Think In Truth

ผี...ในมุมของศาสนาพุทธนิกายเถระวาท  โดย : ฟอนต์ สีดำ



ก่อนอื่นต้องขออนุญาตทำความเข้าใจกับผู้อ่านให้ชัดในกรอบความคิดของผู้เขียนก่อน เผื่อมีความเห็นแย้งจากท่านผู้อ่านแล้ว จะได้ใช้กรอบทางความคิดที่ตรงกันในการแสดงเหตุผลแย้งอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์

ผู้เขียนเองมีความเชื่อในเรื่องการกำเนิดศาสนาพุทธไม่ได้กำเนิดที่อินเดียหรือเนปาล นะครับ เนื่องจากผู้เขียนมีความเชื่อตามหลักฐานในหลักการทางดาราศาสตร์ ของวันวิสาขบูชา ที่วันเพ็ญเดือนหก พระจันทร์ไม่เต็มดวงที่อินเดีย หรือเนปาล ที่ผู้เขียนมีความเชื่อแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้เขียนเชื่อถูกต้องนะครับ เพราะยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีข้อมูล หลักฐาน ที่สามารถอธิบายได้ว่า พระจันทร์กับดวงอาทิตย์ สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งจากวันเพ็ญเดือนหก ที่อินเดีย มาเป็นวันเพ็ญเดือนหก ที่ประเทศไทย ด้วยเวลาผ่านไป 2567 ปีได้ หรือเพียงแค่ period ในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก period ของการหมุนรอบตัวเองของโลก และ period การหมุนรอบโลกของดวงจันทร์เปลี่ยนไป ที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักดาราศาสตร์ได้นั่นแหละจึงจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อของผู้เขียนได้

ในความเชื่อที่มีต่อวันวิสาขบูชา ที่มีพระจันทร์เต็มดวงที่ประเทศไทยและประเทศใกล้ชิดติดกัน ผู้เขียนจึงเชื่อไว้ก่อนว่า พระพุทธเจ้าก็ผู้ที่มีชาติกำเนิดในดินแดนสุวรรณภูมินี่แหละ ซึ่งในดินแดนสุวรรณภูมิ ในยุคก่อนพุทธกาล มีกลุ่มคนที่นับถือความเชื่ออยู่เพียงแค่สองความเชื่อเท่านั้น ตามบทสวด “ชุมนุมเทวดา” คือ สักเค หรือ สักกะ ที่หมายถึงพระอินทร์ และ ภุมมา หรือ พรหมา ที่หมายถึงพระพรหม ถ้าจะจำแนกศาสนาที่เข้าใจในปัจจุบัน คือ ศาสนาผี หรือศาสนาพระอินทร์ กับศาสนาพราหมณ์สยาม หรือศาสนาพระพรหม

โดยประวัติของพระพุทธเจ้า เกิดในราชวงศ์สักกะ หรือสักยวงศ์ นั่นหมายความว่า พระพุทธเจ้ากำเนิดในศาสนาผี ซึ่งพระพุทเจ้าจะต้องเป็นคนที่นับถือศาสนาผีมาก่อน ที่สำคัญกว่านั้นคือชื่อบดาของพระองค์ คือ พระเจ้าสุโทธน นี่นยิ่งมีความชัดเจนมาถึงถิ่นกำเนิด เพราะ สุโท แปลว่า ข้าวเหนียว และเครื่องเซ่นไหว้ผีเองแม้แต่ปัจจุบันยังคงเซ่นไหว้ด้วยข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวแดงอยู่ สิ่งที่เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงออกถึงศาสนาผีคือเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งต่างจากเครื่องเซ่นไหว้เจ้าในพิธีไหว้เจ้าของจีนมาก และพระมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะออกบวช นามพระนางโสธรา เป็นบุตรสาวของเจ้าเมืองเทวทหะ ชื่อเมืองก็บ่งบอกได้ว่า เป็นเมืองที่นับถือศาสนาพราหมณ์(สยาม) ที่เคารพพรหมเป็นเทพสูงสุด ที่มีความเชื่อเครื่อวิทยาศาสตร์ มีเหตุ มีผล มีฝีมือด้านช่าง ตามบันทึก “กเบื้องจาน” มีนักวิชาการให้ความเห็นว่า ขอม เป็นตำแหน่งช่าง อาณาจักรขอม หรืออาณาจักรที่มีความเชื่อศาสนาพราหมณ์สยาม มีความสามารถสมารถด้านช่าง และศัพท์ขอมโบราณที่ใช้ในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า “จะเลียง” แปลว่า “ช่างแกะสลัก” ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของนักสำรวจชาวจีน ที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ไทยมองว่าเป็นอาณาจักร “เจนละ”

