In Global

สถาบัน FII มีมติลดความเหลื่อมล้ำด้าน การลงทุน5.4ล้านล้านในตลาดเกิดใหม่



ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย, 27 ตุลาคม 2566ในการประชุมสุดยอดระดับโลกของสถาบันโครงการลงทุนเพื่ออนาคต (Future Investment Initiative) หรือ FII ที่กรุงริยาด บรรดาผู้นำและนักลงทุนได้มีมติจัดการกับข้อบกพร่องด้าน ESG โดยอาศัยข้อมติเพิ่มการลงทุนด้าน ESG ในตลาดเกิดใหม่ (Resolution to Increase ESG Investment in Emerging Markets)

ข้อมติเพิ่มการลงทุนด้าน ESG ในตลาดเกิดใหม่ที่ว่านี้ เป็นผลพวงจากการที่ทางสถาบัน FII เรียกประชุมผู้นำและนักลงทุนจากตะวันตก ตะวันออก และซีกโลกใต้ เพื่อร่วมดำเนินการรับมือกับความไม่เสมอภาคในกรอบการดำเนินงาน ESG ในปัจจุบัน

ตลาดเกิดใหม่ประกอบด้วยประชากร 86% ของโลก และมี GDP คิดเป็นสัดส่วน 58% ของทั้งโลก แต่ได้รับการลงทุนด้าน ESG ไม่ถึง 10% โดยกลไกผลักดันการเติบโตในอนาคตนี้ยังห่างไกลจากระดับที่จำเป็นเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน และไม่เพียงพอที่จะบรรลุช่องว่างการลงทุน 2.5-3.7 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจำเป็นในการเดินหน้าตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDG) ของสหประชาชาติในประเทศกำลังพัฒนาด้วย

จากข้อจำกัดในปัจจุบันเกี่ยวกับเครื่องมือข้อมูลด้าน ESG ที่ประชุมจึงมีมติเรียกร้อง ดังต่อไปนี้

  • ความมุ่งมั่นจากพันธมิตรของสถาบัน FII ในการดำเนินการด้าน ESG แบบครอบคลุม โดยมีเป้าหมายในการเพิ่ม AUM ในตลาดเกิดใหม่เป็น 30% ของพอร์ตการลงทุนด้านความยั่งยืนทั่วโลกภายในปี 2573
  • เร่งใช้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนระดับสากลอย่างเร่งด่วนในตลาดเกิดใหม่และตลาดที่พัฒนาแล้ว
  • ผลักดันการเปิดตัวมาตรฐานของคณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนระหว่างประเทศ (International Sustainability Standards Board) อย่าง IFRS-1 และ IFRS-2 ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาความครอบคลุมด้าน ESG และคุณภาพข้อมูล
  • ผู้มีส่วนร่วมในตลาดต้องรายงานและให้ข้อมูลที่โลกต้องการ เพื่อให้ตัดสินใจเลือกการลงทุนได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สถาบัน FII จะยังคงใช้อำนาจในการชักจูงเพื่อส่งเสริมวาระ ESG แบบครอบคลุมในการประชุมสุดยอดไพรออริตี (PRIORITY Summit) ทั่วโลก เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลและภาคการเงินภาคเอกชนรับมือกับความท้าทายนี้

คุณริชาร์ด แอตเทียส (Richard Attias) ซีอีโอของสถาบัน FII กล่าวว่า

"ความโน้มเอียงในการจัดอันดับด้าน ESG ที่ได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ ของโลก กำลังแย่งชิงเงินจำนวนหลายล้านล้านดอลลาร์ไปจากตลาดกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เครื่องมือข้อมูล ESG ที่มีอยู่มักมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ทำให้เอื้อต่อตลาดพัฒนาแล้วมากกว่า โดยการบรรลุวัตถุประสงค์ดั้งเดิมในการขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นนั้น จำเป็นต้องสร้างความไม่แบ่งแยกในวงกว้างเพื่อให้ ESG เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อทุกประเทศ ทุกภูมิภาค และทั่วโลก"