Think In Truth

บท'ชุมนุมเทวดา' ชี้ชัด...!ไม่มีการเชิญ เทพอินเดียฟังธรรม โดย: ฟอนต์ สีดำ



ตามหนังงสือพระไตรปิฎกหรือหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธเจ้าที่ถูกเขียนขึ้นมาจากการสื่อทางการเผยแผ่ธรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ก็ระบุเสมอว่าพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในประเทศอินเดีย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นที่น่าสงสัยมาก คือ ทำไมในประเทศอินเดียจึงไม่สามารถรักษาพุทธศาสนาไว้ในจิตใจของชาวอินเดียได้ ทั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นถึง อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง (เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) ซึ่งมันสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นความสงสัยดั้งเดิมอยู่แล้วว่า ในวันวิสาขาบูชา พระจันทร์ไม่เต็มดวงที่อินเดีย จึงนำไปสู่ความคิดที่ว่า หรือพระพุทธเจ้าไม่ได้ประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพาน ที่อินเดีย ซึ่งการที่ประเทศอินเดียมีคนนับถือศาสนาพุทธน้อยมาเมื่อเทียบกับการนับถือศาสนาอื่นๆ ก็เป็นข้อมูลมูลหนึ่งที่เพิ่มความเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานที่อินเดีย

แต่ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๕.๐๐ น. ได้มีพิธีรับการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๗   ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 ได้อัญเชิญพระบรมสาารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากประเทศอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่  ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี และภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่

นั่นคือเหตุการณ์ที่เป็นสถานการณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อให้ความเชื่อว่า ศาสนาพุทธกำเนิดขึ้นที่อินเดียหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในพระไตรปิฎก และสังเวชนัยสถาน ที่ระบุในอินเดีย จนทำให้คนไทยที่รับข้อมูลโดยไม่เกิดข้อสงสัยอะไรก็จะเชื่ออย่างสนิทใจ ซึ่ง ก็โดยความเป็นมนุษย์ ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นกับมนุษย์นั้นเป็นธรรมดา ซึ่งพระพุทธเจ้าเองก็ได้สอนไว้ ในอริยะสัจว่า ผัสสะที่ก่อให้เกิดเวทนา แล้วถูกปรุงแต่งให้เกิดกิเลส แล้วจะนำไปสู่ความทุกข์ ซึ่งขณะนี้เองผู้เขียนกำลังเกิดความทุกข์ ที่เกิดจากการปรุงแต่งขึ้นจากความไม่สอดคล้องทางข้อมูลต่างๆ กับข้อมูลวันวิสาขาบูชา ในทางดาราศาสตร์ กับเหตุการณ์ที่บันทึกในพระไตรปิฎก ซึ่งขณะนี้ผู้เขียนเองก็กำลังอยู่ในขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ ที่ต้องแสวงหาสมุทัย และค้นหาคำตอบผ่าน นิโรธ และมรรค ในแต่ละประเด็น เพื่อให้ได้รู้แจ้งแห่งทุกข์ นั้น ซึ่งเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ ข้อมูลจากการชุมนุมเทวดา เพื่อสะดับฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในบทสวด ชุมนุมเมวดา พร้อมทั้งคำแปล มีดังนี้

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ

ขอเชิญเทวดาทั้งหลาย ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพ ในชั้นรูปภพและสถิตอยู่บนยอดเขาและหุบเขา ทั้งที่มีวิมานอยู่ในอากาศ และภุมมเทวดาทั้งหลาย ซึ่งสถิตอยู่ในทวีป ในรัฐ ในหมู่บ้าน บนต้นไม้ ในป่าชัฏ ในเรือน และเรือกสวน ไร่นา ตลอดทั้งเหล่ายักษ์ คนธรรพ์และนาคทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในน้ำ บนบก ที่ลุ่มและที่ดอน จงมาประชุมกัน ณ ที่นี้เถิด ท่านสาชุชน ทั้งหลาย ขอจงฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐของข้าพเจ้า

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้เป็นเวลาฟังธรรม
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้เป็นเวลาฟังธรรม
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้เป็นเวลาฟังธรรม

ในบทสวดชุมนุมเทวดา ทางผู้เขียนได้แบ่งบรรทัด เพื่อให้เห็นชัดเจน ถึงการสวดเชิญใครบ้าง ซึ่งสองแถวแรก มีข้อความดังนี้ “สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเ” ซึ่งกล่าวถึง “สัคเค” คือพระอินทร์ แต่ในบทแปลได้แปลว่าเทวดา ซึ่งไม่น่าจะแปลว่าเทวดาทั่วไป เพราะในบทสวดที่แปลว่าเทวดา จะใช้คำว่า “เทวา” แต่คำว่า ฉก ศก สักกะ ศักรินทร์ คำเหล่านี้แปลว่าพระอินทร์ สัคเค จึงมีความหมายคือ พระอินทร์ ซึ่งได้อธิบายต่อว่า “ที่สถิตย์อยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพ ในรูปภพ บนยอดเขา หุบเขา วิมาณ อากาศ สถิตอยู่ในทวีป ในรัฐ ในหมู่บ้าน บนต้นไม้ ในป่าชัฏ ในเรือน และเรือกสวน ไร่นา ซึ่งบทสวดสองแถวนี้ได้กล่าวถึงเทพ เทวา ที่ถูกกำหนดให้เป็นผีในปัจจุบัน คือ ผีป่า ผีเขา ผีฟ้า ผีลม ผีน้ำ ผีบ้าน ผีเมือง ผีไม้ ผีไร่ ผีนา ตามบทสวดสองแถวนี้ เป็นการเชิญเทวดาในเหล่าศาสนาผี หรือศาสนาพระอินทร์

