In News
รับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อ การคุ้มครองสิทธิเด็กคลอดก่อนกำหนด
กรุงเทพฯ-ครม. มีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก กรณีการเข้าถึงบริการสุขภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนด
วันนี้ (2 ม.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (2 มกราคม 2567) มีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก กรณีการเข้าถึงบริการสุขภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เสนอรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก กรณีการเข้าถึงบริการสุขภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนด ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม. | สรุปผลการพิจารณาไปภาพรวม | ||||
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้ สปสช. พิจารณากำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่สามารถเบิกได้ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ต้องส่งต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐและเพื่อให้โรงพยาบาลของรัฐที่ดูแลทารกดังกล่าวไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่สามารถเบิกได้ |
1.สธ.ได้กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการดูแลรักษาทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่สามารถเบิกจ่ายได้ โดยการทบทวนข้อมูลจากฐานข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี จากโรงพยาบาลเด็กและโรงพยาบาลศูนย์ ทั้ง 7 แห่งทั่วประเทศ พบว่าการเบิกจ่ายเดิมเบิกได้ ร้อยละ 17-57.39 ของค่าใช่จ่ายจริง หากจะให้เบิกจ่ายให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริงและเหมาะสม ดังนี้
3.หน่วยงานที่เกียวข้องมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 3.1 อว. เห็นว่า ควรพิจารณาเป็นทารกแรกเกิดป่วยทั้งหมด (ทารกครบกำหนดและก่อนกำหนด) เพื่อผู้ให้บริการทั้งหมดไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่สามารถเบิกได้ และควรปรับอัตราจ่ายชดเชยกลุ่มทารกที่คลอดก่อนกำหนดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาที่ซับซ้อนขึ้น รวมทั้งควรกำหนดเงื่อนไขรายการค่าใช้จ่ายที่สามารถเบิกได้ให้ชัดเจนตามหลักความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 3.2กทม.เห็นว่าควรนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณา เช่น จำนวนโรงพยาบาลทุกสังกัดที่มีศักยภาพ เรื่องการคลอดก่อนกำหนดและมีความประสงค์จะร่วมให้บริการ และควรสนับสนุนงบประมาณเป็นขั้นตอนตามจำนวนผู้รับบริการ |
||||
2.ให้สธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาบุตรของแรงงานข้ามชาติที่ไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น | 1.สธ.มีแนวทางการแก้ไขตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2562 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม หรือสัญชาติอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพิ่มเติมที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมพร้อมผู้ติดตามทุกรายในช่วงระยะเวลาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยและอนุญาตให้ทำงานเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงาน 2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 2.1 กห.เห็นควรให้มีการส่งเสริมให้ทำเอกสารเข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมายและซื้อประกันสุขภาพให้บุตรเมื่อแรกเกิด ในกรณีที่มารดาเป็นแรงานต่างด้าว 2.2อว.เห็นควรให้มีการดำเนินการโดยรีบด่วน เนื่องจากทารกแรกเกิดที่ป่วยและเกิดจากมารดาต่างด้าวเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้โรงพยาบาลต่าง ๆ สูญเสียงบประมาณโดยที่ไม่สามารถเรียกเก็บจากผู้ปกครองได้ควรพิจารณาให้มีกองทุนที่เข้ามาดูแล และควรมีระบบประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวทุกคนด้วย เพราะหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพและขาดการดูแลครรภ์ที่ดี มีความเสี่ยงในการคลอดทารกป่วยสูง 2.3กทม. เห็นควรศึกษาต้นทุนต่อหน่วยสำหรับบริการสุขภาพที่จำเป็นสำหรับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้ราคาไม่สูงเกินไป เช่น ค่าวัคซีนพื้นฐาน |
