Think In Truth
สงกรานต์ไทยไม่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย : โดย ฟอนต์ สีดำ
ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ประเพณีสงกรานต์ในไประเทศไทยได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ จาก UNESCO ซึ่งเป็นที่ดีใจของประชาชนคนไทยเป็นอย่างมาก ในขณะที่ประเทศเพื่อบ้านเองก็พลอยไม่พอใจที่เขาคิดว่าประเทศไทยขโมยวัฒนธรรมของของบ้านเมืองเขาไปจดทะเบียนเป็นของตนเอง ซึ่งโดยเนื้อหาในการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกนั้น ก็ไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเลย
ก่อนอื่น เราควรต้องทำความสนใจกับเนื้อหาของสงกรานต์ ว่ามีความสำคัญกับชีวิตของมนุษยชาติอย่างไรก่อน โดยต้องทำความเข้าใจแรกคือความหมายของ “สงกรานต์” เพื่อที่คนที่ได้ยินจะได้เข้าใจตรงกันว่ามันคืออะไร และจะต้องปฏิบัติอย่างไรร่วมกัน “สงกรานต์” มาจากคำสองคำ คือ “สง” ซึ่งแปลว่า รดน้ำ อาบน้ำ และ “กรานต์” แปลว่าเคลื่อนย้าย เมื่อเอาสองคำมารวมกัน เป็น “สงกรานต์” จึงแปลว่า การรดน้ำในวันเปลี่ยนปีนักสัตว์ ซึ่งสงกรานต์ เพิ่งมีการบัญญัติศัพท์จากภาษาสันสกฤตขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้
เดิมสงกรานต์ในประเทศไทยเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “เนา” ซึ่งแปลว่า โน้มน้าว หรือ น้าว ซึ่งหมายถึงการกระตุ้นชั้นบรรยากาศให้เกิดฝน การรดน้ำ เป็นการเพิ่มความชื้นในชั้นบรรยากาศ ซึ่งตามความเชื่อของศาสนาผี ถ้าชั้นบรรยากาศมีความชื่นมาก จะทำให้ควันบั้งไฟดูดความชื้นให้เป็นแก่นฝน ให้เกิดฝนตก หลังประเพณีสงกรานต์ หรือเนา จึงมีประเพณีบุญบั้งไฟ ถ้าฝนยังไม่ตกเขาจะแห่นางแมวเอาน้ำราดแมวอีกครั้ง แล้วจุดบั้งไฟอีก ต่อจากนั้นเมื่อฝนตกเขาจะเอาอุปกรณ์ทำนาออกมาชำระทำความสะอาด ที่เรียกว่าบุญซำฮะ ในเดือนเจ็ด ซึ่ง “สงกรานต์” ในประเทศไทย ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากประเพณี “โฮลี” ในอินเดีย เพราะสาดแป้ง ไม่ได้มีผลต่อความชื้นในอากาศเลย ดังนั้น ประเพณีสงกรานต์ในไทย จึงเป็น “วัฒนธรรมการผลิตข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย โดยทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต ประเพณีสงกรานต์ ได้ถูกบัญญัติไว้ในจารีตสิบสองเดือน หรือที่เรียกกันว่า “ฮีตสิบสอง” ซึ่งประเพณีทั้งสิบสองเดือน ที่ถูกกำหนดเป็นวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติสืบทอดอย่างเชื่อมโยงและมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กัน เป็นวัฏจักรวนกันไป
ประเพณีสงกรานต์หรือเนา นี้มีมาแต่ก่อนสมัยพุทธกาล ซึ่งในพระสูตร ตามหนังสือพระไตรปิฎกจะพบว่า พระเจ้าสุโทธน(พระเจ้าที่มีข้าวเหนียวเป็นสมบัติ) พระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงทำพิธีแรกนาขวัญ(นาขวัญเป็นคำศัพท์ที่บอกว่าเดิมตระกูลส
ศากยวงศ์นับถือผี) คือการฮุดนาหรือแรกนา เป็นประเพณีหนึ่งในจารีตสิบสองเดือน หรือฮีตสิบสอง ดังนั้นก่อนที่จะทำประเพณีแรกนาขวัญ ต้องทำบุญบั้งไฟในเดือนหก ก่อน และทำประเพณีสงกรานต์หรือเนา ในเดือนห้าก่อน ดังนั้น ประเพณีเนา หรือสงกรานต์มีในประเทศไทยมาก่อนสมัยพุทธกาล
หลายคนคงแย้งว่า “อ้าว...ก็พระพุทธเจ้ากำเนิด ที่อินเดีย ดังนั้นการทำพิธีแรกนาขวัญของพระเจ้าสุโทธน ก็ต้องทำที่อินเดียสิ” ถ้ายึดเอาตามตัวหนังสือที่พระไตรปฏิฎกถูกสังคายนามาแล้ว สิบกว่าครั้ง ก็มีความสัมพันธ์อย่างนั้นครับ
