In Global

บทวิเคราะห์: CIIE การส่งเสริมการพัฒนา ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันทั่วโลก



งานแสดงสินค้านำเข้านานาชาติแห่งประเทศจีน ( China International Import Expo) หรือ CIIE ครั้งที่ 6 ซึ่งมีพิธีเปิดที่นครเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลายเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่ประชาคมโลกสนใจ ในฐานะนิทรรศการระดับชาติในธีมการนำเข้าครั้งแรกของโลก งานแสดงสินค้านี้อัดฉีดพลังงานใหม่ให้กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระดับโลกและยังส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของทั่วโลก 

งาน CIIE แสดงให้เห็นถึงความจริงใจและปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมของจีนในการเปิดตลาดสู่โลกภายนอก และได้รับการขนานนามว่าเป็น “ประตูทอง” สู่ตลาดจีน งาน CIIE 5 ครั้งที่ผ่านมา มี 131ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศมาร่วม “นิทรรศการประเทศ”  มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และบริการใหม่ ๆ ประมาณ 2,000 รายการ และมีการซื้อขายตามข้อตกลงเกือบ 350,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในจดหมายถึงงานแสดงสินค้าครั้งนี้เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเน้นย้ำหวังว่า CIIE จะสามารถเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสาธารณะระดับนานาชาติที่มีการแบ่งปันกันทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง และทำให้นานาประเทศต่างได้ประโยชน์จากความร่วมมือและมีชัยชนะร่วมกัน 

งาน CIIE ครั้งนี้ดึงผู้เข้าร่วมจาก 154 ประเทศ ภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศ มีบริษัทและผู้นำในอุตสาหกรรมที่ติด 500 อันดับแรกของโลกที่จัดโดยนิตยสารฟอร์จูนเกือบ 20 บริษัท วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่า 500 รายลงทะเบียนเข้าร่วมนิทรรศการเป็นครั้งแรก มีผู้ร่วมแสดงสินค้ามากกว่า 3,400 รายและผู้เข้าชมมืออาชีพ(professional visitor) เกือบ 410,000 คนได้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ซึ่งถือว่าได้กลับคืนสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างสมบูรณ์ พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเชิงพาณิชย์มีประมาณ 367,000 ตารางเมตร และจำนวนบริษัทเข้มแข็งที่ติด 500 อันดับแรกของโลกและบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆที่เข้าร่วมนิทรรศการปีนี้มีถึง 289 บริษัท ซึ่งต่างก็มากกว่างานครั้งก่อนๆ มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และบริการใหม่ ๆ มากว่า 400 รายการในงานแสดงสินค้าครั้งนี้ 

ไม่ว่าประเทศใหญ่หรือประเทศเล็ก วิสาหกิจขนาดใหญ่หรือบริษัทขนาดเล็ก ต่างก็สามารถค้นพบ “ช่องทางด่วน”สำหรับการเข้าตลาดจีนได้ที่งาน CIIE  จีนส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์จากประเทศด้อยพัฒนาที่สุดให้เข้าสู่ตลาดจีนด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งรวมถึงการให้บูธขนาดมาตรฐานฟรีเพื่อจัดแสดงสินค้า งาน CIIE ที่จัดมาแล้ว 5 ครั้ง สามารถดึง 43 ประเทศด้อยพัฒนาที่สุดให้คัดเลือกวิสาหกิจเข้าร่วมนิทรรศการ  งานครั้งนี้จีนก็ยังคงสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประเทศด้อยพัฒนาที่สุดต่อไป โดยเสนอบูธฟรีทั้งหมด 94 บูธให้กับวิสาหกิจมากกว่า 100 ราย จาก 30 ประเทศด้อยพัฒนาที่สุด  

งาน CIIE เป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนว่าจีนเปิดประตูสู่โลกภายนอกกว้างขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสามส่วนหลักของงานนี้อันได้แก่  “นิทรรศการประเทศ”  “นิทรรศการวิสาหกิจ” และ“ฟอรั่มหงเฉียว”  ล้วนมีลักษณะแบบเปิดกว้างที่แตกต่างกันออกไป โดย“นิทรรศการประเทศ”เชิญชวนประเทศต่างๆ ทั่วโลกแสดงภาพลักษณ์ของชาติทุกด้านและส่งเสริมการเปิดกว้างและความร่วมมือทั่วโลก นิทรรศการ  “นิทรรศการวิสาหกิจ”แสดงให้ทั่วโลกเห็นถึงเสน่ห์แห่งการเปิดกว้างของตลาด ส่วน“ฟอรั่มหงเฉียว” เน้นการสร้างฉันทามติมากขึ้นในการส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ การเปิดกว้างและความร่วมมือระดับโลก 

ขยายการนำเข้าอย่างแข็งขัน ผ่อนคลายเงื่อนไขการเข้าถึงตลาดจีนอีกระดับ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการสร้างนวัตกรรมและการร่วมแบ่งปันผลสำเร็จกับทุกฝ่าย ฯลฯ ในโอกาสที่ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 45 ปีการปฏิรูปและการเปิดประเทศ  จีนได้ให้คำมั่นสัญญาใหม่เกี่ยวกับการเปิดประเทศ และกำลังใช้ความพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อร่วมแบ่งปันโอกาสทางการตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษมีประชากรมากกว่า 1,400 ล้านคนกับนานาประเทศ  ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาด้วยปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม และส่งเสริมการพัฒนาที่เปิดกว้างและเป็นประโยชน์ร่วมกันทั่วโลก 

“CIIE ช่วยให้เราเห็นโอกาสใหม่ๆ ในตลาด” ได้กลายเป็นเสียงสะท้อนร่วมกันของผู้ร่วมแสดงสินค้ามากมาย
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยได้ให้มุมมองว่า งาน CIIE สื่อถึงความมุ่งมั่นของจีนที่จะดำเนินการเปิดกว้างสู่โลกภายนอกต่อไป แสดงให้เห็นอย่างเต็มที่ถึงความตั้งใจของทุกฝ่ายในการขยายความร่วมมือ และได้นำมาซึ่งโอกาสในการแสดงศักยภาพและความสามารถอย่างเต็มที่ให้กับวิสาหกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากทั่วโลกซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย 
-----------------------
เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)