||||
3.ให้สธ. จัดสรรอุปกรณ์/เครื่องมือเฉพาะที่จำเป็น เช่นตู้อบเด็กทารกแรกเกิด เครื่องช่วยหายใจเพื่อสนับสนุนการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดอย่างเพียงพอ และพิจาณาเพิ่มอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในโรงพยาบาลของรัฐให้สอดคล้องกับจำนวนทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่รับไว้ดูแล | 1.สธ.ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1.1คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาทารกแรกเกิดได้สำรวจอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และบุคคลกร เพื่อสนับสนุนระบบบริการดูแลรักษาทารกคลอดก่อนกำหนด รวมถึงเครือข่ายระบบส่งต่อทั้งในและนอกเขตสุขภาพ มีการกำกับติดตามเพื่อพิจารณาจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอมาโดยตลอด ปัจจุบันมีสัดส่วนเตียงทารกแรกเกิดวิกฤตต่อจำนวนเด็กเกิดมีชีพเพิ่มมากขึ้น อยู่ที่ 1 : 321 เครื่องมือ/อุปกรณ์ต่าง ๆมีความเพียงพอมากขึ้น 1.2ด้านอัตรากำลังของบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการดูแลทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลของรัฐ พบว่า ปัจจุบันมีกุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดในเขต 1-12 เพียง 77 คน ขณะที่มีจำนวนเตียงที่ต้องดูแล 1,135เตียงยังขาดแคลนอยู่อีก 102 คน (ต้องมีกุมารแพทย์ทารกแรกเกิด179คน)และกุมารแพทย์ทารกแรกเกิดในเขต13(กทม.)ยังมีการกระจายตัวที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากมีบุคลากรลาออก ย้ายออกไปทำหน้าที่ในสาขาอื่น ๆ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 1.3ด้านพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิดยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณเตียงทั้งประเทศ 1,135 เตียง ซึ่งควรมีพยาบาลผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางในอัตราส่วน 1 : 2 คิดเป็น 568 คน ปัจจุบันกำลังสำรวจจำนวนเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน ยังขาดข้อมูลเขต 13 และปัญหาการจัดการฝึกอบรม ซึ่งใช้เวลานาน 4 เดือน และใช้ครูพยาบาลจำนวนมาก และมีข้อจำกัดจากเกณฑ์ของสภาพยาบาล ซึ่งต้องควบคุมคุณภาพการฝึกอบรม ทำให้แต่ละสถาบันผลิตพยาบาลเฉพาะทางได้จำนวนน้อยต่อปี เนื่องจากเป็นงานที่ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีภาระงานที่ยากและต่อเนื่องจึงควรมีการสนับสนุนทั้งในด้านการผลิตบุคลากรเพิ่ม การให้ความก้าวหน้าในวิชาชีพอย่างเหมาะสมทั้งในด้านค่าตอบแทน ค่าเวร ค่าวิชาชีพที่สะท้อนถึงภาระงานจะช่วยให้บุคลากรคงอยู่ระบบราชการ 1.4 สธ.กำลังสำรวจจำนวนพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิดที่ยังคงอยู่ในระบบว่าคงเหลือเท่าใด เพื่อวางแผนเพิ่มศักยภาพการฝึกอบรมทั้งกุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด 2.อว. เห็นว่า การดูแลทารกแรกเกิดป่วยต้องการหน่วยสนับสนุนจำนวนมากไม่ใช่แค่หอผู้ป่วย เช่น ห้องเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำ ห้องเตรียมนม คลีนิกนมแม่ เป็นต้น และการพิจารณาเพิ่มอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐให้สอดคล้องกับจำนวนทารกคลอดก่อนกำหนดที่รับไว้ดูแล ควรพิจารณาเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับค่าตอบแทนบุคลากรดังกล่าว ในฐานะผู้เชี่ยวชาญต่อจำนวนทารกคลอดก่อนกำหนดที่รับไว้ดูแลให้ชัดเจนเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันและเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการงบประมาณในเชิงรุกได้ต่อไป 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 3.1 กห.โรงพยาบาลในสังกัดที่มีศักยภาพในการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านทารกแรกเกิด ดังนี้ 1)โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า3 คน 2)โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 3 คน และ 3) โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 1 คน และมีการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์สามารถให้การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดตลอด 24 ชั่วโมง 3.2 กทม. เห็นควรมีการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นในระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิและจัดทำทะเบียนผู้เชี่ยวชาญพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อติดต่อประสานงาน |
