Think In Truth

โครงสร้างประชากร...สะท้อนปัญหาในไทย โดย : หมาเห่าการเมือง



เสียงเพลงกระหึ่ม โลกโซเซียลดังขึ้น “คนจนมีสิทธิ์ไหมค่ะ คนจนมีสิทธิ์ไหมค่ะ ปริญญาไม่มี แต่ก็มีอีหลีนะค่ะ” เป็นเนื้อเพลงดัดแปลงจากเพลงสมองจนจน ของ มืด ไข่มุข สมาชิกวงพลอย   ที่เคยโด่งดังมาก่อนเมื่อสามสิบกว่าปี เพลงนี้บรรจุไว้ในอลบัมสมาคมคนเจ็บ วางตลาดเมื่อปี พ.ศ. 2531 แล้วถูก เดือนเพ็ญ เด่นดวง ศิลปินหมอลำซิ่งนำมาดัดแปลง ร้องบนเวทีแสดง จนกลายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังหน้าเวทีแสดง

ต่อความโด่งดังของท่อนสั้นๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลกโซเชียล เลยกลายเป็นไวรัลทางสังคม ที่วิจารณ์ในความเหมาะสมของเนื้อหาที่ศิลปินได้แสดงออกมาวิพากษ์วิจารณ์ และกลายเป็นประเด็นมาก เมื่อ ป๋อ ณัฐวุฒิ ได้ออกมาวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของเนื้อหาที่ศิลปินได้แสดงออกต่อสาธารณะที่ไม่ควรใช้คำที่หบายโลน รวมทั้งศิลปินหมอลำผู้โด่งดังในอดีต นกน้อย อุไรพร ก็ออกมาวิจารณ์ว่า “ในฐานะที่เป็นศิลปินหมอลำ ก็ไม่เห็นด้วยกับการแสดงศิลปะหมอหมอลำที่ใช้คำไม่เหมาะสมในการถ่ายทอดศิลปะวัฒนธรรม เพื่อการดำรงชีพ”

ในขณะเดียวกัน “ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ” อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีเพลงดังกล่าว โดยระบุว่า “คนจนมีสิทธิ์มั้ยคะ หลายคนไม่เข้าใจ ผมจะอธิบายให้ฟัง 1. เพลงนี้ที่ติดหูและถูกใจโลกโซเชียลอย่างล้นหลาม แม้ร้องเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เพราะเพลงได้สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม แม้ผ่านไป 30 ปี แต่ความจริงนี้ก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย2. เพลงนี้ยังสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพด้วย และความเหลื่อมล้ำนี้ ผ่านไป 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย 3. การที่นักร้องคือคุณเดือนเพ็ญหยิบท่อนนี้มาจากเพลงสมองจนจนของพลอยมาเล่นต่อ ไม่ใช่เพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว แต่การแสดงนี้คือศิลปะการแสดงที่เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอ (weapons of the weak) หรือศิลปะของผู้อ่อนแอ (art of the weak)  ลองนึกดูครับว่า ถ้ายุคนั้นหรือแม้แต่ยุคนี้ หากคนจนลุกขึ้นมาเดินขบวนชุมนุมประท้วงเรื่องความเหลื่อมล้ำ ก็ย่อมถูกปราบปรามจากรัฐได้ง่าย หรืออาจนึกภาพว่าคนจนเดินไปหานายกฯ หรือข้าราชการระดับสูง แล้วถามว่า “คนจนมีสิทธิ์มั้ยคะ” คุณคิดว่าเขาจะฟังหรือ? ในสังคมไทย อาวุธหรือศิลปะของผู้อ่อนแอไม่ได้มีแค่หมอลำ แต่ยังมีในศิลปะการแสดงและประเพณีอย่างอื่น เช่น หนังตะลุง ขบวนแห่บั้งไฟ นิทานก้อม ฯลฯ สำหรับชาวบ้านชาวช่อง เขาถือว่าปกติ เช่น นายหนังตะลุงเดี่ยว เอาประยุทธ์มาล้ออย่างหนักเป็นที่ตลกขบขันของผู้ชม แต่ผู้มีอำนาจไม่มีสิทธิ์ที่จะโกรธเคือง ประเด็นท่อนเพลง “คนจนมีสิทธิ์มั้ยคะ …” จึงควรให้ความสำคัญต่อสาระที่แท้จริง คือความเหลื่อมล้ำ ซึ่งรวมถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาวะที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ และสาระตรงนี้ควรสะกิดต่อมความคิดแบบอนุรักษนิยมให้คิดมากกว่าภาษาที่หยาบโลน”  คุณคุณไม่ได้มาจากดาวดวงอื่นหรอกครับ คุณอยู่บนโลกใบเดียวกันนี่แหละ เพียงแต่คุณอยู่ในโลกของการแสดงอีกแบบที่คิดว่าดีกว่าคนอื่น ทั้งที่คุณเกิดและดังในยุคที่พระเอกละครไทยข่มขืนนางเอก ที่หากพิจารณาแล้ว มันเลวร้ายกว่าหยาบโลนกว่าหลายพันเท่า ซึ่งคุณป๋อควรออกมาแสดงจุดยืนว่ารับไม่ได้”

