EDU Research & ESG

อว.สกสว.บพข.จับมือTEATAขับเคลื่อน ท่องเที่ยวสุทธิเป็นศูนย์เริ่มภูเก็ต-กระบี่



กรุงเทพฯ-อว. สกสว.บพข.ภายใต้แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์จับมือTEATA หนุนเสริมกิจกรรมนำร่องการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและกระบี่พร้อมชูแอพพลิเคชัน“Zero Carbon” ส่งท้ายปี 2566 ตอบโจทย์การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์และการชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิตขับเคลื่อนท่องเที่ยวด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมระหว่างวันที่ 24 – 26 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา

นางสาวสุชาดาแทนทรัพย์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่ากิจกรรมครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ของประเทศไทยสู่ความยั่งยืนสอดรับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืนโดยเป้าหมายอันใกล้คือการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือCarbon Neutrality ในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายในระยะยาวคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือNet Zero GHG Emissions ในปี 2065 โดยการบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นแผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศหรือบพข. ภายใต้ กองทุน ววน. สกสว. มีการประสานข้อมูลองค์ความรู้วิทยาการต่างๆตลอดจนภาคีเครือข่ายจำนวนมากซึ่งเน้นหลักการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอว. นางสาวศุภมาสอิศรภักดีคือ“วิจัย-นวัตกรรมดีตอบโจทย์ตรงความต้องการ”เน้นการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญของประเทศได้แก่Go Green พอเพียงความยั่งยืนCarbon Neutrality พลังงานสะอาดเศรษฐกิจชีวภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจสร้างสรรค์รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI)

โดยมี“เอกชนนำรัฐสนับสนุนหนุนเสริมให้เอกชนซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้ประโยชน์ทำหน้าที่กำหนดทิศทางและความต้องการจากนั้นสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆจะเข้าไปดำเนินการสนับสนุนอย่างเต็มกำลังทั้งนี้ยังเน้นย้ำการบูรณาการทำงานที่เชื่อมประสานระหว่างภาครัฐภาคเอกชนและภาควิชาการนักวิจัยสถาบันการศึกษารวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการเพื่อให้การวิจัยไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้นแต่ยังนำไปใช้ได้และเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอีกด้วยซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐาทวีสินได้ให้นโยบายไว้

สำหรับตัวอย่างงานวิจัยที่กระทรวงอว. กำลังดำเนินการโดยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (carbon capture, utilization and storage : CCUS) ของประเทศไทยและการวิเคราะห์นโยบายและระบบสนับสนุนที่จำเป็นเพื่อรองรับการวิจัยพัฒนาในประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการประมาณการทรัพยากรและกลไกสนับสนุนที่สำคัญที่ประเทศต้องส่งเสริมรวมถึงกลไกความร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศให้ตรงตามช่วงเวลาที่สอดรับกับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนพ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้การดำเนินการก่อตั้งThailand CCUS Alliance (TCCA) เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านCCUS ต่อไปโดยในขณะนี้ได้CCUS technology roadmap แล้วในขณะเดียวกัน การทำงานภายในกระทรวง อว. กำลังดำเนินการจัดตั้งSRI (Science Research and Innovation) Consortium for Net Zero ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ขับเคลื่อนSRI (Science Research and Innovation) Consortium for Net Zero เพื่อส่งเสริมและผลักดันการใช้วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเกิดผลกระทบเชิงบวกด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมจากการใช้ววน. บูรณาการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนโดยมีหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมในการขับเคลื่อน

“สำหรับประชาชนสมาคม ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีความสนใจหรือมีความประสงค์นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดสามารถประสานผ่านสกสว. ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารจัดการกองทุนววน. หรือกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศในทุกด้านได้โดยตรง” นางสาวสุชาดากล่าวทิ้งท้าย

