In Bangkok

กทม.ห่วงสุขอนามัยม็อบสมัชชาคนจน ทำตามกรอบ/ข้อเรียกร้องเป็นหน้าที่รัฐฯ



กรุงเทพฯ-(16 ต.ค. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 22/2566 ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ว่า วันนี้เป็นการประชุมคณะผู้บริหาร เพื่อติดตามงาน และอัปเดตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเกี่ยวกับม็อบสมัชชาคนจนที่อยู่ข้างทำเนียบรัฐบาลบริเวณข้างคลองผดุงกรุงเกษม 

จากการลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 ต.ค. 66) พบว่าเป็นพี่น้องประชาชนที่มาจากหลายจังหวัด โดยไม่ได้เป็นการเรียกร้องกับ กทม. แต่เป็นการเรียกร้องกับรัฐบาลเรื่องที่ดินทำกิน สำหรับปัญหาที่พบในพื้นที่ ได้แก่ เรื่องห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งช่วงแรกมีตำแหน่งที่ตั้งใกล้ที่อยู่อาศัย ทำให้มีกลิ่น ประกอบกับมีจำนวนไม่เพียงพอ 

นอกจากนี้ ประชาชนยังได้ร้องขออีก 2 เรื่อง คือ น้ำดื่ม และการดูแลผู้ป่วย จึงได้สั่งการให้ทางสำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักอนามัย นำน้ำดื่มไปเพิ่มบริเวณหัวและท้ายของขบวน เพราะประชาชนค่อนข้างหนาแน่นและมีสภาพอากาศร้อน รวมถึงได้มีการเพิ่มจำนวนรถสุขา จาก 4 คัน เป็น 6 คัน และมีการจัดหน่วยแพทย์เข้าไปช่วยดูแล เบื้องต้นมีคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดบ้าง รวมถึงมีผู้สูงอายุ เด็กนักเรียน ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรจำนวนมากอยู่ด้วย 

“เราพยายามดูแลพี่น้องประชาชนให้ดีที่สุดในกรอบที่เราสามารถทำได้ ทั้งในเรื่องสุขอนามัย การส่งแพทย์เข้าไปดูแล ส่วนเรื่องข้อเรียกร้องต่าง ๆ ไม่ได้เป็นของ กทม. ฉะนั้น การแก้ไขในข้อเรียกร้องจึงต้องเป็นหน้าที่ของทางรัฐบาลในการดูแลต่อไป อย่างไรก็ตาม เราไม่อยากให้อยู่ตรงนี้นาน เพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยอย่างถูกสุขอนามัย มีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งอุณหภูมิที่ค่อนข้างร้อนและฝนตก ทั้งนี้ จะมีการไปตรวจเยี่ยมเป็นระยะว่าพี่น้องที่มาต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 ต.ค. 66) พบว่าเป็นพี่น้องประชาชนที่มาจากหลายจังหวัด โดยไม่ได้เป็นการเรียกร้องกับ กทม. แต่เป็นการเรียกร้องกับรัฐบาลเรื่องที่ดินทำกิน สำหรับปัญหาที่พบในพื้นที่ ได้แก่ เรื่องห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งช่วงแรกมีตำแหน่งที่ตั้งใกล้ที่อยู่อาศัย ทำให้มีกลิ่น ประกอบกับมีจำนวนไม่เพียงพอ 

นอกจากนี้ ประชาชนยังได้ร้องขออีก 2 เรื่อง คือ น้ำดื่ม และการดูแลผู้ป่วย จึงได้สั่งการให้ทางสำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักอนามัย นำน้ำดื่มไปเพิ่มบริเวณหัวและท้ายของขบวน เพราะประชาชนค่อนข้างหนาแน่นและมีสภาพอากาศร้อน รวมถึงได้มีการเพิ่มจำนวนรถสุขา จาก 4 คัน เป็น 6 คัน และมีการจัดหน่วยแพทย์เข้าไปช่วยดูแล เบื้องต้นมีคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดบ้าง รวมถึงมีผู้สูงอายุ เด็กนักเรียน ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรจำนวนมากอยู่ด้วย 

“เราพยายามดูแลพี่น้องประชาชนให้ดีที่สุดในกรอบที่เราสามารถทำได้ ทั้งในเรื่องสุขอนามัย การส่งแพทย์เข้าไปดูแล ส่วนเรื่องข้อเรียกร้องต่าง ๆ ไม่ได้เป็นของ กทม. ฉะนั้น การแก้ไขในข้อเรียกร้องจึงต้องเป็นหน้าที่ของทางรัฐบาลในการดูแลต่อไป อย่างไรก็ตาม เราไม่อยากให้อยู่ตรงนี้นาน เพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยอย่างถูกสุขอนามัย มีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งอุณหภูมิที่ค่อนข้างร้อนและฝนตก ทั้งนี้ จะมีการไปตรวจเยี่ยมเป็นระยะว่าพี่น้องที่มาต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่”