Think In Truth

digital wallets...ก่อทุนบนความร่วมมือ โดย : หมาเห่าการเมือง



ผมเคยเสนอเรื่องการแก้วิกฤตทางเศรษฐกิจของชาติไปแล้ว ว่า วิกฤตทางเศรษฐกิจของชาติที่เกิดขึ้นมาแล้วถึง 5 ครั้งนั้น ประเทศไทยสามารถแก้วิกฤตได้ทุกครั้ง โดยอาศัยประชาชนระดับล่างในการแก้ปัญหา และวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ก็เกิดจากกลุ่มทุนและการวางแผนทางการเงินการคลังและการวางนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผิดพลาด วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นที่เห็นได้ชัดที่กลุ่มทุนเป็นผู้ก่อปัญหา คือ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่หนึ่ง หรือวิกฤตราชาเงินทุน ที่รัฐต้องอนุมัติเงินงบประมารไปอุ้ม ครั้งที่สองก็เป็นวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่รัฐบาลเป็นผู้เปิด BIBF ให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาโดยไม่ควบคุม เมื่อทำกำไรแล้วก็เร่งถอนออกไป ทำให้เงินบาทถูกโจมตีจนขาดเสถียรภาพ ประเทศไทยต้องขายสมบัติของชาติเพื่อพยุงสถานะทางการเงินและเศรษฐกิจ แต่วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นทุกครั้ง มักจะแก้ปัญหาด้วยประชาชนระดับล่าง โดยการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินมากขึ้น เครื่องจักรทางเศรษฐกิจในทุกมิติถูกกระตุ้นให้ทำงาน วิกฤตที่เกิดขึ้น ประเทศจึงสามารถผ่าวิกฤตให้ผ่านพ้นมาได้ทุกครั้ง

วิกฤตของประเทศในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากทุนต่างประเทศแต่อย่างได แต่เกิดจากปัญหาภายใน ที่ประเทศไทยทุ่มไปที่การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตมวลรวม หรือไม่ได้พัฒนาในทุกมิติอย่างสมดุล รัฐบาลที่ผ่านมาใช้เงินทุนสำรองไปมาก รวมทั้งเงินสะสมของผู้ใช้แรงงาน เงินออมของประชาชน และเงินกองทุนต่างๆ จนกองทุนต่างๆ ไม่สามารถจะสนับสนุนรัฐบาลได้ รัฐบาลก็หันไปกู้จนทำให้หนี้สินของประเทศ พุ่งขึ้นจาก 5 ล้านล้านบาท เป็น 10 ล้านล้านบาท ภายใน 9 ปี

พอเปลี่ยนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลที่เคยมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมีนโยบายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็มีกลุ่มนักการเงินการธนาคารออกมาคัดค้านการดำเนินนโยบาย ที่รัฐบาลจะดำเนินกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งก็พยายามที่จะเข้าใจว่า กลุ่มนักการเงินการธนาคารทั้งหลาย ก็รู้เรื่องนี้ดี แต่การคัดค้านนโยบายรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมในการสร้างกระบวนการบริหารจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ นั้นคือสิ่งที่เรายากจะคาดเดา เพราะปรากฏการณ์ของการแข่งขันทางการตลาดของกลุ่มทุน มีแผนการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น เช่น กลุ่มทุนใหญ่อย่างไทยเบรฟ หรือเบียรช้าง ก็เตรียมการเปิดร้ายโชว์ห่วย โดยผสมผสานความร่วมมือกับทุนขนาดเล็กในชุมชนหรือร้านโชว์ห่วย เพื่อกระจายสินค้าให้เข้าถึงชุมชนมากขึ้น โดยมีแผนเปิดสาขาทั่วประเทศ 30,000 สาขา โดยที่ ซีพีออล ซึ่งเป็นทุนรายใหญ่ที่ดำเนินการอยู่แล้วถึง 13,000 สาขา และยังมีกิจการร้านสะดวกซื้อในกลุ่มทุนอื่นๆ อีกหลายกลุ่มทุ่น ไม่ว่าจะเป็น CJMart ร้านถูกดี DIY และอื่นๆ อีก

นโยบายเงินดิจิทัล ของรัฐบาลเศรษฐา1 เป็นทิศทางของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้เร็วที่สุด ถ้าหากมีนโยบายอื่นๆ ที่บูรณาการส่งเสริมเครื่องจักรทางเศรษฐกิจในระดับล่างได้ฟื้นตัวและเดินเครื่องได้ กระแสการหมุนเวียนของเงินทั่วประเทศจะมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระสั้น ที่พัฒนาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน

ผมก็เข้าใจว่ากลุ่มนักการเงินการธนาคารที่ลงชื่อคัดค้านนโยบายเงินดิจิทัลของรัฐบาลเศรษฐา ในครั้งนี้ ไม่ได้เอาเหตุผลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจริงแบบองค์รวมมาอธิบาย เพราะสิ่งที่ถูกอธิบายออกมาให้สาธารณะรับทราบ เป็นเพียงแค่หยิบเอาอุปสรรคส่วนหนึ่งในกระบวนการมาขยายความเพื่อหาแนวร่วมทางสังคมเท่านั้น และผมก็เชื่ออีกว่า ระดับมันสมองอย่างนักการเงินการธนาคารก็รู้ว่า การดำเนินนโยาบายของรัฐบาล รัฐบาลต้องมีแผนในการ RISK MANEGMENT กับอุปสรรคที่เขานำมาอธิบายขยายความให้สังคมได้ฟังอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ากลุ่มนักการเงินการธนาคารกลุ่มนี้ มี HIDEN AGENDA หรือไม่??....