เมื่อความเชื่อทั้งสองความเชื่อได้ให้ลูกได้แต่งงานกัน ซึ่งก็เป็นธรรมเนียมของการรักษาอำนาจการปกครองในสมัยก่อน คือการสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ระหว่างเมือง ดังนั้นความเชื่อทั้งสองความเชื่อ หลักคำสอนทั้งสองความเชื่อจึงได้หลอมรวม กลายมาป็นหลักธรรมในพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อทางศาสนาผี มีความเชื่อในหลักแห่งธรรมชาติ ที่สรรพสิ่งมีองค์ประกอบจากธาตุสี่ ที่แปรสภาพเป็นรูปไดก็ตามตามเหตุและปัจจัย ที่มนุษย์พึงต้องมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามหลักแห่งธรรมชาติเพื่อความสมดุล ซึ่งจะได้ผลตอบแทนแห่งการปฏิบัติตามนั้น ซึ่งธรรมชาติในรูปต่างๆ ทางศาสนาผีจะอุปโลกให้เป็นผี เช่น ผีป่า ผีเขา ผีบ้าน ผีเรือน ฯลฯ (คำอธิบายนี้อยู่ในเรื่องสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา) ความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์สยาม ที่ถูกยกไปบูรณาการณ์ในศาสนาพุทธ เช่น พรหมวิหารสี่ และหลักการต่างๆ ในการย่อยรายละเอียดในหลักการทางธรรมชาติ เป็นต้น ในทางสายกลางของศาสนาพุทธสยามนิกาย หรือเถรวาท หรือหินยาน หมายถึงหละกการที่ถูกบูรณาการณ์จากศาสนาผีและศาสนาพรหมณ์สยาม นั่นเอง

เมื่อศาสนาผี เป็นส่วนหนึ่งในการก่อกำเนิดศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจึงเชื่อว่า “ผีมีจริง” ซึ่งในทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้จัดให้ผีอยู่ในหมวด อวิชชา ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิจสมุปบาท ก่อนว่า รูปและนาม จะไหลเวียนไปตามวัฏสงสารของวงจรปฏิจสมุปบาท ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

ในวงจรแห่งปฏิจสมุปบาท จะเกิดผีขึ้นาเมื่อ เกิดอวิชชา ที่ให้เกิดการรับรู้สู่รูปนาม ที่จะจำแนกไปสู่อวัยวะสัมผัสหรืออฬายตนะ เมื่อเกิดผัสสะจิตก็จะเกิดเวทนาด้วยการปรุงแต่งให้กลัว ชอบ ไม่กลัว อุ่นใจ ดีใจ ปลื้มใจฯ หากไม่สามารถครองสติได้ ก็จะทำให้จิตกลัวและเกิดผีขึ้นมาในดวงจิตนั้นทันที และจะมะโนไปตามวงจรของปฏิจสมุปบาท จนถึงขั้น ชรามรณะ คือ เลิกคิดหรือหายกลัว ซึ่งก็จะเกิดเรื่องราวถ่ายทอดต่อกันเป็นเรื่องผีต่างๆ แต่ในวงจรปฏิจสมุปบาทช่วงที่เกิดเวทนา ยังสามารถครองสติ ผัสสะนั้นก็จะไหลไปตามวงจรจนถึงขึ้นสุดท้ายคือชรามรณะ โดยไม่กลัวก็จะเข้าใจเองได้ว่า สิ่งที่รู้สึกกลัวเกิดจากการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นผีเอง ซึ่งกระบวนการแห่งการทำความเข้าใจเรื่องผีในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท จำเป็นต้องฝึกปฏิบัติด้วยการฝึกสมาธิ วิปัสนา กรรมฐาน ให้จิตมีความมั่นคง และพร้อมที่จะเฝ้าสังเกตุจิต ในทุกขณะของลมหายใจเข้าออก จึงจะเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งจิตได้ ซึ่งต้องผ่านขั้นการพิจารณาตามมรรคมีองค์แปดอย่างละเอียด ลึกซึ้ง มุ่งมั่นและมั่นคง

