Think In Truth

อาณาจักรฟูนัน...ดินแดนแห่งการเหยียด เชื้อชาติ โดย : ฟอนต์ สีดำ



อย่างที่เราทราบกันดีตามการศึกษาประวัติศาสตร์จากระบบการศึกษาของประเทศไทย ที่ไม่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของตนเองมากนัก จึงเขียนประวัติศาสตร์ตามบันทึกของชาวจีนบ้าง และชาวยุโรปที่อ้างตนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี เอเชียตะวันออก ดังนั้น ประวัติศาสตร์ที่นำมาสอนให้เยาชนไทยได้เรียนรู้จึงไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ สอดคล้องกับบริบททางสังคมของคนในภูมิภาคที่พวกนักสำรวจทั้งหลายได้บันทึก และถูกนำมาเขียนเป็นตำราทางประวัติศาสตร์สืบทอดกันมาในระบบการศึกษา

ตามวีกิพีเดียร์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันไว้ดังนี้ ฟูนาน หรือ ฟูนัน ภาษาจีนเรียก ฝูหนาน (จีน: 扶南; พินอิน: Fúnán) หรือ ป๋าหนาน (จีน: 跋南; พินอิน: Bánán), ภาษาเวียดนามเรียก ฝู่นาม (เวียดนาม: Phù Nam) ภาษาเขมรเรียก หวู-ณน (เขมร: ហ្វូណន หฺวูณน) หรือ นครพนม (เขมร: នគរភ្នំ นครภฺนํ) เป็นชื่อรัฐหรือมณฑลโบราณ มีศูนย์กลางอยู่ ณ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง และได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เชื่อว่า ดำรงอยู่ราว 600 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 6

ชื่อต่าง ๆ ที่ปรากฏข้างต้นนี้เป็นชื่อที่ตั้งให้ในปัจจุบัน แต่ไม่ปรากฏในเอกสารใด ๆ จากยุคสมัยดั้งเดิม และผู้คนดั้งเดิมเรียกตนเองหรือดินแดนของตนเองว่าอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่รับทราบ อนึ่ง มีผู้เห็นว่า คำ "ฝูหนาน" ในภาษาจีนนั้นมาจาก "ภฺนํ" (พนม) ในภาษาเขมร ใช่แต่ชื่อดินแดนจะเป็นที่ถกเถียง ลักษณะทางภาษาและชาติพันธุ์ของผู้คนในดินแดนนี้ก็ยังอภิปรายกันอยู่ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ แม้หลักฐานเท่าที่มียังไม่ช่วยให้ได้ข้อยุติ แต่สุมมติฐานกระแสหลักเห็นว่า ชาวฟูนันส่วนใหญ่เป็นมอญ–เขมร หรือเป็นออสโตรนีเชียน หรือเป็นสังคมหลากชาติพันธุ์ ไมเคิล วิกเกอรี (Michael Vickery) นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกำหนดว่า ชาวฟูนันใช้ภาษาอะไรกัน แต่สามารถสันนิษฐานได้อย่างแข็งขันจากหลักฐานทั้งหลายว่า ประชากรฟูนันเป็นเขมร ข้อสันนิษฐานเรื่องความเป็นเขมรนี้ยังสอดคล้องกับผลการค้นคว้าทางโบราณคดี ณ อูร์แก้ว (ฝรั่งเศส: Óc Eo, จาก เขมร: អូរកែវ อูรแกว, แปลว่า "คลองแก้ว") ดินแดนโบราณในเวียดนามใต้ ที่ปรากฏว่า ชุมชนอูร์แก้วกับชุมชนก่อนยุคพระนคร (pre-Angkorian) นั้นมีความสืบเนื่องกันอยู่ และบ่งบอกว่า ดินแดนในปกครองของฟูนันนั้นใช้ภาษาเขมรกันแพร่หลาย

การวิจัยทางโบราณคดีได้ผลลัพธ์ว่า ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีชุมชนมนุษย์อาศัยมาอย่างน้อย 400 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนฟูนันนั้น เอกสารโบราณจีนทำให้เชื่อว่า ก่อตั้งขึ้นในบริเวณนี้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์จีนแต่โบราณเห็นว่า ฟูนันเป็นดินแดนอันหนึ่งอันเดียว แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่เห็นว่า ฟูนันน่าจะเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายรัฐที่มารวมตัวกัน และบางทีก็รบรากันเอง หลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งรวมถึงข้าวของเครื่องใช้และสินค้าจากจักรวรรดิโรมัน, จีน, และอินเดีย อันขุดได้ที่อูร์แก้วนั้น แสดงว่า ฟูนันเคยเป็นย่านการค้าที่มีอำนาจมาก การขุดค้น ณ อังกอร์บุรี (អង្គរបុរី องฺครบุรี; Angkor Borei) ในกัมพูชาใต้ ได้ผลทำนองเดียวกันว่า ฟูนันเป็นชุมชนสำคัญ และด้วยเหตุที่อูร์แก้วมีระบบคูคลองเชื่อมต่อออกไปยังท่าเรือและอังกอร์บุรี จึงเป็นไปได้ว่า สถานที่เหล่านี้โดยรวมแล้วอาจได้แก่ดินแดนศูนย์กลางของฟูนัน