ด้านรศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวจะช่วยเสริมแกร่งการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างตรงจุดเป็นการส่งเสริมและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการของประเทศไทยและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลกที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อนำไปสู่การตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ บพข. ภายใต้แผนงานท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยมีผศ.สุภาวดีโพธิยะราชประธานอนุกรรมการแผนงานฯ และคณะอนุกรรมการที่ครอบคลุมภาครัฐ ภาคเอกชนร่วมพลังขับเคลื่อนเน้นการออกแบบแผนงานวิจัยเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนและผู้ให้บริการในภาคการท่องเที่ยวจึงได้เริ่มต้นแผนงานการท่องเที่ยวแบบCarbon Neutral Tourism (CNT) เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ตั้งแต่ปี 2564 ผ่านความร่วมมือภาคีเครือข่าย 3 กระทรวง 8 ภาคีคือสกสว./บพข. ททท. สสปน. อพท. หอการค้าไทย/สมาคมหอการค้าไทยและที่สำคัญมีภาคเอกชนคือสมาคมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) ร่วมคิดร่วมทำและขับเคลื่อนงานด้วยกันผู้ประกอบการและคณะวิจัยได้ร่วมกันออกแบบโปรแกรม/กิจกรรมการท่องเที่ยวให้เป็นที่ยอมรับระดับสากลเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพโดยผู้ประกอบการสามารถขายได้จริงสร้างรายได้ให้กับประเทศได้จริงอีกทั้งยังกระจายการนำแนวคิดCNT มาใช้ในการท่องเที่ยวต่างๆ กับฝั่ง Supplyอาทิการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม (ฝั่งอันดามัน/อ่าวไทย/เขตอุทยานแห่งชาติ) เชิงเกษตรวิถีแห่งสายน้ำเชิงอาสาสมัครเชิงกีฬาเป็นต้นปัจจุบันปี 2566 ทำให้มีผลิตภัณฑ์/เส้นทาง/บริการทางการท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ประกอบการและชุมชนที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นชุมชนกว่า 450 รายมีเครือข่ายระดับประเทศราว 10 หน่วยงานเครือข่ายระดับพื้นที่และDMC ราว 50 องค์กรรวมทั้งสถาบันการศึกษาจาก 20 มหาวิทยาลัยนักวิจัยมากกว่า 200 คน

กิจกรรมในครั้งนี้สื่อมวลชนจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างการรับรู้แก่สาธารณชนกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการทางการท่องเที่ยวรวมถึงชุมชนสังคมในพื้นที่ให้เห็นความสำคัญในการปรับกระบวนด้วยฐานงานวิจัยที่เน้นความยั่งยืนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ Press Trip จะมีการใช้งานแอพพลิเคชัน“Zero Carbon” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนววน. สกสว. โดยบพข. ภายใต้แผนงานท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมกับ อบก. TEATA และภาคีเครือข่ายโดยมีอบก. เป็นผู้ดำเนินการจัดทำและดูแลแอพพลิเคชันนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้เดินทางได้มีโอกาสร่วมทดสอบใช้งานเก็บข้อมูลและประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางหรือคาร์บอนฟุตพรินท์จากการเดินทางและการทำกิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆพร้อมดำเนินการจัดซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกิดจากอีเว้นท์ในครั้งนี้จนได้รับประกาศเกียรติคุณผ่านระบบของแอพพลิเคชันทั้งนี้บพข.เชื่อมั่นว่าแอพพลิเคชันดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการประเมินและชดเชยแบบอนุมานอย่างง่ายและรวดเร็วอีกทั้งมีส่วนสนับสนุนโครงการคาร์บอนเครดิตในประเทศอย่างต่อเนื่องและจะต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการนำพาประเทศไทยสู่ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในระดับสากลได้อย่างสมบูรณ์โดยบพข. พร้อมเป็นภาควิชาการที่หนุนเสริมการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งรัฐเอกชนสมาคมสถาบันการศึกษาเพื่อทำให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมแก้ไขPain point ของอุตสาหกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

นางรัชดาภรณ์ โออิน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่าการท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นับเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่หันมาดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบตัวส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งภาคธุรกิจและประชาชนได้กลับมาครึกครื้นอีกครั้งขณะที่ทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตคือทะเลชุมชนและอาหารเพราะเรามีทรัพยาการทางทะเลที่สวยงามและมีความอุดมสมบูรณ์เรามีชุมชนที่อัตลักษณ์อย่างย่านเมืองเก่าภูเก็ตรวมถึงอาหารการกินที่มีการใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นเราจึงใช้3จุดนี้เป็นจุดขายผนวกกับการท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ชุมชนหรือธุรกิจท่องเที่ยวเน้นการนำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวหันมาใช้วัสดุทางธรรมชาติมาเป็นแพคเกจจิ้งที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่ำกว่ามีการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ในการปรุงอาหารมีกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่รบกวนธรรมชาติอย่างการพายเรือคายัครวมถึงการปลูกป่าชายเลนเพื่อชดเชยคาร์บอนจึงอยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาสัมผัสวัฒนธรรมประเพณีและทรัพยากรธรรมชาติภูเก็ตเราพร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนใส่ใจทั้งเรื่องเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม

ด้านรศ.ดร.ธรรมศักดิ์ยีมินผู้อำนวยการแผนงานการท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติการท่องเที่ยวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์บพข. กล่าวว่างานวิจัยที่อยู่ภายใต้แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์บพข. ประกอบด้วยนักวิจัยมากกว่า200คนโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์แผนงานท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข.มีงานวิจัยที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคและทุกระบบนิเวศโดยมีความร่วมมือบูรณาการทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบการที่จะเข้ามาช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันประเทศกลุ่มผู้ประกอบการจะหนุนเสริมด้านการตลาดจนนำไปสู่การขายการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยงานวิจัยในลักษณะเชิงบูรณาการทำงานร่วมกัน

สำหรับงานวิจัย“การพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย”ได้ดำเนินการชดเชยการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลโดยแนวทางการแก้ปัญหาการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศด้วยธรรมชาติ (Nature-based solutions) เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศด้วยระบบคาร์บอนสีน้ำเงิน (Blue carbon) เช่นการปลูกป่าชายเลนการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเป็นต้นนอกจากนี้ยังมีการนำเสนอตัวอย่างของโปรแกรมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์สำหรับกิจกรรมดำน้ำตื้น4เกาะ (ทะเลแหวก) จังหวัดกระบี่โดยผู้ประกอบการจากRailay local travel ที่ถือเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลที่ผ่านการอบรมมาตรฐานการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยมีแผนการจัดการด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดีมีการจัดการดูแลเครื่องยนต์คู่มือแนะนำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบสองภาษาการลดขยะจากขวดน้ำและการจัดการอาหารว่างในระหว่างท่องเที่ยวเป็นต้น

สำหรับนายดอน ลิ้มนันทพิสิฐ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่าทางชุมชนได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัยมาออกแบบกิจกรรมที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงเช่นกิจกรรมท่องเที่ยวย่านเก่าวิถีใหม่ด้วยรถจักรยานรถจักรยานไฟฟ้าและสกู๊ตเตอร์ชมงานหลังบ้านด้านการจัดการพลังงานและขยะกิจกรรมSand Spa การจับจักจั่นทะเลและการปลูกผักลิ้นห่านที่ชุมชนไม้ขาวกิจกรรมนวดแผนไทยการมัดย้อมสีธรรมชาติและบาติกไขมันปาล์มผ้าที่ใช้แล้วเพื่อสร้างรายได้วิสาหกิจชุมชนและการทำเครื่องดื่มคาร์บอนต่ำจากวัตถุดิบชุมชนห้วยน้ำขาวเป็นต้นซึ่งในการดำเนินงานได้มีเครือข่ายชุมชมท่องเที่ยวเมืองเก่าภูเก็ตเป็นกำลังสำคัญที่หนุนเสริมร่วมกันมาอย่างต่อเนื่องโดยมีคุณสมยศปาทานเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต

ขณะที่นายนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) กล่าวว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นล้วนตอบโจทย์การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จากสิ่งที่ทำได้ง่ายจนถึงสิ่งที่ทำได้ยากไปตามลำดับเช่นเริ่มจากการปฏิเสธการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวการรับประทานอาหารเมนูคาร์บอนต่ำที่เลือกใช้วัตถุดิบหลักแบบหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์จากฟาร์มเน้นวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเพื่อลดระยะทางในการขนส่งวัตถุดิบจากสถานที่อื่นซึ่งเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนจากภาคการขนส่งการวางแผนการใช้วัตถุดิบอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยปรับเป็นจัดเสิร์ฟแบบเฉพาะคนหรือกำหนดปริมาณเองเพื่อช่วยกันลดอาหารเหลือและส่งเสริมให้มีการจัดการใช้ประโยชน์จากเศษอาหารลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและติดตั้งพลังงานสะอาดเพิ่มเติมเมื่อมีความพร้อมเลือกที่พักที่มีนโยบายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงานฟอสซิลลงการสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศเช่นแหล่งหญ้าคาทะเลเพื่อเป็นเครื่องมือชดเชยการปล่อยคาร์บอนเพิ่มความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนในอนาคตซึ่งจะมีผลกระทบเชิงบวกระยะยาวต่อระบบนิเวศรวมถึงการท่องเที่ยวในชุมชนที่มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและกระบี่ได้ดำเนินการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ตั้งแต่การเดินทางจากกรุงเทพด้วยแอพพลิเคชั่นZero Carbon ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวน11.02ตัน(tCO2eq) ทำการชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิตทั้งหมดรวมทั้งสิ้น12ตัน(tCO2eq) จนได้รับประกาศเกียรติคุณจากอบก. ในรูปแบบการรับรองตนเองที่ง่ายรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการรับรองแบบอื่นมากทั้งนี้ในอีเว้นท์ท่องเที่ยวครั้งนี้มีการจัดการเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินท์จากเส้นฐาน(ถ้าไม่มีการจัดการใดๆเลย)กว่า15%เช่นกรณีของการเดินทางโดยเครื่องบินที่ถือเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลักของอีเว้นท์ครั้งนี้ได้มีการปรับโดยมีบางส่วนของคณะเดินทางเป็นแบบรถตู้แทนมีการเลือกใช้บริการสายการบินที่มีนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างชัดเจนรถตู้ที่ให้บริการงดการแจกผ้าเย็นและน้ำขวดในพื้นที่ต่างๆก็มีการปรับใช้พาหนะท้องถิ่นเพื่อใช้ท่องเที่ยวในพื้นที่เช่นรถโพถ้องซาเล้งจักรยานไฟฟ้าเป็นต้นมีการเตรียมพื้นที่จัดอีเว้นท์ในแต่ละจุดให้เป็นในที่เปิดโล่งแทบทั้งหมดและเลือกจัดเสวนาในสมาคมไทยหัวซึ่งมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งมีการเลือกที่พักที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและเลือกที่พักที่ระดับดาวต่ำลงในบางส่วนเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินท์จากการพักแรมจัดการเมนูอาหารอย่างประณีตเพื่อลดอาหารเหลือในแต่ละมื้อรวมไปถึงการเตรียมตัวให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมลดขยะจากต้นทางรวมถึงยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาสาเพื่อฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลแจกของที่ระลึกจากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติและอีกหลายอย่างที่ทำให้สามารถลดการปล่อยจากเส้นฐานลงไปได้นับเป็นจุดเริ่มต้นจากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสุทธิเป็นศูนย์อย่างเป็นรูปธรรม

เป้าหมายความสำเร็จของแผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มCNT ในช่วง5 ปี (ปี2566-2570) มุ่งให้ประเทศไทยเป็นNet Zero Tourism ด้วยการสร้างการวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวร่วมกับผู้ประกอบการโดยยกระดับจากการท่องเที่ยวแบบปกติให้เป็นการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และขยับเป้าหมายสู่การท่องเที่ยวที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ที่สามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคุณภาพเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสังคมควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกัน  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน