EDU Research & ESG

สจล.มองอนาคตที่มากกว่า'มหา’ลัยดิจิทัล' ฉายภาพ4แพลตฟอร์มหนุนการเรียนรู้



กรุงเทพฯ-ต้องยอมรับว่า New Gen ในปัจจุบันกำลังก้าวสู่ความท้าทายครั้งสำคัญในการเป็น The Next Gen ที่จะเข้ามาเติมเต็มไปพร้อมกับการสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหม่ในภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง และก้าวข้ามกระแสคลื่นดิจิทัลดิสรัปชัน (Digital Disruption) ที่มีการปรับตัวอยู่เสมอได้ ในด้านการศึกษาไทยโดยเฉพาะ สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา จึงต้องเป็นเสมือนพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) เพื่อลับคมความรู้และเติมเต็มประสบการณ์แก่คนรุ่นใหม่ได้อย่างเต็มศักยภาพ และพร้อมก้าวสู่การเป็น “บุคลากรคุณภาพ” รับการแข่งขันตลาดแรงงานยุคดิจิทัลได้ในอนาคต

image.png

ต้องยอมรับว่า New Gen ในปัจจุบันกำลังก้าวสู่ความท้าทายครั้งสำคัญในการเป็น The Next Gen ที่จะเข้ามาเติมเต็มไปพร้อมกับการสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหม่ในภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง และก้าวข้ามกระแสคลื่นดิจิทัลดิสรัปชัน (Digital Disruption) ที่มีการปรับตัวอยู่เสมอได้ ในด้านการศึกษาไทยโดยเฉพาะ สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา จึงต้องเป็นเสมือนพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) เพื่อลับคมความรู้และเติมเต็มประสบการณ์แก่คนรุ่นใหม่ได้อย่างเต็มศักยภาพ และพร้อมก้าวสู่การเป็น “บุคลากรคุณภาพ” รับการแข่งขันตลาดแรงงานยุคดิจิทัลได้ในอนาคต

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สถาบันการศึกษาชั้นนำของไทยที่มีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมสู่สังคมโลก (The World Master of Innovation) ซึ่งในวันนี้ พร้อมก้าวไปอีกขั้นกับการทรานส์ฟอร์มสถาบันให้เป็นได้มากกว่า “มหาวิทยาลัยดิจิทัล” ด้วย 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ที่มุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนและสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน  ประจำปีการศึกษา 2567 - 2568 รับปีที่ 64 ของสถาบัน

รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยว่า สจล. ให้ความสำคัญในการผลิต “คนคุณภาพ” เสิร์ฟภาคอุตสาหกรรม ที่นอกจากจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทางแล้ว ยังต้องมีมุมมองที่เปิดกว้างในการเรียนรู้ (Life Long Learner) อยู่เสมอ เพื่อให้พร้อมรับในทุกโอกาสที่เข้ามาในเส้นทางการทำงาน หรือสามารถกระโดดเข้าสู่เส้นทางอาชีพใหม่ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ในปีนี้จึงได้กำหนด 4 แพลตฟอร์มนวัตกรรมที่ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีพครอบคลุมการบริหารงานและพัฒนาสถาบัน ดังนี้

1. KLLC & GLOBAL INNOVATION ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ‘คนไทยทุกเจน’ ด้วยแพลตฟอร์มการเรียนรู้ KLLC โดยความร่วมมือกับสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KLLC) ที่มัดรวมเนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมที่น่าสนใจมากกว่า 100 กิจกรรม เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แก่คนไทยในทุกเจนเนอเรชัน ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยเด็กเล็ก (Kids University) โครงการเรียนล่วงหน้าเก็บเครดิต หลักสูตรอัพสกิลใหม่ๆ สำหรับวัยเรียน-วัยทำงาน และโครงการสูงวัยแอคทีฟ (KMITL Elderly School)