สรุปความก็คือ อาณาจักรฟูนันยังไม่มีความชัดเจนทางข้อมูลที่ถูกต้อง และคำว่าฟูนัน มีคุณสมบัติเป็นอาณาจักรหรือไม่ก็ยังตอบไม่ได้ การนำข้อมูลที่เอาเพียงสมมติฐานกระแสหลัก มาเป็นตำราประวัติศาสตร์เพื่อถ่ายทอดให้กับเยาวชนในระบบการศึกษาของไทยเองก็ยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และขาดความรู้ที่เป็นรากเหง้าของตนเองที่สัมพันธ์กับสังคมภายนอก

ถ้าจะวิเคราะห์ตามข้อมูลที่ได้มาจากวีกิพีเดียร์ ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเลยว่า เป็นข้อมูลของนักสำรวจชาวจีน ที่เข้ามาบริเวณชายฝั่งเวียดนามปัจจุบัน และคงจะมีการเก็บข้อมูลจากคนท้องถิ่นด้วยการสื่อสารที่ต่างกัน จึงทำให้มีการสื่อสารที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างร้อยเปอร์เซนต์ ฝูหนาน (จีน: 扶南; พินอิน: Fúnán) น่าจะฟังมาจากภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างนักสำรวจกับชนชั้นทาสที่เรียกกันว่า กรเมญร์ ชาวเขมรจึงให้ข้อมูลว่าเป็นพื้นที่ป่าเขา หรือ พนม นักสำรวจจีน จึงบันทึกรายงานเป็นชาวเมืองพนม หรือ นครพนม (เขมร: នគរភ្នំ นครภฺนํ) และระบุถึงศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากน้ำโขง ซึ่งน่าจะหมายถึงเมืองออกแอว (Oc-EO) ซึ่งเดิมเป็นที่รู้จักของชาวสยามเทศบริเวณนั้นคือเมืองชวา ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรขอม ของจักรวรรดิสยาม

จักรวรรดิ์สยาม ตามข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ชาวฮ่องกง Alex Tsui ระบุในบทความของเขาที่ได้เผยแพร่ทางเฟชบ็คส่วนตัวเรื่อง Solid Stone That Talk Never Line ว่า จักรวรรดิ์สยาม มีอยู่สองอาณาจักร คืออาณาจักรสยาม ในที่นี้เขาได้ระบุพื้นที่อยู่ทางภาคเหนือไทย , พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง , ภาคกลางทางตะวันตกเจ้าพระยา ลงไปจรดแหลมมลายู ฟิลลิปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งผมขอเรียกตามชื่อเดิม ที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทยนะครับ ว่าเป็น “อาณาจักรอินทรปัตย์” เพราะเป็นอาณาจักรที่นับถือศาสนาผี ที่เคารพพระอินทร์ เป็นเทพสูงสุด และอาณาจักรละโว้ ในที่นี้ผมขอเรียกเป็น “อาณาจักรขอม” ซึ่งก็พอเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักประวัติศาสตร์ไทยกันอยู่บ้างแล้ว ซึ่งอาณาจักรขอมนี้ เป็นอาณาจักรที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ที่เคารพพระพรหมเป็นเทพสูงสุด ซึ่งจะมีอิทธิพลครอบคลุมอีกสานใต้ พิมาย ไปทางตะวันออก จรดชายฝั่งเวียดนาม เว้นแต่ทางเวียดนามเหนือ ที่นักประวัติศาสตร์เรียดว่าอาณาจักรไดเวียด ที่จริงตรงนั้น รวมไปจนถึงกวางสี พื้นที่นั้นอยู่รวมในอาณาจักรอินทรปัตย์ ซึ่งมีเมืองลอ เมืองแถง กลุ่มศาสนาผี หรืออาณาจักรอินทรปัตย์เชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของพระอินทร์

ดังนั้นคำว่าอาณาจักรฟูนัน จึงเป็นความเข้าใจผิดของนักประวัติศาสตร์ยุคฝรั่งหัวขโมย ที่ขโมยวัตถุโบราณจากอาณาจักรขอม  ออกไปขาย แล้วชุบตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อขายวัตถุโบราณได้ราคาสูง เหมือนกับพวกเซียนพระ ถ้าตนเองได้รับเกียรติเป็นเซียนพระแล้ว ก็จะกำหนดราคาพระเครื่องได้สูง หรือต่ำได้ เพียงแค่ชี้ว่าแท้หรือปลอม จากที่ตนเองชุบตัวเป็นเซียนพระแล้ว

