Biz news

'บียอนด์ เทรนนิ่ง'ชี้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย 'People Manager'



กรุงเทพฯ-บียอนด์ เทรนนิ่งเผยผลงานวิจัย จาก วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ ฉบับล่าสุด เรื่อง“กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” โดยนักวิชาการไทย พบว่า “หัวหน้างานมือใหม่ให้ความสำคัญกับงานบริหารบุคคลน้อยที่สุด”ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ!เร่งด่วนและเป็นประโยชน์ต่อหัวหน้า ลูกน้องรวมทั้งองค์กรหากต้องการความสำเร็จบียอนด์ เทรนนิ่ง แนะต้องมุ่งเติมเต็มทักษะเสนอแนวทางแก้ไขต้องทำ Assessmentประเมินตัวเอง และCompetency โดยหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานประเมิน นับเป็นสิ่งที่People manager ยุคใหม่จำเป็นต้องมี เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็นพร้อมผ่านหลักสูตร E-Learning หรือ Onsite Classroom เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร...

ภก.คงเกียรติ ฉัตรหิรัญทรัพย์ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บียอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด(Beyond Training) ผู้นำด้านการฝึกอบรมพัฒนาคนในองค์กรชั้นนำของไทยเปิดเผยว่า ในโลกการทำงานยุคใหม่ที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมากมายในแทบทุกมิติ ตำแหน่งหนึ่งในองค์กรที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ นั่นก็คือ ตำแหน่ง “หัวหน้างาน” หรือ “People Manager”เป็นผู้ที่รู้จักลูกทีมและทำงานใกล้ชิดกันมากที่สุด สามารถกระตุ้นหรือโค้ชชิ่งให้ทีมเก่งขึ้น พัฒนาลูกน้องเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดี จนเกิดคำที่ว่า “หัวหน้าดีหรือแย่ให้ดูจากลูกน้อง” แต่ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมากเมื่อผลงานวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” โดย ผศ. ดร.จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร และ ผศ. (พิเศษ) ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ที่ได้ตีพิมพิ์ลงในวารสาร เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2566พบว่า “หัวหน้ามือใหม่ให้ความสำคัญกับงานบริหารบุคคลน้อยที่สุด” ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนและเป็นประโยชน์ต่อหัวหน้า ลูกน้อง รวมไปถึงองค์กรด้วย

ข้อมูลจากการวิจัย  เรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานองค์กร สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (The development competency strategies of personnel to be transformational leaders”) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจยุคใหม่ ในกลุ่มตัวอย่างพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน

ซึ่งผลการวิจัยพบว่าระดับความคิดเห็นของพนักงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อาทิความฉลาดทางอารมณ์ การเป็นแบบอย่างที่ดีการเป็นผู้นำที่ตระหนักรู้ตนเอง การสื่อสารข้ามสายงาน การจัดการทีมงานให้มีประสิทธิภาพ การนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเติบโต ฯลฯ ตามลำดับแต่การบริหารงานในรูปแบบโครงการและการบริหารบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ (HR for Non-HR) อยู่อันดับสุดท้ายวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการบริหารบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด เพราะสมรรถนะในด้านการบริหารบุคลากรที่

มีประสิทธิภาพเป็นการพัฒนาสมรรถนะในตัวพนักงานซึ่งอาจไม่ใช่ผู้รับผิดชอบด้านทรัพยากรบุคคลโดยตรงองค์กรควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ควรคู่กับกิจกรรมการบริหารบุคลากรให้เกิดการพัฒนาตามคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อองค์กรต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน

ภก.คงเกียรติ ฉัตรหิรัญทรัพย์ แนะว่า “การเป็น People Manager ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเพราะมีคนเก่งช่วยกันทำงาน ลดค่าใช้จ่ายในการหาคน ลดการสูญเสียโอกาสในทางธุรกิจ ความขัดแย้งในองค์กรลดลง การประสานงานดีขึ้น เพราะจัดการความหลากหลายได้ดี มีความหวังในการก้าวหน้า มีศักยภาพเพิ่มขึ้น จากการได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยหัวหน้า พนักงานมีความสุขในการทำงาน เพราะหัวหน้างานช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีนั่นเอง”

พร้อมกันนี้ ความสำคัญของPeople Manager มีข้อดีมากมายแต่เป็นที่น่าตกใจว่ายังมีหัวหน้างานอีกมากที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนบทบาทสู่ตำแหน่งนี้ได้ ส่วนหนึ่งอาจเพราะตกหลุมพรางทางความคิด หรือมี Mindset ที่ผิด เช่น คิดว่า “หัวหน้าต้องดูทั้ง KPI และยอดขาย ไม่มีเวลามาใส่ใจเรื่องงานบริหารคน”แต่อย่าลืมว่าผลลัพธ์จากการทำงานมาจากทีมงานทุกคน แต่หากหัวหน้างานพัฒนาทีม สร้างผลงานผ่านทีมผลลัพธ์จะเท่าทวีคูณโตได้เร็วขึ้น ต้องกล้าที่จะติหรือฟีดแบ็คอย่างตรงไปตรงมา ให้ทีมรู้ว่าต้องพัฒนาอะไรเพื่อผลงานออกมาดีหัวหน้าเองก็จะเติบโตต่อไปเป็นอีกขั้นได้

นอกจากนี้ People Manager ที่ดีต้องมี 5 องค์ประกอบหลักคือ  (1.)การตระหนักรู้ในศักยภาพที่ขาดหรือที่ไม่ชำนาญทั้งนี้สำหรับการเป็น People Managerการทำ Assessment ประเมินตัวเองว่าตนเองมีหรือยังไม่มี Competency อะไรที่ People manager ยุคใหม่จำเป็นต้องมี โดยหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานประเมินเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็น ผ่านหลักสูตร E-Learning หรือ Onsite Classroom ผ่านโปรแกรมหลักสูตร เพื่อเติมเต็มทักษะที่ยังขาดอยู่ (2.)การเปลี่ยน Mindsetงานบริหารบุคคลเป็น ความรับผิดชอบ (Accountability)ของหัวหน้า ไม่ใช่เฉพาะของฝ่ายบุคคล หรือHR(3.)Good Practice Makes Perfectหากเรียนรู้แล้วไม่ลงมือทำโอกาสที่ความรู้จะหายไปตามเวลามีสูง (4.)การหา Mentor หรือที่ปรึกษาที่ดีที่สุดเพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เรียนรู้แบบ shortcut (ทางลัด) (5.)การมีการให้และรับ Feedback กับลูกน้องเพื่อสอบถามถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ 

อีกทั้งทักษะที่People Manager ยุคใหม่จำเป็นต้องมีเพื่อสร้างผลลัพธ์และได้ใจลูกทีมมีดังนี้(1.)Effective and Cross Functional Communicationหัวหน้างานต้องมีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดี(2.)Active Listeningหัวหน้างานต้องรับฟังลูกทีมอย่างตั้งใจ เพื่อให้เข้าใจและรับรู้ปัญหาที่แท้จริงเพื่อช่วยเหลือพัฒนาทีมให้เก่งขึ้น(3.)Influential Leadershipการใช้สร้างแรงบันดาลใจสำหรับทีมงานที่ไม่ชอบให้ตีกรอบหรือออกคำสั่ง ค้นหาวิธีการทำงานเพื่อปลุกไฟสร้างแรงกระตุ้นในการทำงาน(4.)Inclusive Leadership หัวหน้าที่ลูกน้องให้เกียรติคือหัวหน้าที่ตรงไปตรงมาไม่มีอคติ ประเมินคนจากผลงานไม่ใช่ความรู้สึก

“ผู้ที่เป็นหัวหน้าต้องประเมินตนเองว่ามีทักษะเหล่านี้ครบแล้วหรือยัง หรือถ้ามีแล้ว สามารถทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน หากผู้บริหารองค์กรต้องการจะยกระดับผู้นำ ปรับ mindset หัวหน้างานให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นหัวหน้างานที่เก่งการบริหารคน (People Manager) ทั้งนี้ Beyond Training ได้รวบรวมทักษะจำเป็นสำหรับการเป็น People Manager ไว้ในโปรแกรมหลักสูตรการพัฒนาหัวหน้าAdaptive Leadership ที่มีทั้งการAssessment สำหรับประเมิน Competency ของหัวหน้างานก่อนเริ่มเรียนรู้ พร้อมกับมาตรฐาน Learning Methodologies ที่หลากหลายรูปแบบทั้ง E-Learning, Workshop class  รวมทั้ง Tools และ Handbook เตรียมพร้อมหัวหน้างานภายใน 90 วันแรกปิดท้ายด้วยการวัดผลพัฒนาศักยภาพผู้นำด้วย Business Assignment Canvas ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยขัดเกลาผู้นำสู่ผู้นำยุคใหม่ ที่เก่งทั้งบริหารงานและบริหารคน พร้อมเผชิญกับความท้าทายต่างๆตลอดเวลาสามารถดูรายละเอียดได้ที่www.Beyondtraining.in.th”ประธานกรรมการฯกล่าวในท้ายสุด