In Thailand
ชาวสวนยางกาญจน์เตรียมยื่นหนังสือถึง 'ธรรมนัส'รับบุกเมืองกาญจน์29 ต.ค.นี้
กาญจนบุรี-เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เตรียมยื่นหนังสือถึง รมต. ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่จะลงพื้นที่ 29 ต.ค. 66 นี้ ตรวจสอบปัญหายาพาราเพื่อนบ้านเข้ามาส่งผลกระทบในไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ เร่งดำเนินการปราบปรามยาพาราเถื่อนที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (เมียนมา) ลักลอบเข้ามาจำหน่ายในฝั่งไทยได้ราคาสูงกว่า โดยลักลอบผ่าน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ดังนั้นในวันที่ 29 ต.ค.66 ร้อยเอก ธรรมมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และทางกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จึงได้เตรียมยื่นหนังสือกับรัฐมนตรี โดยมีนายระพี ชำนาญเรือ
เป็นตัวแทนผู้ประสานงานให้กับเกษตรกรฯ รวมถึงช่วยดำเนินการดูแลเอกสารเรื่องนี้ให้กับเกษตรกรฯ เพื่อยื่นต่อรัฐมนตรีฯ ในครั้งนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายระพี ชำนาญเรือ เป็นผู้ประสานงานเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการรับซื้อยางพารา และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ชาวอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากทางโรงงานแจ้งว่าโดนเจ้าหน้าที่กลั่นแกล้งหลังมีการอายัดยางพารา ของผู้ประกอบการรับซื้อยางพาราในพื้นที่ ล่าสุดทางโรงงานได้นำยางพาราเพื่อส่งไปยังแหล่งรับซื้อ แต่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมระหว่างการนำยางพารา และจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่แล้วพบว่า ยางพาราทั้งหมดโรงงานรับซื้อยางพาราถูกต้อง แต่ทางเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่อนุญาตให้ทางโรงงานรับซื้อยางนำยางออกไปจำหน่าย
จนทำให้ทางโรงงานเดือดร้อน เนื่องจากในช่วงนี้ใกล้วันหยุดของเทศกาลออกพรรษา เกษตรกรผู้ปลูกยาง และแรงงาน ซึ่งทางโรงงานจะต้องจ่ายเงินให้กับกลุ่มเกษตรกร และแรงงาน หากทางโรงงานไม่ได้นำยางไปจำหน่าย ก็ไม่สามารถจะหาเงินมาจ่ายให้กับกลุ่มเกษตรกรและแรงงานได้
ซึ่งโรงงานแห่งนี้ มีใบอนุญาตค้ายางพาราถูกต้องทุกประการ โดยวัตถุประสงค์ ที่ระบุในใบอนุญาต ประกอบด้วย 1.ค้ายาง เพื่อ ซื้อมา ขายไปภายในประเทศ 2. ค้ายาง เพื่อตั้งโรงทำยาง 3. ค้ายาง เพื่อการส่งยางออกไปนอกราชอาณาจักร 4. ค้ายาง เพื่อนำยาง เข้ามาในราชอาณาจักร และใบอนุญาตให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 21 ม.ค. 2567
นายฐิติพงศ์ สุวรรณคุ้ม เจ้าของ บริษัท จำกัด ฐิติพงศ์การยาง เลขที่ 258/9 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่าได้รับซื้อยางจากเกษตรกรแล้วไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้จึงเกิดปัญหาความเดือีร้อนมากเพราะไม่มีทุนหมุนเวียนมากพอ ยางที่ถูกอายัดมีประมาณ 300 ตัน และยังมียางแผ่นอีกจำนวนหนึ่ง มีทั้งยางเก่าที่ตกค้างบางส่วนช่วงนี้จะต้องเร่งระบายสินค้าออกไป เพราะอยู่ในช่วงการผลิตอยู่ และคิดว่าเกิดเหตุการเช่นนี้น่าจะเป็นการโดนกลั่นแกล้ง และขอฝากไปถึงรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ธรรมนัส พรหมเผ่า ฝากให้ท่านช่วยดูแลเกษตรกรสวนยางพารา และผู้ประกอบการยางพาราชาวอำเภอสังขละบุรีด้วย