ฟูนัน เป็นเพียงการเขียนรายงานพื้นที่ของนักสำรวจจีน ที่บอกฮ่องเต้ว่า ตรงนั้นเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน เป็นพวกคนป่าคนเขา “นครพนม” “คนพนม” นั่นคือที่มาของคำว่า “ฝูหนาน” ซึ่งนักสำรวจชาวจีน ได้เข้ามาสำรวจ พบทรัพยากรที่สำคัญ ที่เป็นที่นิยมของคนจีน คือ “หมูป่า” ซึ่งมีจำนวนมากมาย การนำเนื้อหมูส่งออกขายให้กับจีนจึงเพิ่มขึ้น จึงทำให้เนื้อหมูกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ หมูป่าจึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของคนในอาณาจักรขอม จนถงมีการแกะสลักคนหามหมูมาขายในกำแพงวัดอังกอร์ การบันทึกรายงานถึงตลาดเนื้อหมูจึงกระจายออกไปจนถึงดินแดนที่ราบสูงอีสานใต้ ซึ่งการรายงานเขาเขียนด้วยคำว่า 豬肉 อ่านว่า “จูโร่ว” แปลว่าเนื้อหมู ฝรั่งหัวขโมยก็เอามาเขียนเป็นอาณาจักรเจนละ นักโบราณคดีไทยและนักประวัติศาสตร์ไทยก็เอาข้อมูลที่ผิดๆ ตามฝรั่งหัวขโมย พวกนั้นไปด้วย และยังนำมาเขียนประวัติศาสตร์สอนเยาชนให้รับความรู้ที่ไม่จริงตามไปด้วย

ยิ่งเอาทำเนียบกษัตริย์ของอาณาจักรฟูนันมาลำดับ ก็ยิ่งพบว่า ไม่สอดคล้องกับความจริง ตามตำนานของจักรวรรดิ์สยามเลย เช่นกษัตริย์คนแรก คือพระนางราชินีโสมา ปกครองฟูนัน พ.ศ. 611พอแต่งานกับแขกทมิฬ แล้วสถาปณาตนเป็นกษัตริย์ปกครองฟูนันต่อจากโสมาราชินี นามพระเจ้าโกณฑิณญวรมันต์เทวะ ซึ่งนั่นยิ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลหลักศิลาจารึกของพระเจ้าจิตเสน ที่ระบุว่าพระเจ้าโกณฑิณญวรมันต์เทวะ เป็นกษัตริย์ต้นราชวงศ์ “วรมันต์” แห่งพระนคร ที่ระบุถึงอาณาจักรเจนละอยู่ในช่วง พ.ศ. 611 – 1170 นั้นก็ไม่เป็นความจริง เป็นการเอาบันทึกของชาวจีนมาเขียนอะไรก็ได้ เพียงเพื่อขายวัตถุโบราณ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น โดยไม่สนใจว่าข้อมูลนั้นจะถูกหรือผิดแต่อย่างได แต่ที่สำคัญ คือนักโบราณคดีไทยและนักประวัติศาสตร์ไทยก็ไม่ได้ตรวจสอบ ไม่ได้วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ถึงความเป็นไปได้ของข้อมูลแต่อย่าได ก็หลับหูหลับตาคัดลอกเนื้อหามาเขียนเรื่องราวทางประติศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลที่ผิดๆ ให้กับสังคมไทยได้เข้าใจรากเหง้าของตนเองแบบผิดๆ ตามไปด้วย จนส่งผลร้าย ที่ประเทศเพื่อบ้านก็แอบอ้างและเคลมวัฒนธรรมแบบหน้าด้านๆ โดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของอริธรรมเหล่านั้น แล้วนักวิชาการเหล่านั้น ที่ทั้งประดิษฐ์คำและถ่ายทอดประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบอะไร ปล่อยเกิดความเข้าใจผิดที่เอาชื่อพื้นที่แห่งการเหยียดเชื้อชาติ มากำหนดเป็นอาณาจักที่ทำให้คนในสังคมรุ่นหลังเสพข้อมูลที่ผิดๆ แถมยังปล่อยให้สังคมออนไลน์เปิดศึกคีย์บอร์ด บนสนามรบไซเบอร์กันอย่างหนัก ซึ่งถ้ายังคงปล่อยให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดความขัดแย้งอยู่อย่างนี้ นานวันเข้าก็จะกลายเป็นสงครามแห่งการวิวาทจริงๆ ซึ่งก็เริ่มต้นขึ้นแล้วจากการแข่งขึ้นก็ฬาซีเกมส์ เรื่องนี้รัฐบาลและนกวิชาการทางโบราณดี นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ และบันฑิตยสภา จำเป็นต้องออกมาสร้างความชัดเจนทางประวัติศาสตร์ โดยที่ไม่ต้องเป็นคนชี้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร แต่ให้เป็นคนกลางสร้างการมีส่วนร่วมในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเชิงประวัติศาสตร์ ที่มีเวทีเสวนาอย่างประณีประนอม เพื่อหาความจริงที่ยอมรับอย่างเป็นสากล โดยไม่รังเกียจแม้แต่เรื่องที่เป็นนิทาน ตำนาน หรือเรื่องบอกกล่าว