In Bangkok
'จักกพันธุ์'เข้าชมคัดแยกขยะเซ็นเตอร์วัน ผุดสวน15นาทีแยกมิตรสัมพันธ์ราชเทวี
กรุงเทพฯ-รองผู้ว่าฯจักกพันธุ์ ชมคัดแยกขยะเซ็นเตอร์วันแปลงเศษอาหารเป็นปุ๋ยปลูกผัก ผุดสวน 15 นาทีแยกมิตรสัมพันธ์ จัดระเบียบผู้ค้าราชปรารภ 8 กางมาตรการเข้มคุมฝุ่นจิ๋วไซต์งานแสนสิริ ติดตามแยกขยะเขตราชเทวี
(28 พ.ย.66) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตราชเทวี ประกอบด้วย
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์วัน เป็นอาคารสูง 8 ชั้น พื้นที่ 6,000 ตารางเมตร เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ คัดแยกขยะเศษอาหารนำไปทำปุ๋ย โดยเครื่อง Wastegetable Machine เพื่อใส่แปลงผักบนดาดฟ้าของห้างฯ 2.ขยะรีไซเคิล แม่บ้านนำลังกระดาษกลับมาใช้ซ้ำ และแยกขายให้คนรับซื้อของเก่า ส่วนขวดน้ำพลาสติกแยกออกจากขยะทั่วไป นำไปขายกับคนรับซื้อของเก่า 3.ขยะทั่วไป รถขยะของเขตฯ จัดเก็บทุกวัน 4.ขยะอันตราย รถขยะของเขตฯ จัดเก็บทุกอาทิตย์ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปหลังคัดแยก 620 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 20-40 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 45 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 6 กิโลกรัม/เดือน
สำรวจสวน 15 นาที บริเวณแยกมิตรสัมพันธ์ ถนนเพชรบุรี พื้นที่ 100 ตารางเมตร กรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เขตฯ ประสานใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่สีเขียวใกล้บ้านได้ภายใน 15 นาที หรือระยะทางในการเดิน 800 เมตร โดยดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปูพื้นด้วยแผ่นหิน จัดวางเก้าอี้นั่งพักผ่อน เปิดให้ประชาชนใช้บริการแล้ว นอกจากนี้ เขตฯ จะดำเนินการจัดสวน 15 นาที บริเวณใต้สะพานข้ามแยกประตูน้ำ พื้นที่ 80 ตารางเมตร อยู่ระหว่างการออกแบบสวน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อจัดทำสวน 15 นาที ออกแบบให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในชุมชน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับอย่างแท้จริง
ตรวจความเป็นระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณถนนราชปรารภ ซอยราชปรารภ 8 เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 21 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 577 ราย ดังนี้ 1.ราชวิถี 15 ปากซอยราชวิถี 15 ถึงทางเข้าโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ผู้ค้า 29 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 2.ซอยเสนารักษ์ ปากซอยโยธี ถึงทางเข้าโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ผู้ค้า 120 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. และซอยเสนารักษ์ (กลางคืน) ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 3.ซอยรางน้ำ ทางเข้าโลตัสเอ็กซ์เพรส ถึงทางเข้าบิโซเทล พรีเมียร์ ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. และซอยรางน้ำ (กลางคืน) ผู้ค้า 18 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 4.เกาะราชวิถี ปากซอยราชวิถี 13 ถึงท้ายซอยราชวิถี 13 ผู้ค้า 36 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-22.00 น. และเกาะราชวิถี (กลางคืน) ปากซอยราชวิถี 11 ถึงท้ายซอยราชวิถี 13 ผู้ค้า 6 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 5.อนุสาวรีย์ชัย ฝั่งเซเวียร์ หลังศาลาที่พักผู้โดยสารเกาะพหลโยธิน ผู้ค้า 15 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 6.ปากซอยราชวิถี 12 ตั้งแต่ปากซอยราชวิถี 12 ถึงซอยราชวิถี 18 ผู้ค้า 26 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 7.อนุสาวรีย์ชัย เกาะพหลโยธิน ผู้ค้า 78 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 8.หน้าองค์การเภสัชกรรม ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่หน้าองค์การเภสัชกรรม ถึงสถาบันสุขภาพจิตเด็ก ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 9.ซอยโยธี ตั้งแต่ประตู 1 โรงพยาบาลราชวิถี ถึงปากซอยโยธี ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-14.00 น. 10.อนุสาวรีย์ชัย เกาะดินแดง เชิงสะพานพหลโยธิน ถึงเชิงสะพานข้ามคลองสามเสน ผู้ค้า 22 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. 11.กรมปศุสัตว์ หน้าไปรษณีย์ ถึงทางเข้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 12.สะพานหัวช้าง หน้าสภาคริสตจักร ถึงอาคารเอเวอร์กรีน ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. และสะพานหัวช้าง (กลางคืน) ผู้ค้า 4 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 13.หน้าคิวคอนโด ถนนเพชรบุรี ผู้ค้า 7 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 14.MRT เพชรบุรี ข้างสถานีรถไฟฟ้า MRT ถึงท่าเรืออโศก ผู้ค้า 24 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. และ MRT เพชรบุรี (กลางคืน) ตั้งแต่ MRT ประตู 2 ถึง MRT ประตู 3 ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 15.