สองแถวถัดมา มีใจความว่า “ ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ” คำแรก “ภุมมา” ในบทแปลหมายถึงเจ้าที่ หรือผู้เป็นให้ในแผ่นดิน หรือหมายถึงพระพรหม ซึ่ง มาจากคำว่า “พรหมา” นั่นเอง อีกทั้งยังอัญเชิญเหล่ายักษ์ คนธรรพ์และนาค เทพเหล่าที่เอ่ยถึงสองแถวนี้ เป็นเทพในเหล่าที่นับถือศาสนาพราหมณ์สยาม ที่เคารพพระพรหมเป็นเทพสูงสุด  ส่วนสามแถวสุดท้ายเป็นการเชิญรับฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ซึ่งในบทสวดชุมนุมเทวดานี้ ไม่ได้มีการเอ่ยถึงเทวดา หรือเทพ ที่มีในอินเดียเลย แม้แต่องค์เดียว ไม่ว่าพระวิษณุ พระณารยณ์ พระอิศวร พระแม่กาลี หรือเทพองค์อื่นๆ ในศาสนาอื่นๆ เลย นั่นหมายถึง การเผยแผ่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในช่วงที่ยังทรงพระชนม์ พระองค์ไม่เคยเสด็จออกไปจากสยามประเทศเลย เพราะจักรวรรดิ์สยาม หรือสยามประเทศ มีความเชื่อก่อนพุทธกาลอยู่เพียงสองความเชื่อเท่านั้น คือ ความเชื่อในศาสนาผี หรือศาสนาที่มีพระอินทร์เป็นเทพสูงสุดในการเคารพ ผูกความเชื่อกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลสูงสุดในจักรวรรดิ์สยาม และความเชื่อหนึ่งที่มีความสำคัญต่อวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก อีกทั้งยังเป็นหลักสำคัญในการสื่อทางธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่น คือ ศาสนาพราหมณ์สยาม ที่มีพระพรหมเป็นเทพสูดในการเคารพ

ศาสนาพุทธจึงน่าจะกำเนิดหลักธรรมจากสองศาสนา คือ ศาสนาผี และศาสนาพราหมณ์สยาม และไม่ได้กำเนิดที่ประเทศอินเดีย ซึ่งศาสนาพุทธที่กำเนิดในสยามประเทศ มีความเชื่อเรื่องผี เพราะศาสนาผี เป็นศาสนากำเนิดศาสนาพุทธในสยามประเทศด้วย ถ้าไม่เชื่อว่ามีผี คำสวดในพระคาถา “ชุมนุมเทวดา” จะไม่ได้เอ่ยถึง ผีป่า ผีเขา ผีฟ้า ผีลม ผีน้ำ ผีบ้าน ผีเมือง ผีไม้ ผีไร่ ผีนา เลย ซึ่งศาสนาพุทธที่กำเนิดในสยามหรือที่เรียกทุกวันนี้ว่า นิกายเถรวาท เชื่อว่า ผี มีจริง แต่จัดอยู่ในอวิชชา ถ้าจะบอกว่าผี เกิดขึ้นได้อย่างไร ค่อยติดตามเรื่องผีต่อไป

สิ่งที่เอ่ยถึงและอธิบายเหตุและผล เป็นข้อมูลจากพระไตรปิฎก ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไม่มีพระพุทธเจ้าในอินเดีย แต่ก็อาจจะเป็นพระพุทธเจ้าคนละองค์กันกับที่กำเนิดขึ้นในสยามประเทศ พระตามประวัติแล้ว หลังจากที่พระพุทธเจ้า(เจ้าชายสิทธัตถะ)ได้ปรินิพพานไปแล้ว ประมาณ 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้ทำการจับนักบวชในศาสนาเชนมาบวชพระจำนวนหกหมื่นรูป และเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกมาจากอินเดีย ซึ่งพระพุทเจ้าที่กำเนิดพระพุทธศาสนาที่อินเดีย คือ พระสมณโคดม หรือไม่นั่นคือสิ่งที่ต้องช่วยกันค้นหา เพราะในพระไตรปิฎกเองก็สับสน เพราะอ้างว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวกัน และศาสนาพุทธที่เผยแผ่ออกมาจากอินเดียที่เรียกว่านิกายมหายานนั้น มีความเชื่อว่า ในโลกนี้ไม่มีผี ซึ่งในยุคหนึ่งที่พระสงฆ์ไทยยังไม่สามารถจำแนกนิกายได้อย่างชัดเจนนั้น ก็มีการปราบผีกันอย่างหนัก ถึงขนาดเกิดความขัดแย้งกับชุมชนที่ยังนับถือผีถึงขนาดขัดแย้งรุนแรง แต่พระสงฆ์เองก็สามารถเอาชนะผีได้ด้วยเคล็ดวิชาเดียวกัน คือ ไสยศาสตร์ ศาสนาพุทธนิกายมหายานในประเทศไทยจึงค่อยๆ ปรับตัวยอมรับในนิกายเถรวาทมากขึ้น