In Global
เปิดโครงการ'เล็กแต่สวย'ของประเทศจีน มุ่งความยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ในช่วงหลายปีมานี้ จีนมุ่งมั่นพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศลักษณะ "เล็กแต่สวย" ซึ่งต่างจากโครงการความร่วมมือที่เน้นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ก่อนหน้านี้ เช่น การก่อสร้างถนน ทางรถไฟ เป็นต้น โครงการ "เล็กแต่สวย" นอกจากมุ่งไปที่ความยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อ การดํารงชีวิตของประชาชนแล้ว ยังครอบคลุมการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม กีฬา การแพทย์ การท่องเที่ยว โบราณคดี และอื่นๆ ซึ่งก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ และได้กลายเป็นจุดสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศของจีน
"เล็กแต่สวย" เป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงการทํางานให้เสร็จหรือสร้างผลิตภัณฑ์บางอย่างให้สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะทําได้ภายใต้แนวคิดที่เรียบง่ายที่สุด เนื่องจากความเรียบง่าย "เล็กแต่สวย" จึงง่ายต่อการเข้าใจ ง่ายต่อการใช้และใช้งานได้จริง
หลายปีมานี้ จีนได้ขับเคลื่อนโครงการบรรเทาความยากจนในชนบทและโครงการช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อบรรเทาความยากจนในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวลูกผสม การปลูกหญ้าจวินเฉ่าแทนต้นไม้ และการปลูกข้าวโพด หลายประเทศได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้นําไปใช้อย่างกว้างขวาง
เทคโนโลยีข้าวลูกผสมถือเป็นศิลาจารึกทางประวัติศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรของจีน และมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารทั่วโลก ประเทศโมซัมบิกได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในเพิ่มผลผลิตข้าวจาก 1.5 ตันให้เป็น 8 ตันต่อเฮกตาร์ ช่วยให้การผลิตอาหารของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ศูนย์วิจัยวิศวกรรมและเทคโนโลยีข้าวลูกผสมแห่งชาติจีนได้เปิดสาขาแอฟริกาที่กรุงอันตานานาริโวเมืองหลวงของมาดากัสการ์ เป้าหมายหลักของสาขาแห่งนี้คือ พัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมที่ให้ปริมาณผลผลิตสูง คุณภาพดี และมีภูมิคุ้มกัน ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกในแอฟริกา
นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ปากีสถาน เป็นต้น ล้วนมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีข้าวลูกผสม ปัจจุบัน กว่า 40 ประเทศและภูมิภาคในเอเชีย แอฟริกา และทวีปอเมริกาได้นำเทคโนโลยีข้าวลูกผสมไปใช้หรือศึกษาวิจัย
โครงการความร่วมมือ "เล็กแต่สวย" มีบทบาทสำคัญในการรับมือกับวิกฤตอาหาร เพื่อให้ผลผลิตพอกินพอใช้
เทคโนโลยีการปลูกหญ้าจวินเฉ่าแทนต้นไม้เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นโดยนายหลิน จั้นสี่ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการปลูกหญ้าจวินเฉ่าแทนต้นไม้แห่งชาติของมหาวิทยาลัยเกษตรและป่าไม้ฝูเจี้ยน หญ้าชนิดนี้นอกจากเป็นพืชสมุนไพรแล้ว ยังสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ และยังสามารถนำไปใช้เพาะเห็ด นอกจากนี้ ยังมีผลในการควบคุมและป้องกันการแปลสภาพเป็นทะเลทราย เทคโนโลยีนี้ได้รับการส่งเสริมไปยังกว่า 100 ประเทศและภูมิภาค และได้รับการยกย่องว่าเป็น "หญ้าแห่งความสุข" และ "หญ้าแห่งความมั่งคั่ง"
ด้านการศึกษา มูลนิธิพัฒนาชนบทของจีนร่วมกับฝ่ายสาธารณประโยชน์ของกลุ่มอาลีบาบาเปิดตัวโครงการกระเป๋าแห่งความรักตั้งแต่ปี 2019โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงสภาพการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมในบรรดาประเทศกําลังพัฒนาในกรอบข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในกระเป๋าแห่งความรักมีเครื่องใช้และเครื่องเขียน 20 ชิ้น ซึ่งรวมถึงดินสอ กล่องบรรจุดินสอ ปากการะบายสี ยางลบ สมุด กล่องอาหาร ขวดน้ำดื่ม เสื้อกันฝนและร่ม เป็นต้น จนถึงสิ้นปี 2022 โครงการกระเป๋าแห่งความรักได้ดำเนินการใน 14 ประเทศ อาทิ เนปาล พม่า เอธิโอเปีย กัมพูชา ปากีสถาน มองโกเลีย เป็นต้นสร้างประโยชน์แก่นักเรียนชั้นประถมมากกว่า 1 ล้านคน
ด้านการแพทย์ ก็มีโครงการ"เล็กแต่สวย" เช่นกัน ซึ่งรวมถึงระเบียงฉุกเฉินจีน – ปากีสถาน และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพแอฟริกา
อาร์เทมิซินิน (Artemisinin) เป็นยาต้านมาลาเรียชนิดแรกที่ค้นพบและสกัดได้สําเร็จในประเทศจีน หลังจากจีนช่วยเหลือประเทศคอโมโรสประเทศหมู่เกาะของแอฟริกาให่ใช้อาร์เทมิซินินในการรักษาโรคมาลาเรีย สามารถลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคมาลาเรียในท้องถิ่นได้ถึง 98% และไม่มีผู้เสียชีวิต
“โครงการการเดินทางเพื่อแสงสว่าง” เป็นปฏิบัติการด้านสุขภาพของจีนที่ให้การบริการผ่าตัดต้อกระจกฟรี ตามแนวคิดที่จะช่วยเหลือครอบครัวหนึ่ง โดยผ่านการให้การรักษาคนหนึ่ง
ศาสตราจารย์เปา หย่งเจิน จักษุแพทย์จากโรงพยาบาลประชาชนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้เคยนําทีมแพทย์ไปดำเนิน“โครงการการเดินทางเพื่อแสงสว่าง”ที่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 10 ครั้ง ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายน ปี 2014 อาจารย์แพทย์ท่านนี้ได้นําทีมแพทย์ไปยังจิบูตี ประเทศแอฟริกา ภายใน 14 วัน ได้ทําการผ่าตัดต้อกระจกถึง 520 ครั้ง ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของการผ่าตัดต้อกระจกทั้งปีในจิบูตีในขณะนั้น ชาวท้องถิ่นพากันชื่นชมว่า “โครงการการเดินทางเพื่อแสงสว่าง”ไม่เพียงแต่ได้นำแสงสว่างสู่ผู้ป่วย หากยังได้สร้างสะพานเพื่อสุขภาพและมิตรภาพในใจของประชาชนประเทศต่าง ๆ อีกด้วย
เนื่องจากโครงการ "เล็กแต่สวย" สามารถช่วยให้ผู้คนพ้นจากความยากไร้และความเจ็บป่วย จึงกลายเป็นจุดสำคัญในความร่วมมือระหว่างประเทศของจีน
----------------------------
เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)