Think In Truth
ว่าด้วยซอฟต์พาวเวอร์พลังละมุนฉบับไทย โดย ... พินิจ จันทร
“ซอฟต์พาวเวอร์” หรือ soft powerกำลังเป็นกระแสมาแรงของสังคมที่ได้รับความสนใจจากประชาชนคนไทยกันทั่วทุกหมู่เหล่า แต่ก็ยังเชื่อว่าคงมีน้อยคนนักที่จะเข้า ใจถึงเนื้อในว่ามันคืออะไรหรือหมายความว่ากระไร
Soft Powerถ้าแปลตรงตัวก็คือ อำนาจอ่อน (คนไทยแปลว่าเป็นพลังอ่อนละมุน) ซึ่งเป็นนโยบายทางการเมืองชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคกรีซโบราณในยุคปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนโยบายการเมือง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยความน่าสนใจของ Soft Power คือการชักจูงผู้คนให้เกิดความเห็นด้วย และยินดีให้ความร่วมมือ โดยที่ไม่ต้องใช้ลูกกระสุน หรือเงินตรา มาช่วยในการบิดเบือนเจตนารมณ์
ในยุคปัจจุบันนี้ การทำสงครามระหว่างประเทศด้วยยุทโธปกรณ์โดยตรงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยเหมือนกับยุคอดีต ส่วนใหญ่ถือว่าไว้ขู่เพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้น การรบส่วนใหญ่ในยุคนี้จึงเป็นเรื่องของการทูต และนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดย Soft Power ก็เป็นหนึ่งในอาวุธที่อาจจะไม่ได้มีไว้โจมตี แต่มันก็ช่วยเพิ่มอิทธิพลให้กับประเทศได้
ตามคำอธิบายที่พบในวิกิพิเดีย บอกว่า ซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) หรือ มานานุภาพหรือพลังเย็นในวิชาการเมือง(มานานุภาพหรือพลังเย็นในวิชาการเมืองได้พยายามหาคำอธิบายแบบตรงๆไม่มีก็เลยไม่เข้าใจไม่ทราบว่าจะมันหมายความว่าอะไร) แต่ก็มีคำอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าหมายความถึงความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วมโดยไม่ต้องบังคับหรือให้เงิน
ในปัจจุบันคำว่า “ซอฟต์พาวเวอร์”ได้นำไปใช้ในกรณีของการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศอื่นโดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ ได้รับการอธิบายไว้เป็นครั้งแรกโดยโจเซฟเนย์ (Joseph Nye) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ทั้งนี้โดย “โจเซฟเนย์” ได้กล่าวว่าแหล่งทรัพยากรสำคัญของ soft power ประกอบไปด้วย 3 ประการดังนี้
1. วัฒนธรรม (culture) ถ้าวัฒนธรรมของประเทศหนึ่งมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์และค่านิยมของประเทศอื่นๆ โอกาสที่วัฒนธรรมดังกล่าวจะกลายเป็น soft power ของประเทศนั้นก็จะมีมากขึ้น ช่องทางที่ทำให้วัฒนธรรมของประเทศหนึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศอื่นๆ นั้นมีมากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการค้า การเยี่ยมเยือน การติดต่อสื่อสาร และการแลกเปลี่ยน
2. ค่านิยมทางการเมือง (political values) ถ้าประเทศดังกล่าวมีค่านิยมทางการเมืองที่สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ soft power ของประเทศนั้นจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันถ้าค่านิยมของประเทศดังกล่าวขัดกับค่านิยมของประเทศอื่นๆอย่างชัดเจน soft power ของประเทศนั้นก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1950 ยังคงมีการแบ่งแยกสีผิว (racial segregation) ทำให้ soft power ของสหรัฐอเมริกาในทวีปแอฟริกานั้นมีน้อย เป็นต้น
3. นโยบายต่างประเทศ (foreign policies) ถ้าประเทศหนึ่งดำเนินนโยบายที่หน้าไหว้หลังหลอก (hypocritical) ก้าวร้าว และไม่แยแสต่อท่าทีของประเทศอื่นๆ โอกาสที่จะสร้าง soft power จะมีน้อย ดังเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาที่บุกยึดอิรักใน ค.ศ. 2003 โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประเทศอื่นๆ เป็นต้น แต่ถ้าประเทศดังกล่าวมีแนวนโยบายต่างประเทศที่รักสันติภาพและเคารพในสิทธิมนุษยชน โอกาสที่จะสร้าง soft power ให้เกิดขึ้นจะมีมาก
สำหรับความสำเร็จของ“อำนาจอ่อน” นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของตัวแสดงในชุมชนระหว่างประเทศ ตลอดจนการไหลของสารนิเทศระหว่างตัวแสดง ดังนั้นอำนาจอ่อนจึงมักสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโลกาภิวัฒน์และทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมใหม่ มักชี้กันว่าวัฒนธรรมสมัยนิยมและสื่อมวลชนเป็นบ่อเกิดของอำนาจอ่อนเช่นเดียวกับการแพร่หลายของภาษาประจำชาติหรือชุดโครงสร้างบรรทัดฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวต่างประเทศพบว่ามีความสำคัญในการก่อกำเนิดภาพลักษณ์และชื่อเสียงของต่างประเทศ
ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐมีความโดดเด่นในข่าวต่างประเทศมีการเชื่อมโยงกับอำนาจอ่อนของสหรัฐด้วย
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับประเทศไทยได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230/2566 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นผลจากการสั่งการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 นัดแรก เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ของพรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย
นายเศรษฐาในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นรองประธานกรรมการ
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นกรรมการและเลขานุการ
โดยมีการประชุมนัดแรก หรือ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่างๆนำเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่อีกด้วย โดยมีแพทองธารเป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล (1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์) บูรณาการการดำเนินงานของส่วนราชการและภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพและมีความสอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยไปสู่นานาประเทศ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติมีอำนาจหน้าที่คือ
1.กำหนดยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
2.เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางทางด้านการเงินการคลัง การลงทุน รวมทั้งมาตรการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับหรือเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
3.เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดให้มี ปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
4.เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ รวมทั้งมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ทั้งในและต่างประเทศ
5.รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและพิจารณามีมติเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติมีกรรมการทั้งสิ้น 29 คนได้แก่
ลำดับที่ |
ชื่อ |
ตำแหน่งสำคัญ |
ตำแหน่งในคณะกรรมการ |
1 |
|||
2 |
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร |
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย |
|
3 |
อดีตประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี |
ที่ปรึกษาและกรรมการ |
|
4 |
กรรมการ |
||
5 |
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล |
||
6 |
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
|
7 |
|||
8 |
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ |
||
9 |
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
||
10 |
|||
11 |
นายกองเอก เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช |
||
12 |
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ |
||
13 |
นางสาวกมลนาถ องค์วรรณดี |
ผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution ประเทศไทย |
|
14 |
นายจรัญ หอมเทียนทอง |
อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย |
|
15 |
ผู้อำนวยการฝ่ายคอนเทนต์Viuบจก. พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย) |
||
16 |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บจก. สยามพิวรรธน์ |
||
17 |
ทูตอาหารเพื่อความยั่งยืน องค์การสหประชาชาติ |
||
18 |
อดีตกรรมการสภาสถาปนิก |
||
19 |
นายปรีชา สนั่นวัฒนานนท์ |
อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ดเทรดเด็กซ์ จำกัด |
|
20 |
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) |
||
21 |
นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี |
นายกสมาคมโรงแรมไทย |
|
22 |
อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
||
23 |
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ |
ที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย |
|
24 |
นายธนกฤติ สิทธิชัย เทพไพฑูรย์ |
กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย |
|
25 |
อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) |
||
26 |
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |
อดีตรองนายกรัฐมนตรี |
กรรมการและเลขานุการ |
27 |
นายดนุชา พิชยนันท์ |
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
28 |
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
||
29 |
นายชาคริต พิชญางกูร |
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ |
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ชื่อว่า คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่าง ๆ ให้มีความคืบหน้าแล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติให้พิจารณา
ภาพรวม
หน่วยงานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
ก่อตั้ง |
13 กันยายน 2566 |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
เศรษฐา ทวีสิน, ประธานกรรมการ |