||||
4.ให้สธ.และสปสช. จัดให้มีระบบการส่งต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่บูรณาการระหว่างโรงพยาบาลของรัฐที่สังกัดหน่วยงานต่าง ๆ และโรงพยาบาลเอกชนที่มีขีดความสามารถในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้โดยเร็ว เพื่อให้การส่งต่อมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับขีดความสามารถของโรงพยาบาลในการดูแล กรณีมีเหตุสมควรอาจพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ขยายระยะเวลาการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่อยู่ในภาวะวิกฤติให้ได้รับการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็ก | 1.สธ.ได้สร้างระบบเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยทารกแรกเกิดไว้ทั้งในและนอกเขตสุขภาพ ส่วนการบูรณาการกับโรงพยาบาลเอกชนที่มีขีดความสามารถในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการหารือร่วมกันกับ สปสช. 2.สปสช.โดย 1330 พร้อมเป็นศูนย์ประสานการส่งต่อ ติดต่อประสานหาเตียง) และจัดระบบการส่งต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดในพื้นที่ กทม. และเขตปริมณฑล พร้อมทั้งได้จัดเตรียมสถานพยาบาลสำรองเตียงสำหรับการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนด ไว้แล้ว 1 แห่ง (17 เตียง) และจะจัดหาสถานพยาบาลสำรองเตียงเพิ่มเติม รวมทั้งหน่วยบริการเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีศัยกภาพในการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดให้เพียงพอ กรณีพื้นที่เขต 1-12 ซึ่งหน่วยบริการสังกัด สธ. ดูแลครอบคลุมพื้นที่นั้น สปสช. พร้อมสนับสนุนการจัดระบบการส่งต่อที่ดำเนินการโดย สธ. 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 3.1กห.เห็นควรหาสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดในมารดาและหาแนวทางในการป้องกัน เช่น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น น้ำหนักมารดาก่อนตั้งครรภ์ต่ำเกิดไปหรือสูงเกิดไป โรคเรื้อรังในมารดา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ หรือภาวะซีดในมารดา การฝากครรภ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์และลดการคลอดก่อนกำหนด 3.2อว. ควรกำหนดกรอบเวลาการส่งต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดให้สอดคล้องกับระยะทางระหว่างโรงพยาบาลต้นทางและปลายทางรวมถึงข้อจำกัดอื่น ๆ ในการส่งต่อให้ชัดเจนเพื่อจะสามารถเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประเมินประสิทธิผลในการดำเนินการได้อย่างเหมาะสมต่อไป 3.3 รง.เห็นควรดำเนินการ ดังนี้ 1)ให้สธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับคุณภาพของสถานพยาบาลที่ให้บริการดูแลสุขภาพทารกที่คลอดก่อนกำหนดให้เป็นไปตามาตรฐานและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 2)ควรกำหนดอัตราการจายค่าบริการทางการแพทย์กรณีการรักษาทารกที่คลอดก่อนกำหนดให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงของสถานพยาบาล เพื่อเป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานให้สถานพยาบาบที่ให้บริการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดสามารถเบิกได้จากงบประมาณของรัฐ 3.4กทม.เห็นควรให้จัดทำเป็นระบบการส่งต่อทั้งภาครัฐและเอกชนในแต่ละพื้นที่ |
||||
5.ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม | 1.พม.เห็นว่าการช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ในการปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม 2.มท.ได้ดำเนินการตามแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะในการสนับสนุนมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก กรณีการเข้าถึงบริการสุขภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยส่วนราชการและภาคีเครือข่ายสามารถสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ได้ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป |