In News
กสม.ได้เสนอแนะครม.ให้ปรับแก้กฎหมาย อำนาจควบคุมตัวคดียาเสพติดเพื่อสืบสวน
กรุงเทพฯ-คณะรัฐมนตรี รับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550
วันนี้ (2 ม.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (2 มกราคม 2567) มีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง อำนวยการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอและแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
ข้อเสนอแนะของ กสม. | สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม |
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้ ยธ. โดย กพยช. ดำเนินการ ดังนี้ 1. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 เพื่อยกเลิกมาตรา 11/6 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยให้ใช้วิธีสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากมีความจำเป็นที่จะต้องสอบสวนขยายผลในคดียาเสพติด หรือมีเหตุจำเป็นอื่นที่ต้องขยายระยะเวลาการควบคุมตัวให้ผู้จับกุมหรือควบคุมตัวต้องร้องขอต่อศาลเพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อการสอบสวนหรือดำเนินการอื่น 2. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาพุทธศักราช 2477 เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสาม1 เป็น “ในกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวและมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือการฟ้องคดีให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลา ที่ผู้นั้นถูกจับ ...” (ตัดข้อความต่อไปนี้ออก “ถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83” คง “เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสี่ยได้ ... หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้” ไว้) 3. หารือกับผู้รักษาการตามหระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 วรรคหนึ่งเป็น “ในกรณีที่พนักงานสอบสวนได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมทันทีภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับ” และให้ตัดข้อความต่อไปนี้ออก “แต่มิให้นับเวลา เดินทางตามปกติที่นำตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนมาศาลเข้าในกำหนดเวลายี่สิบสีชั่วโมงนั้นด้วย |
1. ประเด็นที่ 1 (ข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 1) การยกเลิกอำนาจการควบคุมตัวผู้ถูกจับในคดียาเสพติดไว้เพื่อสืบสวนสอบสวนได้เป็นเวลาไม่เกิน 3 วัน ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 โดยยกเลิกมาตรา 11/6 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยให้ใช้วิธีสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2. ประเด็นที่ 2 (ข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 2 และ 3) การแก้ไขการเริ่มนับระยะเวลาที่จะต้องนำตัวผู้ถูกจับกุมไปพบศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับกุมที่จะได้พบศาลโดยพลัน โดยแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสาม และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องยกเลิกมาตราดังกล่าวในประเด็นที่ 1 และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวในประเด็นที่ 2 โดยมีข้อเสนอแนะว่า 1. ควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตระหนักและให้ความสำคัญกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2. ควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนโดยเปลี่ยนจากการสอบสวนที่ใช้การพิมพ์ไปสู่ระบบการบันทึกภาพและเสียงเพื่อช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจส่งผลให้มีการปรับลดระยะเวลาในการควบคุมตัวในอนาคตต่อไป 3. ควรให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อพิจารณาว่ามาตราดังกล่าวยังคงมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ |