Authority & Harm
'ราชทัณฑ์'จับมือมทร.กรุงเทพ-กูรูอาหาร ร่วมหนุนฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง
นนทบุรี-กรมราชทัณฑ์ จับมือ มหาวิทยาลัยเทศโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาหารร่วมสนับสนุนการฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง
วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เรือนจำกลางนครปฐมนายสหการณ์เพ็ชรนรินทร์อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)ว่าด้วยการคืนคนดีสู่สังคมโดยการฝึกวิชาชีพการประกอบอาหารให้แก่ผู้ต้องขัง ระหว่างกรมราชทัณฑ์กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาหารโดยมีรศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ นายสุทธิพงษ์ สุริยะ (อ.ขาบ) Food stylist รางวัลออสการ์อาหารโลก และนายแบรด ชื่นสมทรง Master Chef Thailand ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวพร้อมด้วยนายขวัญไชย สันติภราภพ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครปฐม และนางสาววริศราศิริสุทธิเดชา เลขานุการกรมรักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองพัฒนาพฤตินิสัยร่วมเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงฯ และ
ให้การต้อนรับ
นายสหการณ์เพ็ชรนรินทร์อธิบดีกรมราชทัณฑ์กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเรียนรู้สนับสนุนการพัฒนาพฤตินิสัยให้กับผู้ต้องขัง เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพเพื่อให้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวภายหลังพ้นโทษ ป้องกันการกระทำผิดซ้ำโดยกรมราชทัณฑ์ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริม และสนับสนุนเครื่องมือการจัดการความรู้ พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการประกอบอาหารต่างๆ โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญเข้ามาให้ความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ต้องขังกลับสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนอีกทั้ง การดำเนินการดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายรวมพลังขับเคลื่อน 8 มิติ ยกระดับสร้างความเปลี่ยนแปลงในมิติที่เกี่ยวกับการพัฒนาพฤตินิสัย โดยเฉพาะการพัฒนาและต่อยอดการฝึกวิชาชีพ
ที่สอดคล้องกับตลอดแรงงาน โดยอาศัยศักยภาพของทรัพยากรที่มีได้อย่างเหมาะสม
นายสหการณ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่ากรมราชทัณฑ์ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาหารและออกแบบอาหารที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝึกวิชาชีพด้านการประกอบอาหารให้แก่ผู้ต้องขังตลอดจนหน่วยงานภาคีที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนให้โอกาสกับผู้ต้องขังได้นำความรู้ไปเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพภายหลังการพ้นโทษเพื่อสร้างโอกาสและได้รับการยอมรับจากสังคม โดยไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก