In Global

'คิวเอส'ประกาศอันดับมหาวิทยาลัยโลก ด้านความยั่งยืนประจำปี 2567



ลอนดอน-6 ธันวาคม 2566 คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืน (QS World University Rankings: Sustainability)* ประจำปี 2567

การจัดอันดับครั้งนี้ครอบคลุมมหาวิทยาลัย 1,397 แห่ง มากกว่าปีที่แล้วซึ่งเป็นการจัดอันดับครั้งแรกถึงสองเท่า และเป็นการประเมินมหาวิทยาลัยโดยพิจารณาจากผลกระทบทางสังคม ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ซึ่งผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยโทรอนโต ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยที่มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลก ตามด้วยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในอันดับ 2 และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในอันดับ 3

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืนของคิวเอส ประจำปี 25 67 - 20 อันดับแรก

2567

   

1

มหาวิทยาลัยโทรอนโต ( University of Toronto)

แคนาดา

2

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ( UC Berkeley) 

สหรัฐอเมริกา

3

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ( The University of Manchester)

สหราชอาณาจักร

4

มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ( University of British Columbia)

แคนาดา

5

มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ ( The University of Auckland)

นิวซีแลนด์

6

อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน ( Imperial College London)

สหราชอาณาจักร

7

มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ( The University of Sydney)

ออสเตรเลีย

8

มหาวิทยาลัยลุนด์ ( Lund University)

สวีเดน

9

มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ( The University of Melbourne)

ออสเตรเลีย

10

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ( Western University)

แคนาดา

=11

มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ( UNSW Sydney)

ออสเตรเลีย

=11

มหาวิทยาลัยอุปซอลา ( Uppsala University)

สวีเดน

13

มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ( McGill University)

แคนาดา

14

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ ( Delft University of Technology)

เนเธอร์แลนด์

=15

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ( MIT)

สหรัฐอเมริกา

=15

มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ ( The University of Edinburgh)

สหราชอาณาจักร

17

มหาวิทยาลัยบริสตอล ( University of Bristol)

สหราชอาณาจักร

18

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก ( ETH Zurich)

สวิตเซอร์แลนด์

19

มหาวิทยาลัยเดอรัม ( University of Durham)

สหราชอาณาจักร

20

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ( University of Glasgow)

สหราชอาณาจักร

คุณเจสสิกา เทอร์เนอร์ ( Jessica Turner) ซีอีโอของคิวเอส ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดอันดับในฐานะเครื่องมือชี้วัดความพยายามของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการจัดการกับความท้าทายที่สำคัญ พร้อมกับชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่นักศึกษาให้ความสำคัญมีการเปลี่ยนแปลงไป [1] โดย 79% ให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนของสถานศึกษา และ 82% ศึกษาค้นคว้าแนวปฏิบัติเหล่านี้อย่างจริงจัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาใส่ใจผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ข้อมูลสำคัญ

· แคนาดามีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา และมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียครองอันดับสูงสุดของโลกในด้านความเท่าเทียม

· สหรัฐอเมริกามีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เป็นผู้นำด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ขณะที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) มหาวิทยาลัยมิชิแกน-แอนอาร์เบอร์ (University of Michigan-Ann Arbor) และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) มีความเป็นเลิศด้านโอกาสและความสามารถในการทำงาน

· สหราชอาณาจักรมีความโดดเด่นด้านธรรมาภิบาลและการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน ติด 10 อันดับแรก

·  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ (อันดับ 14) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของภาคพื้นยุโรป

· สวีเดนมีมหาวิทยาลัยลุนด์ที่โดดเด่นในด้านความเท่าเทียม การแลกเปลี่ยนความรู้ และการวิจัยสิ่งแวดล้อม

· มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) (อันดับ 22) เป็นผู้นำของเอเชีย โดยรั้งอันดับ 3 ด้านผลกระทบทางสังคม และรั้งอันดับ 5 ด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

· มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) รั้งอันดับ 1 ด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อม

·  มหาวิทยาลัยฟูตัน (Fudan University) (อันดับ 142) ครองอันดับสูงสุดของจีน และมหาวิทยาลัยเดลี (University of Delhi) (อันดับ 220) ครองอันดับสูงสุดของอินเดีย

· มหาวิทยาลัยซิดนีย์ครองอันดับ 1 ของโลกด้านผลกระทบทางสังคม ขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ตามมาเป็นอันดับ 2

· มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) (อันดับ 50) เป็นผู้นำของแอฟริกาในด้านความยั่งยืน ส่วนมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งเบรุต (American University of Beirut) เป็นผู้นำในตะวันออกกลาง และมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (Universidade de São Paulo) (อันดับ 67) เป็นผู้นำในลาตินอเมริกา

[1] ผลสำรวจด้านความยั่งยืนของคิวเอส