In Bangkok

จักกพันธุ์เยี่ยมเขตวัฒนาตรวจคัดแยกขยะ สำรวจสวนริมคลองแสนแสบ-เข้มฝุ่นจิ๋ว



กรุงเทพฯ-รองผู้ว่าฯจักกพันธุ์ สำรวจสวนริมคลองแสนแสบ ลดขั้นตอนงานทะเบียนบัตร เช็กระบบ BMA-TAX ตรวจแยกขยะเขตวัฒนา คุมเข้มฝุ่นจิ๋วไซต์งานทองหล่อ 18 จัดระเบียบผู้ค้าสุขุมวิท 63 ชมคัดแยกขยะ ชุมชนศาลาลอย 

(10 ต.ค.66) นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่เขตวัฒนา เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 

สำรวจสวน 15 นาทีแห่งใหม่ บริเวณท้ายซอยสุขุมวิท 39 ริมคลองแสนแสบ พื้นที่ 365 ตารางเมตร เขตฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ว่างเป็นสวน 15 นาที พร้อมทั้งปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อให้มีความร่มรื่นสวยงาม ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเขตฯ ได้ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง ตามโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียว และกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง บริเวณสวนดังกล่าว 

ตรวจเยี่ยมการให้บริการประชาชนของฝ่ายทะเบียน ภายในศูนย์บริหารราชการ ฉับไวใสสะอาด (Bangkok Fast & Clear : BFC) เขตวัฒนา สอบถามถึงภาพรวมของระยะเวลาในการให้บริการประชาชนที่มาติดต่องานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ตั้งแต่กดรับบัตรคิวจนเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมด ไม่รวมเวลารอคอย ซึ่งควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน 15 นาที โดยขึ้นอยู่กับจำนวนประชาชนที่มารับบริการในแต่ละวัน ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลให้งานบริการเกิดความล่าช้า ประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้งาน โดยให้เขตฯ พิจารณาหาแนวทางลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้วยความรวดเร็ว 

ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA-TAX) ในการจัดเก็บรายได้ เขตฯ มีที่ดิน 25,003 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 53,012 แห่ง ห้องชุด 41,078 ห้อง สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 119,093 รายการ สำรวจครบทั้งหมดแล้ว ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษี ศักยภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI) โดยเน้นย้ำการปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบโปร่งใส เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรายได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามเป้าหมายที่กำหนด 

จากนั้นตรวจเยี่ยมการคัดแยกขยะ สำนักงานเขตวัฒนา มีข้าราชการและบุคลากร 203 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล คัดแยกขยะรีไซเคิลประเภทขวดน้ำพลาสติก โดยนำมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ กิจกรรมขวดแลกผัก กิจกรรมรับซื้อขยะรีไซเคิล กิจกรรมบริจาคขวดเพื่อพี่ไม้กวาด ตั้งถังรองรับขยะรีไซเคิล 2.ขยะอินทรีย์ ตั้งวางถังรองรับขยะอินทรีย์ (ถังไม่เทรวม) ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จัดเก็บทุกวัน เพื่อนำไปทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่สวนป่าเอกมัย นำไปบำรุงรักษาต้นไม้ของเขตฯ 3.ขยะอันตราย ตั้งจุด Drop off ที่บริเวณชั้น 8 หน้าห้องฝ่ายรักษาความสะอาดฯ โดยประชาสัมพันธ์แจ้งให้บุคลากรของเขตฯ และประชาชนที่มาติดต่อราชการ นำขยะอันตรายมาใส่ในตู้จุด Drop Off เพื่อนำส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธี 4.ขยะทั่วไป ตั้งวางถังขยะเพื่อรองรับมูลฝอยไว้ตามชั้นต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ของอาคารจะจัดเก็บรวมขยะทั่วไป และนำไปรวมที่จุดพักขยะของอาคารลิเบอร์ตี้ ชั้น 1 สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 600 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 240 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 20 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 42 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 2 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 8 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 15 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 35 กิโลกรัม/เดือน ขยะติดเชื้อก่อนคัดแยก 2 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 5 กิโลกรัม/เดือน 

ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บจม.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ซอยทองหล่อ 18 สุขุมวิท 55 ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ความสูง 46 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ติดตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำชับผู้ประกอบการเปิดเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำตลอดเวลาในช่วงปฏิบัติงาน ตรวจวัดค่าควันดำรถบรรทุกอย่างสม่ำเสมอ ล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกจากโครงการ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน 

ตรวจความเรียบร้อยการจัดระเบียบผู้ค้าในพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย 30) ซึ่งเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 18 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 175 ราย ดังนี้ 1.ซอยสุขุมวิท 1 ผู้ค้า 5 ราย 2.ซอยสุขุมวิท 17 ผู้ค้า 2 ราย 3.ซอยสุขุมวิท 19 ผู้ค้า 6 ราย 4.ซอยสุขุมวิท 21 (ฝั่งขาออก) ผู้ค้า 10 ราย 5.ซอยสุขุมวิท 21 (ฝั่งขาเข้า) ผู้ค้า 5 ราย 6.ซอยสุขุมวิท 21 (อโศกมนตรี แยก 1) ผู้ค้า 11 ราย 7.ซอยสุขุมวิท 31 ผู้ค้า 14 ราย 8.ซอยสุขุมวิท 33 (ฝั่งซ้าย) ผู้ค้า 20 ราย 9.ซอยสุขุมวิท 39 (ฝั่งซ้าย) ผู้ค้า 6 ราย 10.ซอยสุขุมวิท 39 (ฝั่งขวา) ผู้ค้า 5 ราย 11.ซอยสุขุมวิท 41 ผู้ค้า 5 ราย 12.ซอยสุขุมวิท 57 ผู้ค้า 9 ราย 13.ซอยสุขุมวิท 63 ผู้ค้า 13 ราย 14.ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย 30) ผู้ค้า 29 ราย 15.ถนนสุขุมวิท (หน้าวัดธาตุทอง) ผู้ค้า 11 ราย 16.ซอยสุขุมวิท 65 ผู้ค้า 14 ราย 17.ซอยสุขุมวิท 39 (กลางคืน) ผู้ค้า 1 ราย และ 18.ซอยสุขุมวิท 77 (กลางคืน) ผู้ค้า 9 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ทำการค้า กวดขันไม่ให้มีการตั้งวางสินค้ารุกล้ำเข้ามาในทางเท้า ตลอดจนไม่ให้ตั้งวางโต๊ะและเก้าอี้บริเวณทางเท้า ขอความร่วมมือผู้ค้าให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน รวมถึงพิจารณาหาแนวทางยุบรวมจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้ย้ายมาทำการค้าในจุดเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ต่อไป 

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ชุมชนศาลาลอย ซอยปรีดี พนมยงค์ 26 แยก 8 พื้นที่ 10 ไร่ ประชากร 439 คน บ้านเรือน 117 หลังคา เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะตั้งแต่ ปี  2547 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ ทำปุ๋ยอินทรีย์จากใบไม้แห้ง โครงการไม่เทรวม ขยะเศษอาหารเปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ย 2.ขยะรีไซเคิล ขายน้ำมันเหลือใช้ จัดตั้งธนาคารขยะ 3 ขยะทั่วไป ทิ้งในถังรองรับตามจุดต่างๆ ภายในชุมชน เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครชักลากมูลฝอย นำไปไว้ในจุดพักขยะบริเวณทางเข้าชุมชนศาลาลอย 4.ขยะอันตราย ตั้งจุด Drop off ตั้งวางถังรองรับขยะอันตราย สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 1,920 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 1,720 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 60 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 15 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 3 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 0 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 5 กิโลกรัม/เดือน 

ในการลงพื้นที่วันนี้มี คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตวัฒนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล