EDU Research & ESG

วว.โชว์กิจกรรมในงานถนนสายวิทย์2567 'สถานีสีเขียว:นวัตกรรมทำขยะเป็นเงิน'



กรุงเทพฯ-วว. โชว์กิจกรรม “สถานีสีเขียว: นวัตกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงิน”ในงานถนนสายวิทยาศาสตร์ 2567

นางสาวศุภมาสอิศรภักดีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นประธานเปิดงาน SCIENCE AVENUEถนนสายวิทยาศาสตร์  รับวันเด็กแห่งชาติ 2567ซึ่ง อว. จัดขึ้นระหว่างวันที่  12-13 มกราคม 2567ณ กระทรวง อว.ถนนโยธีภายใต้แนวคิด “เด็กช่างคิด วิทย์สร้างฝัน”ในการนี้ นายเพิ่มสุขสัจจาภิวัฒน์ปลัดอว.  คณะผู้บริหารหน่วยงานอว. พร้อมด้วย  ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิตผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  และบุคลากร ร่วมเป็นเกียรติโดย วว. ได้ร่วมจัดกิจกรรมรักษ์โลกด้วยนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพน้องๆ หนูๆในโอกาสนี้ด้วยผ่านกิจกรรม "สถานีสีเขียว ตอน  นวัตกรรม วว. เปลี่ยนขยะเป็นเงิน" และโชว์/สาธิต"ตู้อัจฉริยะ..รวบรวมและคัดแยกวัสดุรีไซเคิลแบบอัตโนมัติ"ซึ่งน้องๆ และผู้ปกครองได้ร่วมสนุก  “แยกพลาสติกก่อนทิ้ง รีไซเคิลต่อได้” และร่วมเล่นเกมรักษ์โลก อาทิ  เกมคิดส์ก่อนเท... แยกก่อนทิ้งเกมคิดส์รู้...คิดส์รักษ์  เกมรู้หรือไม่?...ขยะแต่ละชนิดใช้เวลาสลายตัวนานเท่าไร โดย วว. มุ่งหวังให้ความรู้ฝึกสมองต่อยอดความคิดจินตนาการและสร้างแรงบันดาลใจนักวิทย์น้อยต่อไป(วันที่ 12 ม.ค.2567 ณ กระทรวงอว.)

ทั้งนี้ วว. เป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานแกนหลักร่วมกับพันธมิตรดำเนินงานขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจBCG  ภายใต้โครงการตาลเดี่ยวโมเดลจัดการขยะสู่พลังงานและสร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนของชุมชนณตำบลตาลเดี่ยวอำเภอแก่งคอยจังหวัดสระบุรีโดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมิต  ของ วว.มีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ด้านการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืนและมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยใช้วทน. จัดการขยะชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ซึ่งเป็นการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดจากหิ้งสู่ห้างปัจจุบันโครงการตาลเดี่ยวโมเดล จังหวัดสระบุรี ได้เป็นต้นแบบในการจัดการขยะชุมชนที่เป็นรูปธรรมซึ่งได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางนำเทคโนโลยีการจัดการขยะที่เหมาะสมของวว. ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ต่อไปอย่างยั่งยืน