2. DIGITAL AND SMART UNIVERSITY ยกระดับ ‘งานบริหาร’ และออกแบบหลักสูตรแนวใหม่ ด้วยบิ๊กเดต้า ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักบริหารข้อมูลดิจิทัล (KMITL Data Management Center: KDMC) และสำนักทะเบียนและประมวลผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการนักศึกษาให้สามารถเข้าถึงระบบต่างๆ ภายในสถาบันได้ดียิ่งขึ้นอย่าง KMITL UAPP ที่มาพร้อมความสามารถหลากรูปแบบ ทั้งเช็คตารางเรียน ทำธุรกรรมดิจิทัล ฯลฯ รวมถึงการพัฒนารูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับเทรนด์และความสนใจของคนรุ่นใหม่ อาทิ Skill Mapping เอไอวิเคราะห์ทักษะสำคัญที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบการจัดการเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคดิจิทับด้วย AI CCTV 24 Hrs ระบบมอนิเตอร์ช่วยดีเทคบุคคลต้องสงสัย-ตรวจสอบความหนาแน่นของการจราจรได้ตลอด 24 ชม. และ KMCH Telemedicine แพลตฟอร์มขอคำปรึกษา-ติดตามอาการกับหมอ รพ.เจ้าคุณทหารลาดกระบัง แบบออนไลน์

3. SUSTAINABLE UNIVERSITY สจล. มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สร้างพื้นที่สีเขียวและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยติดตั้งระบบ Solar Roof ขนาด 2 เมกะวัตต์ ที่ KLLC และหอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ทำให้สามารถประหยัดพลังงาน และลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่บุคลากร นักศึกษา และสังคม โดยตั้งเป้าหมายในปี 2028 สจล. จะ ‘ลดปริมาณคาร์บอน’ ลงร้อยละ 50 และจะมุ่งสู่เป้า ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอน’ สำหรับประเทศไทย (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 ภายใต้บริบทของ สจล.ในการเป็น ‘ต้นแบบด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อก้าวสู่โลกอนาคต บนคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สจล.จึงได้ประกาศ ‘นโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน 9 ข้อ’ ของสถาบันแก่นักศึกษา บุคลากร นักวิจัย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมลงมือการดำเนินการจัดการ คุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของสถาบัน และมุ่งสู่การลดปริมาณขยะ ด้วยหลัก 3R คือ Reduce ลดการใช้และสร้างขยะ เช่น ลดการใช้พลาสติกแบบซิงเกิ้ลยูส หรือวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ Reuse การนำสิ่งที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนนำไปทิ้ง และ Recycle การเปลี่ยนสิ่งเก่าหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว นำไปเป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์

4.  EXPANDING HORIZONS เสริมอาวุธให้คม แพลตฟอร์มความร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบัน เช่น โครงการ KOSEN – KMITL (สถาบันโคเซ็นแห่งสจล.) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือจากรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น ที่มุ่งสร้างนักนวัตกร (Practical Engineer) เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน EEC และร่วมมือกับ NIT ( National Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาของสถาบันฯ  โครงการความร่วมมือกับ IBM บริษัทด้านไอทีระดับโลก พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ทักษะดิจิทัล ได้แก่ Generative AI และ Design Thinking for Entrepreneur ผ่านแพลตฟอร์ม IBM SkillsBuild เน้นการส่งเสริมการพัฒนา Soft Skills ตามความต้องการเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจความต้องการของนักศึกษา และพบว่า 5 ทักษะหลักที่นักศึกษา สจล. ต้องการเรียนรู้ ได้แก่ ทักษะดิจิทัล, การสื่อสารดิจิทัล, คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์, ความเป็นผู้นำและการแก้ปัญหา และการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม

รวมถึงโครงการความร่วมมือกับเทคฮับอย่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น รวบรวมคอร์สออนไลน์ที่หลากหลาย เช่น Data Analysis, Digital Marketer, NFT และ UX Designer จากทรู ดิจิทัล อคาเดมี (True Digital Academy) นอกจากนี้ ยังได้นำเครือข่าย 5G และเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจร ทั้ง IoT, AI, Cloud และ Data Analytic ร่วมเสริมศักยภาพ KMITL Data Management Center (KDMC) ศูนย์กลางรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ของสถาบัน การสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านโครงการ Hackathon ของนักศึกษา และนำผลงานมาขยายผลด้านงานวิจัยต่อไป ฯลฯ

ติดตามความเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ทาง https://www.facebook.com/kmitlofficial และเว็บไซต์ https://www.kmitl.ac.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8000