EDU Research & ESG

ม.กาฬสินธุ์ถ่ายทอดประสบการณ์วิชาชีพ ด้านวิศวกรรม-เทคโนฯ-สถาปัตย์ฯ



กาฬสินธุ-มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  จัดประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 14  เพื่อเป็นเวทีสำหรับถ่ายทอดผลงานประสบการณ์ วิชาชีพวิศวกรรม เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์  โดยมีบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมจำนวนมาก

วันนี้ 25 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุมพยับหมอก ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดีและบริหารสินทรัพย์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์  รศ.จิระพันธ์  ห้วยแสน  อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดงานวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 (ESTACON 2023) ซึ่งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดขึ้น เพื่อเป็นเวทีสำหรับถ่ายทอดผลงานประสบการณ์ วิชาชีพวิศวกรรม เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์  เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน  ผ่านรายงานการประชุมวิชาการ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี  

ทั้งนี้ มีศ.กิตติคุณ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ราชบัณฑิต ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) และนายกสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้แทนภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา วิทยากร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมงานเป็นจำนวนมาก

รศ.จิระพันธ์กล่าวว่า สำหรับปีนี้ ยังมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลากหลายสถาบันการศึกษา  ประกอบด้วย นักศึกษา คณาจารย์  และนักวิจัย จากภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ จำนวนกว่า 500 คน โดยมีบทความส่งเข้าร่วมนำเสนอผลงานรวม ทั้งสิ้น 235 บทความ ประกอบด้วยบทความนำเสนอในภาคบรรยาย 189 บทความ และบทความนำเสนอในภาคโปสเตอร์ 46 บทความ

รศ.จิระพันธ์กล่าวเพิ่มเติมว่า  การวิจัยในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เน้นการแก้ปัญหาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน สามารถส่งผลให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของชุมชน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ ในพื้นที่นั้น ในขณะเดียวกัน งานวิจัยยังสามารถสร้างฐานความรู้ใหม่ ที่ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยสามารถเป็นแหล่งสร้างงาน และพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง และรวดเร็วของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม การประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยการบรรยายวิชาการโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  และกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการแสดง การมอบโล่ให้กับเครือข่ายและผู้สนับสนุน พิธีมอบส่งต่อธงเจ้าภาพครั้งถัดไป การบรรยายพิเศษ เรื่อง การขับเคลื่อนประเทศด้วยวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบรรยายพิเศษ เรื่อง ทิศทางของมหาวิทยาลัยกับการสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ชุมชนและการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21 การบรรยายพิเศษ เรื่องวิกฤติพลังงานไฟฟ้าและแนวทางการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21 และการนำเสนอผลงานวิชาการ ทั้ง 5 กลุ่มสาขา1. กลุ่มวิศวกรรมโยธา : CE และสถาปัตยกรรมศาสตร์: AR. กลุ่มวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์: EE & COE  กลุ่มวิศวกรรมเครื่องกล: ME กลุ่มวิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมโลจิสติกฺส์: IE & LE  กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ST จากนั้นศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูสิงห์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์