Travel Sport & Soft Power

พบกับ5เหล่านักสร้างสรรค์คืนถิ่นที่มาร่วม ทำเชียงใหม่ผลิบานอย่างสร้างสรรค์



เชียงใหม่-เริ่มต้นไปแล้วสำหรับ “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023” (CMDW2023) ซึ่งจัดตั้งแต่วันนี้ - 10 ธันวาคม 2566 ในปีที่ 9 นี้ ภายใต้ธีม ‘Transforming Local: ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต’ ที่มุ่งเสนอการยกระดับความคิดสร้างสรรค์ของเหล่าคนคืนถิ่น (Homecoming) ด้วยการต่อยอดไอเดียและงานออกแบบด้านศิลปวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ ผ่านความร่วมมือของนักสร้างสรรค์ต่างรุ่น ที่ร่วมนำเสนอภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลง (Transforming) เมืองเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Local Sustainable Living) และการสร้างโอกาสใหม่ ๆ (New Opportunities) ให้กับผู้คนโดยรอบจังหวัด ไปจนถึงการสร้างบรรยากาศให้เมืองเชียงใหม่ กลายเป็นพื้นที่แห่งการผลิบานด้วยความสร้างสรรค์ของผู้คนต่างเจเนอเรชันอย่างลงตัว โดยไม่ทิ้งรากเหง้าของตนเอง

รวม 5 เหล่านักสร้างสรรค์คืนถิ่น ผลักดันเชียงใหม่ เมืองที่สะท้อนภาพของการเปลี่ยนแปลง (Transforming) แบบไม่ทิ้งรากเหง้า

 

1.กลุ่ม Homecoming นำโดย COTH studioสตูดิโอออกแบบที่ผสมผสานระหว่างวัสดุจากพื้นถิ่นเข้ากับงานออกแบบหัตถกรรมร่วมสมัย ที่มี 2 นักออกแบบ เฉลิมเกียรติ สมดุลยาวาทย์และ กวิสรา อนันต์ศฤงคารร่วมเป็น Project Curator ให้กับนิทรรศการ ‘สร้าง ผ่าน ซ่อม’ (Persona of Things) ของเทศกาลฯ โดยมีนักสร้างสรรค์อีก 5 ท่าน ร่วมโปรเจ็กต์นี้ ได้แก่

1) ภควัต วิชัยขัทคะนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และ UX/UI จากจังหวัดลำพูน มีความถนัดด้านการผสมผสานเทคนิคหัตถกรรมเข้ากับรูปแบบการออกแบบเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Design) โดยเคยได้รับรางวัล Innovative Craft Award (ICA) จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT

2) อัศนี ลลิตนันทวัฒน์นักออกแบบเชิงทดลอง (Experimental Designer) ผู้จบการศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มักหยิบจับวัฒนธรรมของไทยไปตีความในรูปแบบสมัยใหม่

3) เบญญาภา เจนเสนศิลปินชาวเชียงใหม่ที่เริ่มต้นจากการทำงานเครื่องประดับ จนพัฒนาเป็นงานที่มีเอกลักษณ์การผสมผสานวัฒนธรรมทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เข้ากับงานกระเป๋าที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก ภายใต้แบรนด์ Juno Janssen

4) ธนนันท์ ใจสว่างศิลปิน Fine Art จากจังหวัดเชียงรายที่ทำงานศิลปะแนวผสมผสาน เคยได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินภายใต้โครงการ Early Year Project ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

5) ธนิษฐา นันทาพจน์อาจารย์ภาควิชาศิลปะ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความโดดเด่นด้านการนำเเนวคิด ‘คินสึงิ (Kintsugi)’ หรือ‘การผสานด้วยสีทองเเบบศิลปะของญี่ปุ่น’ มาใช้เป็นเเรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน

พบกับผลงานจาก 5 นักสร้างสรรค์ได้ในนิทรรศการ ‘สร้าง ผ่าน ซ่อม’ (Persona of Things) ที่ชวนทุกคนย้อนมองสิ่งของรอบ ๆ ตัว ที่แม้อาจจะแตกหักเสียหาย แต่สิ่งเหล่านั้นอาจบรรจุเรื่องราวและความทรงจำไว้มากมาย เพื่อเป็นการชวนปลุกจินตนาการถึงสังคมสมัยใหม่ ที่ให้ค่านิยมกับ ‘การซ่อมแซม’ มากกว่าการผลิตสิ่งของขึ้นใหม่ ผ่านชิ้นงานที่แสดงอัตลักษณ์การ ‘สร้าง ผ่าน ซ่อม’ ในบริบทพื้นที่เมืองเชียงใหม่และภาคเหนือในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่อดีตจนมาสู่กระแสการขับเคลื่อนด้านความคิดสร้างสรรค์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ณ ตึกมัทนา

 

2. จติภัค บุญมั่นร่วมกับ Holly Harbourจาก สตูดิโอ Spektakluนักออกแบบที่สำเร็จการศึกษาจาก The Bartlett School of Architecture, UCL ประเทศอังกฤษ ก่อนที่จะร่วมกันทดลองสร้างสรรค์ผลงานประเภท Creative Storytelling ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเคยทำงานให้กับบริษัท Rogers Stirk Harbour + Partners ในการออกแบบคอนเซ็ปต์ของชุมชนสุขภาพ ร่วมกับ NHS (National Health Service) ในเครือประเทศสหราชอาณาจักร

พบกับนิทรรศการ ‘Flavourscape’ ซึ่งจัดแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยร่วมกับคนท้องถิ่นในภาคเหนือ นิทรรศการนี้ท้าทายผู้เข้าชม ด้วยแนวคิดใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับ

ภูมิทัศน์ โดยใช้ Plug and Play Board ในการแสดง Interactive การเชื่อมต่อระหว่าง ผู้คน อาหาร ชนบทและเมือง สะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของเมืองนั้นส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของพื้นที่ชนบทอย่างไร ได้ที่ธน-อาคาร

 

3. รัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริจาก RattheePhaisanchotsiri Design Office นักออกแบบอุตสาหกรรม หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มอิสรภาพ ปัจจุบันใช้ชีวิตระหว่างเชียงใหม่ - กรุงเทพฯ โดยในปีนี้ รัฐธีร์ได้ร่วมกับเทศกาลฯ คัดเลือกผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ จำนวน 14 ผลงาน เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการ ‘Challenge the Talent’ อันเป็นผลลัพธ์จากการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษากับผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และกระบวนการคิดไปสู่ความเป็นมืออาชีพ

ก่อนที่จะออกสู่สนามของการทำงานจริง จัดแสดงที่ อาคารสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทยเชียงใหม่ และนิทรรศการ ‘Transforming Local Crafts: ปรับตัวต่อยอดท้องถิ่นเติบโต’กับผลงาน‘Kena Lounge’ที่รัฐธีร์ร่วมกับแบรนด์‘Moonler’จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

 

4. ชัยวัฒน์ โล่โชตินันท์จาก เล่นใหญ่ (Len Yai: Performance Arts)มหกรรมศิลปะการแสดงของนักสร้างสรรค์ ร่วมกับนักสร้างสรรค์และคนทำงานศิลปะการแสดงหลากหลายรูปแบบในภาคเหนือ เพื่อเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองแห่งเทศกาลสร้างสรรค์ พบกับ ‘Len Yai: Performance Arts’ ที่จะจัดการแสดงกระจายตามจุดต่าง ๆ ในย่านช้างม่อย ตลอด 9 วัน โดยมีการแสดงไฮไลต์ ได้แก่ การแสดงชุด หลงรัก (Crush On)’เป็นการทำงานร่วมกันของ 2 ครูศิลปะ ‘Katsura Kan’ครูด้านการแสดงระบำบูโตร่วมสมัย จากประเทศญี่ปุน และ รศ. ลิมปิกร มาแก้วและบอย-วิศาลทัศน์ รัตนมงคลเกษม

ครูด้านพิณเปี๊ยะของประเทศไทย ผ่านการตีความการแสดงที่ผสมผสานเอกลักษณ์ความเป็นตะวันออกในมิติของความรักในแง่มุมต่าง ๆ และการแสดงชุด ชีวิตเลือกได้ (Choose Life)’ เป็นการแสดงระบำ ตามแนวคิด (Conceptual Dance and Movement) โดยนักแสดงและนักสร้างสรรค์หญิงของภาคเหนือ จำนวน 15 ท่าน นำเสนอเรื่องราวของชีวิตที่ได้ออกแบบและตกผลึกผ่านการแสดงในแบบเฉพาะของตนเอง จัดแสดงในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 เวลา 19.00 น. ณ วัดชมพู

 

5. พงษ์ศิลา คำมากผู้ก่อตั้ง Sansaicisco (สันทรายซิสโก) ที่ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่อย่างถาวร ด้วยการสร้างคอมมิวนิตี้อาหารแปรรูปพื้นถิ่น ในอำเภอสันทราย พร้อมทั้งสนับสนุนเกษตรกรให้มีรายได้ทางตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง นอกจากนี้ยังใส่ใจการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

พบกับอีเวนต์เปรี้ยว หวาน จากภูเขา’ (Minority Market) ที่จะมารังสรรค์วัตถุดิบพืชพื้นถิ่น (Local Ingredients) ของพี่น้องชาวอาข่าและปกาเกอะญอ ด้วย ‘สิหมะ’ ผลไม้รสเปรี้ยวประจำถิ่น และ ‘น้ำผึ้งป่า’ ร่วมกับร้านค้าในเครือข่าย Slow Food จำนวน 8 ร้าน ว่ากินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ รวมทั้งพาสำรวจการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนและธรรมชาติ ที่ TCDC เชียงใหม่ เวลา 11.00 - 18.00 น.

มาร่วม ‘Transforming Local: ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโตไปกับเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023” (CMDW2023) ตั้งแต่วันที่ 2 - 10 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 - 20.00 . ณ ย่านช้างม่อย-ท่าแพ ย่านกลางเวียง (POP Market พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่น -ล่ามช้าง) และพื้นที่อื่น ๆ เช่น ย่านหางดง - De Siam Antiques Chiangmai, ย่านสันกำแพง - MAIIAM Contemporary Art Museum ฯลฯ