ข้อมูลต่อไปนี้ จะมีคนเข้าถึงได้ไม่มากนัก แต่กลุ่มนักการเงินการธนาคาร กลุ่มที่ลงชื่อคัดค้านนโยบายเงินดิจิทัลคราวนี้ เชื่อว่าเข้าถึงได้ทุกคน นี่เป็นข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่รวบรวมผู้ถือบัญชีธนาคารของประชาชนไทยจากธนาคารพาณิชในประเทศ ในช่วงเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. ปี 2565 ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวเลขคร่าวๆ และคำนวณแบบคณิตคิดในใจเร็วๆ โดยมีฐานตัวเลขเพื่อการประเมินดังนี้ คนไทยมีบัญชีธนาคาร ทุกธนาคารรวมกันแล้ว 130 ล้านบัญชี เฉลี่ย ก็คิดว่า คนไทยมีบัญชีธนาคารถืออยู่ในมือ คนละ 2 บัญญชีโดยประมาณ มียอดเงินฝากในบัญชีทั้งหมด 16 ล้านล้านบาท ถ้าดูเท่านี้ เราก็จะพบว่า คนไทยรวยใช่ไหม??...ที่มียอดเงินฝากในบัญมากกว่าหนี้สินของประเทศ เราลองเข้าไปดูในรายละเอียดกันหน่อยนะครับ

ยอดเงินฝาก

จำนวนบัญชีธนาคาร

คิดเป็นจำนวนคนถือบัญชี

ยอดเงินฝากรวม

500 MB ขึ้นไป

1600

800

2.6 ล้านล้านบาท

200-500 ล้านบาท

3400

1700

1 ล้านล้านบาท

100-200 ล้านบาท

6000

3000

9 แสนล้านบาท

50-100 ล้านบาท

14000

7000

1 ล้านล้านบาท

25-50 ล้านบาท

31000

15500

1.1 ล้านล้านบาท

1-10 ล้านบาท

1700000

850000

4.3 ล้านล้านบาท

5 แสน – 1 ล้านบาท

1600000

800000

1.1 ล้านบาท

2 แสน – 5 แสนบาท

3000000

1500000

9 แสนล้านบาท

1 แสน – 2 แสนบาท

3000000

1500000

4 แสนล้านบาท

กลุ่มสุดท้ายนี้สำคัญ ที่รัฐและนักการเงินการธนาคารควรต้องคำนึงถึงกลไกที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อน

5 หมื่น – 1 แสนบาท

4000000

2000000

3 แสนล้านบาท

0 – 5 หมื่นบาท

106000000

53 ล้านคน

2.4 ล้านลานบาท

จากตัวตัวเลข เราจะพบว่า มีผู้ถือบัญชีธนาคารที่มีเงินฝาก 0-50000 บาท อยู่ถึง 53 ล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ที่เฉลี่ยแล้ว แต่ละคนจะมีเงินฝากธนาคารอยู่เพียง 4300 เท่านั้น นั่นหมายถึงอะไรหละ??.. เครื่องจักรทางเศรษกิจของประชากรไทยกลุ่มนี้ได้ตายไปแล้ว ไม่มีกำลังซื้อ ไม่ใช่ฐานที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาได้เลย และกลุ่มคนที่มีเงินฝากสูงกว่า 50000 บาท ก็มีเพียง 17 ล้านคน แล้วจะเป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่จะหล่อเลี้ยงประชากรอีก 53 ล้านคนได้อย่างไร อีกทั้งประชากรที่มีเงินฝากมากว่า 50000 บาท โดยส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่อยู่ในวัยชรา ที่ไม่มีกำลังมาพอที่จะสร้างเศรษฐกิจเพื่อหล่อเลี้ยงประชากรที่เปรียบเสมือนกลไกทางเศรษฐกิจที่ตายแล้วเหล่านี้ได้เพียงพอ