แต่ลองเอาความจริงบางอย่างมาพิจารณา มันจะเห็นพิรุธในพระไตรปิฎกหลายจุดครับ เช่น ในหนังสือพระไตรปฏิฎกไม่มีการระบุว่าพระพุทธเจ้าบิณฑบาตรได้โรตี แม้แต่ชิ้นเดียวครับ ทั้งที่ โรตีมีประวัติการกำเนิดมาแล่ว ห้าพันปี ที่สำคัญแขกไม่ทานหมูครับ หรือคนอินเดียไม่ทานหมู แต่อาหารมื้อสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงเสวย คือแกงหมูป่าครับ เอาหละพิรุจเหล่านั้นยังมีข้อแย้งได้มากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่แย้งยากมากเลย คือสถานที่เกิด ตรัสรู้ และปรินิพพาน ที่สัมพันธ์กับเวลา นี่สิครับที่แย้งยากมาก แม้แต่ทุกวันนี้ก็เป็นความกระอักกระอ่วนใจของกลุ่มอินเดียลิสซึ่มที่จะเคลมเรื่องชาติกำเนิดพระเจ้าให้เป็นคนอินเดีย ยังหาเหตุผลอธิบายเรื่องนี้ไม่ได้ คือ ในวันวิสาขบูชา พระจันทร์ไม่เต็มดวงที่อินเดีย ครับ และไม่มีใครที่มีความสามารถจะย้ายดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ให้พระจันทร์เต็มดวงในวันวิสาขาบูชาที่อินเดียได้เลยครับ ผมจึงยึดเอาวันเกิดของพระพุทธเจ้า เกิดวันวิสาขบูชา ที่ที่มีดวงจันทร์เต็มดวงครับ แถมพระบิดาของท่านยังมีชื่อเป็นข้าวเหนียวด้วยสิ
หลายคนคงแย้งอีกว่า คนสมัยโบราณ การกำหนดเวลา จะกำหนดแบบคร่าวๆ นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหรรณ์มากครับ เพราะสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงใช้ปฏิทินโบราณในการคำนวณดาราศาสตร์ว่าจะเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปรากฏว่าตรงตามคำนวณ แล้วจะบอกว่าการกำหนดเวลา ปฏิทิน เป็นการคร่าวๆ เอาได้หรือ??..
อีกอย่าง การกำหนดปีนักสัตว์เองก็มีมานาณกว่าสมัยพุทธกาล มิเช่น การระบุวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน หรือระบุเหตุการณ์ต่างๆ จะระบุเป็นปีนักสัตว์ เดือน และเวลาตกฟากได้หรือ??...นั่นเป็นความแม่นยำของตำราโหราศาสตร์ ที่เป็นวิชาดาราศาสตร์โบราณของไทยที่มีความแม่นยำสูงสุด เท่าที่มีมาในยุคเดียวกัน หลักฐานการกำหนดจารึกปีนักสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่สำรวจพบ คือ ที่ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มีอายุถึง 1850 ปี
สรุปนะครับ ประเพณีสงกรานต์ เป็นวัฒนธรรม “ข้าว” ของชาวศาสนาผีในดินแดนอุษคะเนย์ ที่มีความสัมพันธ์กันกับประเพณีต่างๆ ที่ระบุไว้ในฮีตสิบสอง หรือจารีตสิบสองเดือน ส่วนการเถลิงศก หรือฉลองวันขึ้นปีใหม่นั้น เป็นการผนวกเข้ามาเพราะอยู่ในช่วงเวลาที่ใกล้กัน ส่วนคนไทยก็อาจจะผนวกในหลายปะเพณีให้บูรณาการในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ประเพณีครอบครัว วันผู้สูงอายุ วันแห่ดอกไม้หรือผ้าพระเวสในการจำลองการอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง หรือประเพณีอื่นๆ เข้าไปในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเลย แต่เป็นวิถีชีวิตของคนไทย ที่เป็นวัฏจักรของประเพณีในการดำรงชีวิต ประเพณีสงกรานต์ จึงเป็นวัฒนธรรมร่วม ที่กัมพูชา ในประเพณี “โจนชะนำทะเมย” ลาวที่มีประเพณี “หดเนา” พม่าที่มีประเพณี “ตะจังเหย่ตะเบงบะแวต่อ” หรือประเพณีสงกรานต์ที่เรียกอื่นๆ ออกไป ที่มีทั้งในเวียดนาม ในเชียงตุง ในเชียงรุ้ง ในสิบสองปันนา เป็นวัฒนธรรมร่วม ซึ่งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันออกไป แต่ในประเทศไทย เป็นวัฒนธรรม “ข้าว” ในฮีตสิบสอง ที่บูรณาการประเพณีอื่นๆ เข้ามาร่วมให้อยู่ในวัฏจักรวิถีชีวิตทั้งสอบสองเดือนนั้นเอง