ถนนราชปรารภ ซอยราชปรารภ 8 ถึงแยกประตูน้ำ ผู้ค้า 30 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. 16.แยกมิตรสัมพันธ์ ตั้งแต่แยกมิตรสัมพันธ์ ถึงสะพานข้ามคลองแสนแสบ ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-17.00 น. และแยกมิตรสัมพันธ์ (กลางคืน) ปากทางเข้าชุมชนโรงเจ ถึงหน้าอู่ศรีไพรแอร์ ผู้ค้า 10 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 17.ถนนบรรทัดทอง (กลางคืน) แยกซอยพญานาค ถึงสะพานเจริญผล ผู้ค้า 16 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 18.หน้าอาคารเอเวอร์กรีน (กลางคืน) ตั้งแต่หน้าอาคารเอเวอร์กรีน ถึงแยกราชเทวี ผู้ค้า 20 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 19.หน้าโรงเรียนเซนต์ดอมินิก (กลางคืน) ประตู 4 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก ถึงอาคาร RASA TWO ผู้ค้า 6 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. 20.ซอยเพชรบุรี 39-41 (กลางคืน) ปากซอยเพชรบุรี 39 ถึงสนามฟุตบอล GREEN PARK ผู้ค้า 5 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. และ 21.ราชปรารภ 8 (กลางคืน) ตั้งแต่ร้านอินเดียฟู๊ดส์ ถึงหน้าอพาร์ทเม้นท์ ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-22.00 น. ซึ่งเขตฯ เสนอเป็นพื้นที่ทำการค้า จำนวน 4 จุด ได้แก่ 1.ราชวิถี 15 ผู้ค้า 29 ราย 2.ซอยเสนารักษ์ ผู้ค้า 120 ราย ซอยเสนารักษ์ (กลางคืน) ผู้ค้า 11 ราย 3.ซอยรางน้ำ ผู้ค้า 14 ราย ซอยรางน้ำ (กลางคืน) ผู้ค้า 18 ราย 4.สะพานหัวช้าง ผู้ค้า 11 ราย สะพานหัวช้าง (กลางคืน) ผู้ค้า 4 ราย ส่วนในปี 2567 เขตฯ จะดำเนินการยกเลิกหรือยุบรวมจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนราชปรารภ ซอยราชปรารภ 8 ถึงแยกประตูน้ำ ผู้ค้า 30 ราย 2.ราชปรารภ 8 (กลางคืน) ตั้งแต่ร้านอินเดียฟู๊ดส์ ถึงหน้าอพาร์ทเม้นท์ ผู้ค้า 12 ราย
ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้พูดคุยสร้างความเข้าใจกับผู้ค้าให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า เพื่อคืนทางเท้าให้ประชาชนใช้ในการเดินทางสัญจรได้สะดวกและปลอดภัย นอกจากนี้ได้กำชับร้านค้าไม่ให้ตั้งวางสินค้ายื่นเกินออกมาภายนอกร้าน โดยให้ขยับเข้าไปด้านในร้านทั้งหมด พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ กวดขันผู้ค้าในจุดอื่นๆ ไม่ให้ตั้งวางสิ่งของรุกล้ำแนวเส้นที่กำหนด ขอความร่วมมือผู้ค้าให้เก็บอุปกรณ์และทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน รวมถึงพิจารณาหาแนวทางยุบรวมพื้นที่ทำการค้าที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย ให้ย้ายเข้ามาทำการค้าในจุดเดียวกัน โดยจัดหาพื้นที่ใกล้เคียงกับจุดทำการค้าเดิม หรือพื้นที่ Hawker Center ในจุดที่เหมาะสมต่อไป
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 คอนโดมิเนียมแสนสิริ ถนนพญาไท เป็นการก่อสร้างอาคารพักอาศัย ความสูง 32 ชั้น ชั้นใต้ดิน 6 ชั้น เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักการโยธา ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 อย่างเคร่งครัด ฉีดล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกจากโครงการ ตรวจวัดควันดำรถบรรทุก ซึ่งรถมีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะได้รับสติ๊กเกอร์ติดบริเวณด้านหน้ารถ นอกจากนี้ได้มอบหมายให้เขตฯ จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่อง ควบคุมสถานประกอบการไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน
พร้อมกันนี้ได้สอบถามถึงการคัดแยกขยะเขตราชเทวี มีข้าราชการและบุคลากร 429 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล ทุกฝ่ายคัดแยกเศษกระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก แม่บ้านรวบรวมไว้จำหน่ายให้คนรับซื้อของเก่า 2.ขยะอินทรีย์ ทุกฝ่ายมีถังขยะรองรับเศษอาหาร ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ รวบรวมขยะเศษอาหารมาใส่ถังปิดฝามิดชิด โรงอาหารแยกเศษอาหารและเศษผักจากการประกอบอาหารรวบรวมไว้ เพื่อให้เกษตรกรเข้ามารับนำไปเลี้ยงสัตว์ 3.ขยะอันตราย มีจุดเก็บขยะอันตรายบริเวณลานจอดรถ 4.ขยะทั่วไป มีถังขยะทั่วไปอยู่ทุกชั้น แม่บ้านรวบรวมลงมาทิ้งที่ถังรวมขยะทั่วไป สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 175 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 156 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 12.5 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 8 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายหลังคัดแยก 0.11 กิโลกรัม/วัน
ในการนี้มี นายกรณิศ บัวจันทร์ ผู้อำนวยการเขตราชเทวี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตราชเทวี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล