In Thailand
มืดมา30ปีชาวบ้าน2ตำบลลพบุรีเพิ่งมีไฟ นอภ.พัฒนิคม-กฟภ.ร่วมปล่อยกระแสไฟ
ลพบุรี-นายอำเภอพัฒนิคม ประสานไฟฟ้าลพบุรี ปล่อยกระแสไฟไห้ชาวตำบลมะนาวหวาน,ตำบลโคกสลุง หลังอยู่ในความมืดมา 30 ปี
เมื่อวันนี้18ส.ค.66 ดร.รัฐพล ธุระพันธ์ นายอำเภอพั?นานิคม จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ผมยินดีและดีใจกับพี่น้องประชาชนชาวบ้านน้ำซับเหนือ ม.7 ต.มะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ที่มีการสับสวิตซ์ปล่อยกระแสไฟฟ้า ให้ชาวบ้านที่รอคอยมานาน ตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้มีไฟฟ้าใช้จริงๆแบบไม่ต้องฝันอีกต่อไป พี่น้องประชาชนเจ้าของที่ที่อยู่ตรงนี้ส่วนใหญ่ 95 % จะเป็นคนบ้านโคกสลุง ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกัน มีแม่น้ำป่าสัก เป็นตัวแบ่งกั้น ในสมัยก่อนยังไม่มีการสร้างเขื่อนฯขึ้นมา พี่น้องประชาชน เดินทางจากบ้านโคกสลุงมาที่ไร่ของพวกเขาเหล่านี้ ไม่ไกลอ้อมไปทางจังหวัดสระบุรีแล้วจึงอ้อมมาลพบุรี และไม่นานครับ เพราะมีสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้ามแม่น้ำ ป่าสักอยู่ แต่หลังจากมีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในปี 2537 ได้มีการเก็บกักน้ำที่ระดับสูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้สะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก ถูกท่วมจมหายไปกับเขื่อนฯ ด้วย การเดินทางของพี่น้องประชาชนเจ้าของที่ดินเลือกสวน ไร่นา จึงต้องอ้อมไปทางตำบลหนองบัว ผ่านอำเภอวังม่วงของจังหวัดสระบุรี แล้วเลี้ยววกมาที่ตำบลมะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม อีกครั้ง เตลิดมาจนถึงบ้านน้ำซับเหนือ ม.7ต.มะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม ซึ่งอยู่ติดเขตแดนอำเภอท่าหลวง จ.ลพบุรี นับระยะทาง รวมไม่ต่ำกว่า 60 กม.
ชาวบ้านเจ้าของที่ดินเรือกสวน ไร่สวน จึงแก้ปัญหาโดยการมาสร้างบ้าน สร้างกระท่อม เป็นที่อยู่อาศัย ในไร่ของพวกเขาเลย เพื่อประหยัดเวลาเดินทาง เมื่อวันเวลาผ่านไปนานเข้าหลายปี ก็พากันตั้งหลักปักฐาน สร้างหมู่บ้านถาวรกันที่นี่เลย ชื่อหมู่บ้านน้ำชับเหนือ สิ่งที่เป็นปัญหาตามมาคือ เมื่อมีการสร้างบ้านตามเลือกสวนไร่นาของตัวเองนั้นกระจัดกระจายไปทั่วทุกสารทิศ การจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง ของทางราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะการไฟฟ้า ไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน ซึ่งเหลืออยู่มากโขเกือบถึงร้อยหลังคาเรือน
การใช้ชีวิตในปัจจุบันของมนุษย์เรา ปฏิเสธไม่ได้ว่าไฟฟ้ามีความจำเป็นมากลำดับต้นๆเลยแหละ การรอคอยการมีไฟฟ้าจึงยาวนานมาเกือบ 30 ปีถึงปัจจุบันนี้
เมื่อผมย้ายมาอยู่อำเภอพัฒนานิคมได้ไม่นาน ประมาณ 2-3 เดือน ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ได้พากันมาร้องขอความช่วยเหลือ ด้านถนนหนทางให้สะดวก สบายเหมือนที่อื่นเขา โดยมาหาผมที่ห้องทำงานนายอำเภอพัฒนานิคม เลยทีเดียว
ต่อมาผมจึงได้ลงพื้นที่จริง ไปดูและพบปะพี่น้องประชาชน บนถนนที่หัวโค้ง กลางทุ่งนา จำนวนประมาณ 30 คน พวกเขาเล่าถึงความยากลำบาก การสัญจรเป็นถนนดินเดิม ยังไม่ได้รับการปรับปรุงจากหน่วยงานใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และนอกจากนั้น ผมยังได้รับทราบมาว่า ในหมู่บ้านที่พวกเขาพากันอาศัยอยู่ตรงนี้ ก็ไม่มีไฟฟ้าใช้เช่นเดียวกัน ซึ่งตอนนั้นผมได้ฟังแล้วตกใจมากว่า ในประเทศไทยของพวกเรา ก็มีความเจริญก้าวหน้ามากพอควรแล้ว แต่ทำไมยังมีพื้นที่ใดๆที่ไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่อีกรึ ผมจึงได้สอบถาม สำรวจตรวจสอบ ก็พบว่าเป็นจริง คาดการณ์ว่าคงจะเกิดจากสภาพพื้นที่ ที่พี่น้องประชาชนมาอยู่ใหม่ ตามเลือกสวนไร่นาของตัวเองทำให้อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่สามารถช่วยเหลือได้หมด วันนั้น ผมจึงได้โทรศัพท์ ประสานการไฟฟ้าแก่งเสือเต้น การไฟฟ้าพัฒนานิคม ขอความช่วยเหลือในการจัดสรรงบประมาณ ช่วยเหลือด้วย ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีและได้ประสานไปยังหน่วยเหนือของการไฟฟ้าเขต จากนั้นก็เฝ้าติดตามงบประมาณมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง มีวันนี้ได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างเต็มที่จำนวน 3,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ ปักเสา พาดสาย ระยะทาง 3.6 กม. เลยทำให้ชาวบ้านมีไฟฟ้าใช้ ซึ่งจากการได้พูดคุยกับข้าวบ้านในวันนี้ พวกเขาพากันดีใจมากที่หยุดยุติการรอคอยการมีไฟฟ้าใช้มาเกือบ 30 ปีแล้ว
วันนี้และต่อๆไป พวกเขาก็จะได้เตรียมหาเงินซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ทีวี ตู้เย็น พัดลม หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน อื่นๆ เป็นต้น
ผมต้องขอขอบคุณการไฟฟ้าแก่งเสือเต้น การไฟฟ้าพัฒนานิคม และการไฟฟ้าเขตรับผิดชอบจังหวัดลพบุรี ที่ประสานงานให้ได้อย่างรวดเร็ว นี่คือสโรแกนที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”“อำเภอพัฒนานิคม จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”ดร รัฐพล ธุระพันธ์ นายอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี กล่าวในที่สุด
ทวีศักดิ์/ลพบุรี