Health & Beauty

‘โรคกระดูกพรุน’ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์รพ.วิมุตแนะตรวจก่อนกระดูกพรุน



กรุงเทพฯ-ในสมัยที่เราเป็นวัยรุ่นไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก็ทำได้อย่างเต็มที่เพราะร่างกายยังมีความแข็งแรงคล่องแคล่วว่องไวชนหรือหกล้มอะไรนิดๆหน่อยๆก็ยังไม่มีปัญหาแต่เมื่อเริ่มอายุมากขึ้นการบาดเจ็บจากการชนหรือล้มก็ดูจะรุนแรงขึ้นกว่าที่เคยซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของ‘โรคกระดูกพรุน’ที่ส่งผลให้กระดูกของเราไม่แข็งแรงและหากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอาจถึงขั้นกระดูกหักได้ง่ายๆวันนี้พญ. อติพรเทอดโยธินศัลยแพทย์กระดูกและข้อศูนย์กระดูกและข้อรพ.วิมุตผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกพรุนเเละการดูเเลกระดูกเเละกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุจากอังกฤษเเละเวชศาสตร์การชะลอวัยจากสหรัฐอเมริกาจะมาเล่าถึงความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนพร้อมแนะนำวิธีป้องกันและแนวทางการรักษาเพื่อเสริมสร้างร่างกายและกระดูกที่แข็งแรงตามวัยพร้อมใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ในทุกๆวัน

โรคกระดูกพรุนภัยเงียบที่ทุกคนเป็นได้!

โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุเกิดจากการที่มวลกระดูกในร่างกายลดลงส่งผลให้กระดูกบางลงและไม่แข็งแรงเหมือนเดิมถึงขั้นที่ว่าแค่ล้มเบาๆหรือยกของหนักก็ทำให้กระดูกหักได้พญ. อติพรเทอดโยธินอธิบายว่าโรคกระดูกพรุนมักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย“ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนประมาณ 33% ส่วนเพศชายจะอยู่ประมาณ 20% โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเพราะกระดูกของผู้หญิงมีขนาดเล็กกว่า และเมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงที่ช่วยยับยั้งการสลายตัวของกระดูกจะลดลงส่งผลให้กระดูกสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว”

กระดูกพรุน-กระดูกเสื่อมต่างกันอย่างไร

ในผู้สูงอายุยังมีอีกโรคหนึ่งที่มักพบเจอได้บ่อยๆนั่นคือโรคกระดูกเสื่อมซึ่งมีความแตกต่างจากโรคกระดูกพรุนตรงที่จะทำให้เรารู้สึกปวดหรือเคลื่อนไหวได้ลดลงตรงข้อที่มีการเสื่อมสภาพส่วนโรคกระดูกพรุนนั้นทำให้กระดูกบางลงคุณภาพเเละความเเข็งเเรงของกระดูกลดลงมีผลให้กระดูกต่างๆในร่างกายหักง่ายโดยอาจไม่มีสัญญาณเตือนใดๆมาก่อนเลยจริงๆแล้วนอกจากผู้สูงอายุโรคกระดูกทั้งสองสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีกเช่นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือผู้ป่วยที่ใช่ยาประเภทสเตียรอยด์เป็นต้น

โรคกระดูกพรุนป้องกันได้อย่าละเลยจนอาการหนัก

โรคกระดูกพรุนเกิดจากการที่มวลกระดูกของเราลดลงซึ่งการป้องกันนั้นเริ่มต้นจากการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นคือรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเฉพาะโปรตีนแคลเซียมฟอสฟอรัสวิตามินดี เเละออกกำลังกายให้เพียงพอและดูแลไม่ให้น้ำหนักอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) พร้อมหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเช่นดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่โดยพญ. อติพรเทอดโยธินอธิบายเสริมว่า“โรคกระดูกพรุนถือว่าเป็นภัยเงียบเพราะไม่มีการแสดงอาการใดๆเลยรู้ตัวอีกทีก็อาจเป็นตอนที่ล้มกระดูกหักไปแล้วเราจึงต้องไปตรวจคัดกรองโดยเฉพาะเมื่อถึงช่วงวัยที่เสี่ยงคือหลังหมดประจำเดือนหรืออายุ 65ปีขึ้นไปยิ่งถ้ามีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงอื่นๆ ก็ควรมาตรวจตัดกรองเร็วขึ้น การวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนจะใช้เครื่องDual X-ray Absorptiometry (DXA) เพื่อหามวลกระดูกตรวจVertebral Fracture Assessment (VFA) ซึ่งเป็นการตรวจหาภาวะกระดูกสันหลังหักยุบควบคู่กับการซักประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อคำนวณหาFRAX Score ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนในอีก 10 ปีข้างหน้าหากผลการตรวจออกมาว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็จะได้รับการรักษาต่อไปตามความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย”

แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนก่อนเกิดอันตรายร้ายแรง

สำหรับคนที่มีภาวะกระดูกบางแต่ยังไม่ถึงขั้นกระดูกพรุนแพทย์รพ.วิมุตแนะนำว่าสามารถรักษาได้ด้วยตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์และหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมป้องกันการหกล้ม ทำกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อเสริมระดับวิตามินดีในร่างกายควบคู่ไปกับการรับประทานแคลเซียม และวิตามินดีเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนในกรณีที่มีการใช้ยาที่มีผลต่อมวลกระดูกเช่น ยาประเภทสเตียรอยด์หรือยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

ถ้าหากพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วการรักษาก็จะเป็นไปตามความรุนแรงของโรคโดยเริ่มจากการปรับอาหารการออกกำลังกายเเละไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสมพร้อมกับการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุนร่วมด้วยซึ่งตัวยาจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือยาเพิ่มการเสริมสร้างกระดูกและยายับยั้งการสลายกระดูกทั้งนี้ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดตลอดการใช้ยาและการรักษา

“แม้ว่าโรคกระดูกพรุนจะพบมากในผู้สูงวัยแต่สิ่งที่เราทำได้ตั้งแต่เนิ่นๆคือการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงไว้ตั้งแต่วัยรุ่นและหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปีโดยไม่ต้องรอให้เจ็บหนักหากพบว่ามีความเสี่ยงหรือเป็นโรคกระดูกพรุนจะได้รักษาได้ทันเวลาเพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดีและมีความสุขได้ในทุกๆวัน”พญ. อติพรเทอดโยธินกล่าวทิ้งท้าย

ผู้ที่สนใจต้องการปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลวิมุตสามารถติดต่อได้ที่ชั้น 4 ศูนย์กระดูกและข้อหรือโทรนัดหมาย 02-079-0060 เวลา 08.00-20.00 น.