ประเด็นของความเหลื่อมล้ำทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ทางสังคม ที่นำไปสุ่การกดขี่ทางเพศ สภาพของการเหยียดความเป็นด้วยความไม่เท่ากับทางเพศสภาพ เหล่านี้ไม่ได้ถูกหยิบขึ้นมาพิจารณาถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง หากแต่จะหยิบยกขึ้นมาเพียงแค่การแสดงออกที่เป็นผลกระทบต่อวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของบ้านเมืองเท่านั้น

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้วได้อภิปรายถึงปัญหาทางเพศสภาพและปัญหาทางโครงสร้างประชากรที่มีอัตราการเกิดลดลงมาก ประเทศไทยมีอัตราการเกิดเพียง 1.2% เท่านั้น แต่นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขกลับโยนปัญหาไปที่การสร้างเจคติที่บิดเบือน ที่ทำให้คนแต่งงานกันไม่อยากมีลูก จนฝ่ายภรรยาต้องบังคับให้สามีทำหมัน แต่ก็ได้รับการโต้แย้งจาก นายปกรณ์วุฒิ์ อุดมพิพัฒย์สกุล สส.พรรคก้าวไกล การแต่งานมันเรื่องของคนสองคน การมีบุตรหรือไม่มีบุตรเป็นความสมัครใจของคนทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็สื่อสะท้อนถึงความมีเสรีภาพ ในกรอบของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งก็คงยังไม่ได้นำเสนอประเด็นของแก่นแท้ของปัญหา ที่จะได้นำปัญหา ที่มาของปัญหา มาหาทางในการแก้ปัญหา และร่วมกับสำนักต่อปัญหาพร้อมทั้งแก้ปัญหาไปด้วยกัน

สภาพปัญหาโครงสร้างประชากรของประเทศไทยกำลังเข้าสู่วิกฤติ ที่ประชากรของประเทศส่วนใหญ่อยู่ในวัยรา ประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะของคนยุคสูงวัย ประชากรมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2564 มีประชากรรวมทั้งหมด 66.7 ล้านคน แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ 57.8 ล้านคนในปี 2583 อัตราการเจริญพันธุ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 มีอัตราการเจริญพันธุ์รวม 1.53 แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ 1.20 ในปี 2583 ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2564 มีประชากรสูงอายุ 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.8 ของประชากรทั้งหมด แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31.4 ของประชากรทั้งหมดในปี 2583

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ

ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ได้แก่

  • แรงงานลดลง ส่งผลให้การผลิตสินค้าและบริการลดลง
  • กำลังซื้อลดลง ส่งผลให้อุปสงค์สินค้าและบริการลดลง
  • ต้นทุนการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

ผลกระทบต่อระบบสังคม ได้แก่

  • ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการอยู่อาศัย ปัญหาการดูแล ปัญหาการยอมรับผู้สูงอายุในสังคม

