Think In Truth

7ข้อเท็จจริงหลังกำแพงเพื่อให้สังคมรับรู้ 'ความแออัดของผู้ต้องขัง'



กรมราชทัณฑ์ เปิด“7 ข้อเท็จจริงข้อมูลหลังกำแพงที่อยากให้สังคมรับรู้” ประเดิมด้วย สถานการณ์ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำประเทศไทย

เรื่องที่ 1 : สถานการณ์ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศจำนวน 143 แห่งแบ่งออกเป็นการบริหารราชการส่วนกลางได้แก่เรือนจำกลาง 33 แห่งเรือนจำพิเศษ 4 แห่งทัณฑสถาน 24 แห่งสถานกักกัน 1 แห่งสถานกักขัง 5 แห่งและการบริหารราชการส่วนภูมิภาคได้แก่เรือนจำจังหวัด 50 แห่งเรือนจำอำเภอ 26 แห่ง  (ข้อมูลณวันที่ 1 ตุลาคม 2566) โดยสถิติการรับตัวผู้ต้องขังตลอดปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน191,700คนขณะที่ปล่อยตัวออกจำนวน177,482คนกรมราชทัณฑ์จึงมีผู้ต้องขังสะสมในแต่ละปีจำนวนกว่าสองหมื่นคน (สถิติกองยุทธศาสตร์และแผนงานกรมราชทัณฑ์)

สำหรับความจุมาตรฐานของเรือนจำทั่วประเทศกรมราชทัณฑ์ใช้มาตรฐานอัตราความจุผู้ต้องขัง 1.6 ตรม. ต่อผู้ต้องขัง 1 คนขณะนี้มีพื้นที่นอนรวม 381,930.82 ตรม. สามารถรองรับผู้ต้องขังได้จำนวน 238,580 คนแบ่งเป็นชาย 204,846 คนหญิง 33,744 คน

ข้อมูลจำนวนผู้ต้องขังในปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 272,490 คนแบ่งเป็น

- ชาย 239,795 คน

- หญิง 32,695 คน(ข้อมูลณวันที่ 6 ตุลาคม 2566)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีจำนวนผู้ต้องขังชายเกินอัตราความจุประมาณ 30,000 คน(ที่มา : กองทัณฑวิทยา)

หากพิจารณาอัตราส่วนของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ต้องขังตามหลักมาตรฐานสากล (UNOPS Technical guidanceforprisonplanning)ได้กำหนดอัตราส่วนระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังที่เหมาะสมคือเจ้าหน้าที่ 1 คนต่อผู้ต้องขัง 5 คนกรมราชทัณฑ์จะต้องมีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่กว่า 60,000 คนแต่อัตรากำลังของข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ณเรือนจำ/ทัณฑสถานของประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวน 13,000 คนทำให้เจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทั้งด้านการควบคุมดูแลและแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

กรมราชทัณฑ์ถือเป็นหน่วยงานปลายน้ำที่มิอาจปฏิเสธการรับตัวผู้กระทำผิดไว้ในการควบคุมดูแลแต่ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงกลุ่มคนที่ไม่ควรใช้โทษจำคุกเป็นทางออกตามหลักอาชญาวิทยาการกระทำผิดที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิด(Mala Prohibita) เช่นพรบ.จราจรหรือผู้ต้องขังกลุ่มเปราะบางที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำหลายประเทศใช้วิธีการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก (Community-basedCorrections) เพราะตระหนักดีว่าการใช้โทษจำคุกจะเป็นตราบาปต่อผู้ต้องขังที่ถูกตัดสินจำคุกและไม่ได้เกิดผลดีต่อสังคมในระยะยาวดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือการลดจำนวนผู้ต้องขังขาเข้าและระบายผู้ต้องขังขาออกเพื่อแก้ปัญหานักโทษล้นคุกซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมและแก้ไขผู้ต้องขังเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นและสามารถบรรลุเป้าหมายในการคืนคนดีมีคุณค่าสู่สังคมได้อย่างแท้จริง