In News

นายกร่วมประชุมอาเซียน-ญีปุ่นที่โตเกียว เสนอแลนด์บริดจ์-พบกลุ่มธุรกิจยานยนต์



กรุงเทพฯ-นายกฯ ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางญี่ปุ่น พร้อมพูดคุย กระชับความร่วมมือไทย ญี่ปุ่น การค้าการลงทุน พร้อมพูดคุยนักธุรกิจยานยนต์ สนับสนุนการลงทุนเพิ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจยานยนต์อีวี

วันนี้ (14 ธันวาคม 2566) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 (บน.6) เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 (บน.6)

นายกรัฐมนตรีตอบคำถามถึงความคาดหวังในการเดินทางครั้งนี้ รวมทั้งการเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งแรกว่า มีเรื่องต้องพูดคุยกับหลายภาคส่วน รวมทั้งจะมีการพบปะกับสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และร่วมรับประทานอาหารค่ำแบบส่วนตัวกับ เจ้าชายอับดุล มาทีน แห่งบรูไน ซึ่งกำลังจะเข้าพิธีอภิเษกสมรส ส่วนการพูดคุยกับนักธุรกิจ จะมีการพบปะกับนักธุรกิจรายใหญ่หลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท Panasonic และมีอีกหลายราย ซึ่งจะสนับสนุนให้มีการลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานยนต์ไฟฟ้า (EV)และในครั้งนี้นักธุรกิจที่จะร่วมเดินทางไปพูดคุยเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่น ได้แก่ นายพรวุฒิ สารสิน ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) และนายกลินท์ สารสิน ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า แม้ว่าจะมีแสงสว่างที่เป็นความหวังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอยู่เสมอก็ยังหนักใจเพราะนายกรัฐมนตรีแบกความหวังปากท้องของพี่น้องประชาชนทั้ง 60 ล้านคนทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนสูงสุดในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา จึงจะมีการพูดคุยเพื่อให้การค้าการลงทุนเข้มแข็งมากขึ้น และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งสองประเทศสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งทางการค้าและการลงทุน

ก่อนหน้านี้ นายชัย ได้กล่าวถึงโปรแกรมการเดินทางของนายกฯโดยกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีจะร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน และผู้นำประเทศญี่ปุ่น ประชุมเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรีจะผลักดันบทบาทความร่วมมือของไทยในการสนับสนุน ความเชื่อมโยงในภูมิภาค - เน้นการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงนำเสนอโครงการ Landbridge ซึ่งเป็นโครงการ Mega Project ของไทย นำเสนอแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและ การเติบโตสีเขียว ย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยเรื่องการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และความเป็นกลาง ทางคาร์บอน ผ่านนโยบายพลังงานสะอาด การเงินสีเขียว ความร่วมมือกับญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบนิเวศ ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล ด้วยการส่งเสริม e-commerce การไหลของข้อมูลข้ามพรมแดน (Cross border data flows) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data protection) AI Blockchain และเกษตรอัจฉริยะ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร 

และนายกรัฐมนตรีจะย้ำความพร้อมของระบบสุขภาพในไทย สนับสนุนความร่วมมือเพื่อเตรียมรับสังคมสูงอายุ และยกระดับประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งรวมทั้งนำเส

ในโอกาสนี้ จะเป็นโอกาสให้นายกรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น พบหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Minister of Economy, Trade and Industry: METI) เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ซึ่งนอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะได้พบหารือเพื่อความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำระดับโลกของญี่ปุ่น ในทุกสาขาสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ (บริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ ทั้ง 7 บริษัท Toyota Honda Mazda Nissan Suzuki Mitsubishi Isuzu) อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลการเกษตร ธุรกิจการค้า 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงค่ำวันที่ 18 ธันวาคม 2566

อนึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวก่อนการเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 (บน.6) เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ว่า ในส่วนของการเสนอให้มีการ work from home นายกรัฐมนตรีคิดว่าทุกส่วนต้องช่วยกัน ต้องร่วมมือกัน คงไม่มีการออกเป็นคำสั่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับบริษัทห้างร้าน แต่จะเป็นลักษณะการขอความร่วมมือให้มีการช่วยเหลือกันทุกวิถีทาง

ส่วนการเชิญผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเข้าพบเป็นเรื่องคดีความต่างๆ มีหลายคดีที่โอนไปที่ DSI จึงได้เชิญมารายงานความคืบหน้าของคดี 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ตอบคำถามเกี่ยวกับในส่วนของการเมืองว่า มีเสถียรภาพดี แน่นแฟ้น 314 เสียง พรรคเพื่อไทยทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองดี ขณะนี้ไม่มีเวลามาเล่นการเมือง ทุกคนพร้อมฟังเสียง เพื่อดูแลความเดือดร้อนของประชาชน