In Global

ผลสำรวจจาก'วีซ่า'เผย97% นักเดินทาง ในเอเชียแปซิฟิกไม่ใช้เงินสดเดินทาง



สิงคโปร์, 30 พ.ย. 2566 นักเดินทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนิยมชำระเงินด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรเติมเงิน (บัตรพรีเพด) เมื่อเดินทาง อ้างอิงจากผลการสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวระดับโลก (Global Travel Intentions หรือ GTI) ของวีซ่า (Visa) เน้นย้ำถึงการที่ผู้บริโภคพึ่งพาวิธีการชำระเงินดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

จำนวนผู้เดินทางที่นำเงินสดติดตัวมาระหว่างเดินทางลดลง 60% หลังการแพร่ระบาด โดยมีเพียง 31% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่พกเงินสดในปี 2566 เทียบกับ 79% ในปี 2563 ผู้ตอบแบบสำรวจอ้างถึงเหตุผลต่าง ๆ เช่น การยอมรับอย่างกว้างขวางจากร้านค้า ความปลอดภัยในการเดินทาง และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ดี เป็นตัวกระตุ้นการใช้บัตรในต่างประเทศ

“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและวิธีการชำระเงินอันเป็นที่นิยมหลังการแพร่ระบาด โดยคนจำนวนมากเลือกใช้วิธีการชำระเงินที่ปลอดภัย ผ่านระบบดิจิทัล และไร้การสัมผัส” คุณแดเนียล จิน (Danielle Jin) หัวหน้าฝ่ายการตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของวีซ่า กล่าว “ผลสำรวจเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวระดับโลกของเราเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการชำระเงินดิจิทัล ในการยกระดับประสบการณ์การเดินทางโดยรวม และวิธีการที่ระบบนิเวศการเดินทางจะช่วยให้ธุรกิจในท้องถิ่นนำเสนอโซลูชันการชำระเงินที่ปลอดภัยและไร้การสัมผัส ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนักเดินทางในปัจจุบัน”

ทำความเข้าใจแนวโน้มการเดินทางและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ผลการสำรวจจากนักท่องเที่ยวมากกว่า 15,000 คนทั่วเอเชียแปซิฟิกในปีนี้ พบว่านักท่องเที่ยวมีแนวโน้มและพฤติกรรมที่โดดเด่นหลายประการ

  1. จุดหมายปลายทางยอดนิยมที่เลือกเดินทาง: ญี่ปุ่นครองอันดับหนึ่งในบรรดาจุดหมายปลายทางที่ผู้ตอบแบบสำรวจเดินทางไปมากที่สุด โดย 25% ของผู้ตอบแบบสำรวจเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ ตามมาด้วยออสเตรเลีย (18%) และสิงคโปร์ (12%) นอกจากนี้ ออสเตรเลีย (16%) ญี่ปุ่น (16%) และจีนแผ่นดินใหญ่ (9%) ติดอันดับสูงสุดในรายการทริปเดินทางเชิงธุรกิจและการพักผ่อนระหว่างประเทศ หรือ ‘เบลเชอร์’ (bleisure) ซึ่งผู้บริโภคผสมผสานการพักผ่อนเข้ากับกิจกรรมทางธุรกิจในระหว่างการเดินทาง
  2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เพิ่มขึ้น: นักท่องเที่ยวยังใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในปี 2566 โดยเฉลี่ย 2,525 ดอลลาร์ต่อการเดินทาง เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 1,708 ดอลลาร์ในปี 2563
  3. แรงจูงใจในการเดินทาง: นอกจากนี้ การสำรวจยังแสดงให้เห็นชัดเจนว่าแรงจูงใจหลักในการเดินทางคือการพักผ่อน (39%) ตามมาด้วยความปรารถนาที่จะสำรวจและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ (14%) และการเยี่ยมครอบครัวและเพื่อนฝูง (13%) แรงจูงใจอื่น ๆ ได้แก่ การชอปปิง (8%) และการออกไปผจญภัย (8%)
  4. ความยั่งยืนถือเป็นประเด็นสำคัญ: 63% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าสนใจในการเดินทางแบบยั่งยืน โดยกล่าวถึงการเลือกที่พักที่ยั่งยืน การใช้รูปแบบการขนส่งที่ประหยัดพลังงาน และการหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในระหว่างการเดินทาง ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในการเดินทางแบบยั่งยืน
  5. แรงบันดาลใจสำหรับการเดินทางในอนาคต: เมื่อวางแผนการเดินทางในอนาคต นักท่องเที่ยวจะได้รับแรงบันดาลใจจากแหล่งต่าง ๆ อย่างการโฆษณา (49%) และการบอกต่อ (48%) เป็นแนวทางหลัก ทั้งนี้ โปรโมชัน (41%) โซเชียลมีเดีย (39%) และเนื้อหาการท่องเที่ยว (37%) ยังเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญในการเลือกจุดหมายปลายทางและเลือกกิจกรรม

ใช้ข้อมูลปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ ในการเดินทาง

สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การสำรวจแนวโน้มของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของวีซ่ากับพาร์ทเนอร์มากมายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนการท่องเที่ยว สายการบิน ร้านค้า สถาบันการเงิน และหน่วยงานภาครัฐ แสดงให้เห็นว่าวีซ่าเป็นองค์กรที่พร้อมด้วยข้อมูล สามารถเข้าถึงลูกค้านักเดินทางในวงกว้างได้ดียิ่งขึ้นด้วยการมอบประสบการณ์ความเป็นส่วนตัวและความพึงพอใจ

“ความพร้อมด้านข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกของวีซ่าให้ภาพรวมของแนวโน้มการเดินทางในเอเชียแปซิฟิก ที่ให้รายละเอียดว่าใคร อย่างไร ที่ไหน และทำไม ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถดึงดูดความสนใจและพร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวทันทีที่พวกเขาตัดสินใจเดินทาง” คุณจิน กล่าวเสริม “เพื่อให้บริการแก่พันธมิตรของเราได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ เราได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นทีมงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากข้อมูล รวมทั้งเพิ่มโอกาสสูงสุดสำหรับด้านการเดินทางแล