นายระพี ชำนาญเรือ ผู้ประสานงาน และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ได้กล่าวว่า ที่ตนเองได้รับการประสานของความช่วยเหลือจากกลุ่มผู้ประกอบการรับซื้อยางพารา แล้วโดนจับกุมบริเวณด่านอำเภอทองผาภูมิ จึงได้เข้ามาตรวจสอบในการตรวจยึดยางพาราทั้งหมดว่าเป็นเช่นไรถูกต้องหรือไม่ และมีเจ้าหน้าที่จับกุมได้แจ้งให้มีการนำหลักฐานมาแสดง เมื่อนำไปแสดงเอกสารถูกต้อง และได้รับแจ้งจากทางกลุ่มรับซื้อยางอีกว่าเวลานี้ได้มีกลุ่มเจ้าหน้าที่อีกกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปตรวจสอบในโรงงานในอำเภอสังขละบุรี โดยมีการอายัดยางพาราทั้งหมด เจ้าหน้าที่แจ้งว่าสืบเนื่องจากที่มีการตรวจยึดรถบรรทุกที่ด่านอำเภอทองผาภูมิ จึงได้มีการตรวจสอบที่โรงงานต้นทาง ทางผู้ประกอบการต้องการความชัดเจนว่าการเข้ามาตรวจยึดนั้นมีอะไรหรือไม่ ตนเองจึงขอให้ทางนายอำเภอสังขละบุรี ส่งเจ้าหน้าที่มาเป็นสักขีพยานการตรวจสอบด้วย ทั้งหมดทั้งมวล คาดว่าน่าจะเป็นการสร้างความรับรู้ของการรับซื้อหรือขายยางพารา ให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องมีการกระชาสัมพันธ์หรือการรับรู้ในเรื่องของการรับซื้อยางพารา เราต้องยอมรับว่าสังขละบุรี ติดแนวชายแดนเพื่อนบ้าน หน่วยงานราชการจึงต้องออกมาเข็มงวด เพราะเกรงว่าอาจจะมีการนำยางจากเพื่อนบ้านนำเข้ามาไม่ถ฿กต้องตามกระบวนการได้ แล้วมาทำลายการตลอดในประเทศได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องเอาความจริงมาพูดกันว่าวิถีชาวบ้าน กับกลไกลจะต้องปฏิบัติแบบใด ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วหลังจากนี้ตนเองจะทำหนังสือทั้งหมดยื่นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเดินทางลงมาตรวจเยี่ยม สอบแก้ไขปัญหาในอำเภอสังขละบุรี ชาวบ้านจึงได้มอบให้ตนเองเป็นผู้มอบหนังสือปัญหาต่างๆ กับท่านรัฐมนตรีด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องลับที่ยังไม่สามารถจะเปิดเผยได้ เพื่อคล้ายปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง
สำหรับปัญหายางพาราที่มีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาในประเทศไทย ส่งผลกระทบกับเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ได้หาวิธีป้องกันมาตลอดเวลาโดยเฉพาะการผ่านด่านพรมแดน ด่านศุลกากรสังขละบุรี เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสังขละบุรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเฉพาะกิจลาดหญ้า ซึ่งจัดชุดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านพระเจดีย์สามองค์ ซึ่งนำยางมาขายสู่โรงงาน มีทั้งยางพาราแผ่น และยางพาราแบบถ้วย จากการสำรวจของเกษตรกรชาวบ้านพระเจดีย์สามองค์ ยางแผ่นมีจำนวน 240 กิโลกรัม ยางพาราถ้วย 480 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า จำนวนยางพาราที่ผ่านพรมแดนด่านสังขละบุรี ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามี จำนวน 16,244 ตัน
....................