EDU & Tech-Innovation

วว.โดยสถานีวิจัยลำตะคองรุกจัดกิจกรรม 'เปิดโลกให้ผีเสื้อ'ต้อนรับปิดเทอม



กรุงเทพฯ-กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  โดย  ศูนย์อนุรักษ์แมลงเขตร้อน สถานีวิจัยลำตะคอง จัดกิจกรรมพิเศษสำหรับน้องๆ ในช่วงปิดเทอมที่ต้องการเลี้ยงหนอนผีเสื้อเพื่อศึกษา "วงจรชีวิตและการเจริญเติบโต" อย่างใกล้ชิด โดยสามารถเข้ามารับ หนอน "ผีเสื้อแพนซีสีตาลไหม้" (จำกัดบ้านละ 10 ตัว)  ตั้งแต่บัดนี้ – 31 มีนาคม  2567  ณ  สถานีวิจัยลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เปิดให้บริการเยี่ยมชม (walk-in) ในวันอังคาร-อาทิตย์ หรือตามปฏิทินเปิด -ปิดเวลา 09.00.-16.00 น.

 วิธีการมารับ หนอน "ผีเสื้อแพนซีสีตาลไหม้" ขอความร่วมมือน้องๆ และผู้ปกครอง ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้

 1. เตรียมกล่องหรือภาชนะที่ระบายอากาศได้ดี และปิดล็อกอย่างแน่นหนา มารับหนอนกลับบ้าน

 2. เตรียมพืชอาหาร ได้แก่ ต้นต้อยติ่ง หรือต้นขาไก่  ไว้ที่บ้านในปริมาณมาก เพราะหนอนกินใบไม้เก่ง

3. ยื่นตั๋วเข้าชม “ศูนย์อนุรักษ์แมลงเขตร้อน” และแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า “มารับหนอนกลับบ้าน”เพียงเท่านี้น้องๆ ก็จะได้หนอนผีเสื้อกลับไปเลี้ยงที่บ้าน

ทั้งนี้ผีเสื้อมีประโยชน์ในการเป็นผู้ช่วยผสมเกสรให้กับพืช ช่วยให้พืชประสบความสำเร็จในการสร้างเมล็ดพันธุ์ อีกทั้งยังทำให้เกิดผลไม้ไว้สำหรับบริโภคด้วย  โดยวงจรชีวิตของผีเสื้อ มีดังนี้

1.ระยะไข่ ใช้เวลา 4-7 วันจะเริ่มฟักตัว

2.ระยะหนอน 12-40 วัน

3.ระยะดักแด้ 12-38 วัน

4.ระยะผีเสื้อ เมื่อผีเสื้อฟักตัวออกจากดักแด้ ปีกของผีเสื้อจะชื้นแล้วยังยืดไม่เต็มที่ ช่วงเวลานี้ต้องปล่อยผีเสื้อผึ่งปีกให้แห้งเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง เมื่อปีกและตัวผีเสื้อเสื้อแห้งสนิทแล้ว ผีเสื้อจะสามารถบินออกสู่โลกกว้างได้อย่างแข็งแรง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจ facebook : Tropical insect sanctuary#Tropicalinsectsanctuary

อนึ่ง สถานีวิจัยลำตะคอง  เป็นหน่วยงานในสังกัด ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. มีภารกิจและเป้าหมาย มุ่งวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและสังคม   ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึก  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานวิจัยเพื่อนําไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถติดต่อเพื่อศึกษาดูงาน ได้ที่ โทร. 044 390 107, 098 193 4332 (คุณเบญจมาศ)  ติดต่อกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์   โทร. 081 467 4214  (คุณศักดิ์มงคล)   และติดต่อที่พัก ห้องประชุม  โทร. 087  079 3330  (คุณอรุณวรรณ)