ถึงแม้ว่าประชากรเหล่านี้เขาเป็นเสมือนกลไกทางเศรษฐกิจที่ตายแล้ว แต่เขายังมีชีวิต ต้องการอาหาร ต้องการความเป็นอยู่ เมื่อการจัดการของรัฐที่ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต วิกฤตทางสังคมจะตามมา ความล่มสลายของประเทศมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะ FAIL STATE สูง ซึ่งถ้าดูจากสภาวะหนี้สินสาธารณะและหนี้สินของชาติแล้ว เหลือเพียง 7% เท่านั้น ก็จะชนเพดาน ถึงแม้นว่าประเทศจะยังไม่เข้าถึงภาวะวิกฤตินั้น แต่ตัวเลขก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า บ้านเมืองกำลังก้าวสู่ทิศทางนั้น แต่บ้านเมืองโดยเฉพาะภาวะการเมืองทั้งในและนอกสภา ก็ยังคงขาดซึ่งทิศทางในการแก้ปัญหาที่แท้จริง

สิ่งหนึ่งที่อยากจะทำความเข้าใจ คือ ช่วงนี้บ้านเมืองก็วุ่นวายมากพอแล้ว เพียงให้เราทุกคนหยุด หยุดทบทวนกับตัวเองว่า เวลานี้ ตัวเองเป็นใคร มีหน้าที่อะไรกับสิ่งที่อยู่รอบข้าง มีบทบาทอย่างไรกับสถานการณ์ปัจจุบัน ควรจะต้องทำอะไรให้สถานการณ์การณ์มันดีขึ้น ต้องหยุดการแสดงออกเรื่องอะไร ที่ไม่ก่อปัญหาเพิ่ม ทุกอย่างแต่ละคนธรรมชาติให้มาเพียงพอแล้ว ส่วนที่จะสร้างเพิ่มเติม มันจะอยู่ในสภาวะสมดุลอย่างไร??...ไม่ก่อสภาวะเบียดเบียน แต่สร้างภาวะที่เกิ้อกูลอย่างไร

ผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่รู้จักกับเจ้าสัวเจริญและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเจ้าสัวเจริญ โดยส่วนตัวผมก็ไม่ได้รู้จักกับท่าน ที่ผมใช้โมเดลธุรกิจโชห่วยที่ไทยเบฟกำลังดำเนินการ เพียงเพราะสอดคล้องกับแนวคิดการปรับตัวของทุนผูกขาดมาเป็นทุนแห่งความร่วมมือเท่านั้นครับ

 กรณีธุรกิจร้านโชห่วย ที่กลุ่มทุนไทยเบฟกำลังวางแผนพัฒนาเป็นธุรกิจร้านสะดวกซื้อชั้นนำในอนาคต แนวคิดอย่างนี้ คือธุรกิจที่ผมให้กำลัง และเป็นความหวัง ที่ปรับจากทุนผู้ขาดที่ผมเองเคยรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับธุรกิจน้ำเมาที่อยู่เหนือธุรกิจชุมชนด้วยกฏหมาย กลายเป็นธุรกิจแห่งความร่วมมือ ที่ไม่ต้องไปหาที่กลางชุมชน อาศัยความได้เปรียบของทุน ในการตักตวงผลกำไรอยู่ฝ่ายเดียว ในเบื้องต้นผมปวารนาตัวเองว่า เจอร้านธุรกิจนี้ที่ไหน ผมจะเข้าไปเพื่อสนับสนุน เพราะชุมชนได้ ทุนได้ ชุมชนเจริญ ธุรกิจของทุนก็เจริญ

ถ้าเอาตัวเลขจากตารางที่นำเสนอมาแล้ว ทุนของเสี่ยเจริญ ก็คงมุ่งสร้างความร่วมมือกับผู้ถือบัญชีเงินฝาก ระหว่าง 1 แสนบาท ถึง 10 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนคนที่ถือบัญชีอยู่ ประมาณ 4 ล้านคน เป้าหมายธุรกิจโชห่วยของไทยเบฟ เพียง 3 หมื่นร้านค้า เท่านั้น ไม่ถึง 1 % ของจำนวนผู้ถือบัญชี 1 แสนถึง 10 ล้านบาท และร้านโชห่วยที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ก็สามารถ จ้างแรงงานในท้องถิ่นได้ถึง 3 แสนคน อย่างน้อย ไทยเบฟก็เป็นพลังในการปลุกกลไกลทางเศรษฐกิจขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง ยิ่งถ้าไทยเบฟ มีนโยบายทำธุรกิจสองทาง คือนอกจากกระจายสินค้าที่มีในมือและจากพันธมิตรสู่ชุมชนแล้วยังใช้ร้านโชห่วยในเครือรวบรวมผลผลิตของชุมชน ขยายตลาดออกไปอีก ก็จะยิ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไปได้อย่างยั่งยืน โมลเดลแห่งธุรกิจสร้างสรร ที่เกิดจากการปรับตัวจากทุนผูกขาดมาเป็นทุนแห่งความร่วมมือ นี้อยากเห็นหลายๆ ทุนใหญ่ภายในประเทศได้ร่วมกันพัฒนาทิศทางที่เป็นธุรกิจแห่งความร่วมมือ ที่จะเกื้อกูลให้เกิดการกระจายรายได้ของประชาชาติ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนของประเทศต่อไป