธิ์มูลสถานประธานกลุ่มเครื่องกลและโลหะการนายธนทัตชวาลดิฐประธานกลุ่มเฟอร์นิเจอร์นายปิงซุนหวังประธานกลุ่มไม้อัดไม้บางและนางริดาศรีหล่มสักประธานกลุ่มหัตถกรรมสร้างสรรค์พร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ให้การต้อนรับณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเขตสาธร กรุงเทพมหานคร

นายอายุตม์ฯกล่าวต่อไปว่า การประชุมหารือระหว่างกรมราชทัณฑ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นการหารือในประเด็นต่างๆ ซึ่งได้แก่ เรื่องของผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมทักษะการทำงาน และปัญหาการกระทำผิดซ้ำ ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ มากมายในเชิงลบรวมถึงแนวทางการสร้างมาตรฐานของสินค้าที่จะสามารถนำเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมได้ ซึ่งข้อดีของการทำงานของผู้ต้องขังที่ผู้ประกอบการให้ความเชื่อถือคือความมีระเบียบวินัยแต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดอีกมาก เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการว่าจ้างจากผู้ประกอบการภายนอก จึงทำให้ผู้ต้องขังขาดการฝึกทักษะอาชีพอย่างแท้จริง หรือไม่สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพภายหลังพ้นโทษได้ ถึงแม้กรมราชทัณฑ์จะมีผลิตภัณฑ์อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถนำเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมได้ในส่วนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำหลายประการ ได้แก่ขอให้มีการวิเคราะห์ด้านการตลาดระยะเวลา และจำนวนของผู้ต้องขังที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับผู้ลงทุนในระยะยาว ตลอดจนการวางแผนการลงทุนที่คุ้มค่า และสามารถให้ภาคอุตสาหกรรมได้เชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้มีความทันสมัยเข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ของราชทัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ไม้ รูปแบบที่อาจไม่เหมาะกับคนในยุคปัจจุบันนอกจากนี้ยังเสนอแนะให้มีการสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้พ้นโทษในการรวมตัวกัน เพื่อผลิตสินค้าในรูปแบบของ OTOP GO INTER  ร่วมกันสร้างงานสร้างอาชีพ ไม่หันกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก โดยการประชุมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมราชทัณฑ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่นำไปสู่การวางแผนและดำเนินการให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ (MOU) ในระยะยาว พร้อมที่จะขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

นายอายุตม์ฯ กล่าวปิดท้ายว่าทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ ยังได้มีกำหนดเปิดเรือนจำอุตสาหกรรม (Prison industry) ประจำเขต 2 อย่างเป็นทาง เพื่อให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสฝึกทักษะด้านการทำงานกับสถานประกอบและภาคธุรกิจจริง เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมและสามารถต่อยอดเป็นอาชีพภายหลังพ้นโทษได้อย่างแท้จริงในวันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ เรือนจำชั่วคราวบ้านบึง สังกัดเรือนจำกลางชลบุรี นับเป็นการให้โอกาสกับผู้ที่เคยกระทำผิดให้ได้รับการแก้ไข พัฒนาปรับปรุงตนเอง เป็นการคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืนต่อไป