ผลกระทบต่อความมั่นคง ได้แก่

  • ปัญหาความมั่นคงทางแรงงาน
  • ความมั่นคงทางการเงิน
  • ความมั่นคงทางสังคม

รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ในรัฐบาลก่อนหน้านี้ ได้แก่

  • นโยบายประชากรและครอบครัว เช่น การเพิ่มอัตราการเกิด การดูแลผู้สูงอายุ
  • นโยบายแรงงาน เช่น การส่งเสริมแรงงานสูงอายุ การนำเข้าแรงงานต่างด้าว
  • นโยบายเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมการลงทุน การกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม นโยบายและมาตรการต่างๆ ดังกล่าว ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือบางมาตรการก็ยังคงไม่ได้รับการส่งเสริมและดำเนินการอย่างจริงจัง ซึ่งรัฐบาลไทยในยุครัฐบาลเศรษฐา1 จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  รัฐบาลเศรษฐา1ควรกำหนดมาตรการและดำเนินการตามนโยบายต่างๆ ในการส่งเสริมการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล ปัญหาโครงสร้างประชากรของประเทศไทยก็จะสามารถบรรเทาลงได้ และประเทศไทยจะสามารถเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างราบรื่น

มาตรการและแนวทางในการแก้ปัญหาโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ควรดำเนินการในหลายด้าน ดังนี้

ด้านประชากรและครอบครัว

  • ส่งเสริมให้คนไทยมีบุตรมากขึ้น โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การให้เงินอุดหนุนเลี้ยงดูบุตร การจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กเล็ก เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้ผู้หญิงมีบทบาทในสังคมมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานและเลี้ยงดูบุตรได้พร้อมกัน
  • ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำงานต่อไปหลังเกษียณอายุ

ด้านแรงงาน

  • ส่งเสริมแรงงานสูงอายุ โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงาน การจัดหางานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เป็นต้น
  • ส่งเสริมแรงงานต่างด้าว โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การอำนวยความสะดวกในการเข้ามาทำงานในประเทศไทย การจัดหาที่อยู่อาศัยและสวัสดิการที่เหมาะสม เป็นต้น

ด้านเศรษฐกิจ

  • ส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น
  • พัฒนาระบบสวัสดิการสังคม เพื่อรองรับความต้องการด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ

ด้านสังคม

  • สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุ โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุ การจัดอบรมให้กับบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้สังคมยอมรับผู้สูงอายุ โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การส่งเสริมบทบาทของผู้สูงอายุในสังคม การให้เกียรติและเคารพผู้สูงอายุ เป็นต้น

มาตรการและแนวทางต่างๆ เหล่านี้ ควรดำเนินการอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ประเทศไทยสามารถเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างราบรื่น

นอกจากมาตรการและแนวทางข้างต้นแล้ว รัฐบาลไทยควรพิจารณามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี โดยอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เช่น การส่งเสริมการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น
  • มาตรการและแนวทางเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยลดภาระการดูแลผู้สูงอายุของครอบครัวและสังคม

โดยสรุป ปัญหาของโครงสร้างประชากร ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาของความเหลื่อมล้ำ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ทำให้คนยุคใหม่ ขาดความเชื่อมั่นในการที่จะมีบุตรที่จะเป็นภาระในความรับผิดชอบที่ต้องเลี้ยงดูในสภาวะทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ขาดความมั่นคง ขาดความมั่นใจต่ออนาคตของลูกหลานที่จะเกิดมาต้องเผิญกับปัญหาของความยุ่งยากในการดำรงชีวิต ดังนั้น รัฐบาลควรต้องมีมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสงคมลง และสร้างความเชื่อมั่นในความมั่นคงในการดำรงชีวิตของบุตรหลานของคนวัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งสร้างเจตคติที่ดีต่อการมีบุตร ในการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพงษ์ตระกูล และรัฐควรต้องมีมาตรการในการสร้างสวัสดิการในการเลี้ยงดูบุตรให้เป็นประชากรของประเทศชาติที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยไม่ปล่อยให้ทุนมองประชากรไทยเป็นเพียงแค่เครื่องมือทางธุรกิจ ที่ต้องถูกละเมิดสิทธิ์ จนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ลดลง

นโยบายส่งเสริมการเพิ่มประชากรและสร้างทรัพยากรมนุษย์ คงจะไม่เป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับรัฐบาลเศรษฐา1 จนเกินไป ที่จะเล็งเห็นความสำคัญในการกำดหนดมาตรการและดำเนินการได้