In News
เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกันยายน66ยังปัง! อานิสงส์ท่องเที่ยวทำขยายตัวทุกภูมิภาค
กรุงเทพฯ-เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีในทุกภูมิภาค และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีในภาคใต้ และภาคเหนือ
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน 2566 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีในทุกภูมิภาค และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีในภาคใต้ และภาคเหนือ” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.9 6.5 และ 3.3 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัวร้อยละ -13.5 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -17.1 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.0 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 60.3 และ 36.4 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 5.3 1.1 และ 14.6 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 97.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 7.6 และ 23.4 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.6 และ 12.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -15.4 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 91.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.4 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 16.5 และ 24.4 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวขยายตัวได้ อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 1.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -25.3 และ -11.2 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 1.2 และ 11.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 2,572.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1,520.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ และอะไหล่ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุโลหะ วัสดุก่อสร้าง และสินค้าทั่วไป ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ อุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.5 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 19.2 และ 37.5 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรชะลอตัวร้อยละ -1.9 และ -1.6 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 1.9 และ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ส่วนจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 18.9 ต่อปี เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 3,874.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 148.0 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติก ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.5 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 28.4 และ 76.7 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -2.6 และ -12.4 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 18.5 และ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 1,505.9 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1,503.7 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ในจังหวัดเพชรบุรี เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.5 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 20.1 และ 29.0 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนกันยายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 29.3 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.6 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 14,596.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 251.7 ต่อปี ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 80.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.5 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 51.7 และ 98.2 ต่อปี ตามลำดับ