ซึ่งความเข้าใจในเรื่องของผี ของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท สอดคล้องกับกรอบคิดทางอภิปรัชญา คือ ผีเป็นสิ่งที่มนุษย์เชื่อกันมานาน มีการพูดถึงผีในวัฒนธรรมและศาสนาต่างๆ ทั่วโลก ในมุมมองเชิงอภิปรัชญา มีการถกเถียงเกี่ยวกับการมีอยู่ของผี ประเด็นหลักๆ ประกอบด้วย:

1. การมีอยู่ของผี:

  • แนวคิดที่สนับสนุนการมีอยู่ของผี:

- ประสบการณ์ส่วนตัว: หลายคนอ้างว่าเคยเห็นผีหรือสัมผัสประสบการณ์ที่อธิบายไม่ได้ด้วยวิทยาศาสตร์

- หลักฐานทางประวัติศาสตร์: มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับผีมานาน

- ศาสนาและความเชื่อ: หลายศาสนาเชื่อในวิญญาณและชีวิตหลังความตาย

  • แนวคิดที่ต่อต้านการมีอยู่ของผี:

- การขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์: ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์การมีอยู่ของผี

- คำอธิบายทางจิตวิทยา: ประสบการณ์ที่ผู้คนคิดว่าเป็นผี อาจอธิบายได้ด้วยหลักจิตวิทยา เช่น ภาพหลอน

- อคติทางความคิด: มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเชื่อในสิ่งที่ลี้ลับ

2. ธรรมชาติของผี:

- วิญญาณของผู้ตาย: ผีอาจเป็นวิญญาณของผู้ตายที่ยังวนเวียนอยู่บนโลก

- พลังงานหรือคลื่น: ผีอาจเป็นพลังงานหรือคลื่นที่เราไม่สามารถมองเห็นได้

- สิ่งมีชีวิตในมิติอื่น: ผีอาจเป็นสิ่งมีชีวิตในมิติอื่นที่เราไม่สามารถเข้าถึงได้

3. ผลกระทบของผี:

- การข่มขู่: ผีอาจข่มขู่หรือทำร้ายมนุษย์

- การช่วยเหลือ: ผีอาจช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำแก่ผู้คน

- การสื่อสาร: ผีอาจสื่อสารกับมนุษย์ผ่านสื่อต่างๆ

4. ประเด็นทางจริยธรรม:

- การเคารพ: มนุษย์ควรเคารพผีหรือไม่?

- การติดต่อสื่อสาร: มนุษย์ควรพยายามติดต่อสื่อสารกับผีหรือไม่?

- การขับไล่ผี: การขับไล่ผีเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่?

การมองผีในมุมมองทางปรัชญา โดยใช้กรอบความคิดความรู้ภายในตนหรือความรู้แรกเกิด apriori และความรู้ภายหลังหรือความรู้ประสบการณ์ posteriori นั้น น่าสนใจและสามารถนำไปวิเคราะห์ได้ดังนี้ Apriori: ความเชื่อเรื่องผีอาจมีรากฐานมาจาก apriori หรือความรู้โดยกำเนิด มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเชื่อในสิ่งที่ลี้ลับ เหนือธรรมชาติ และอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล และความกลัวความตาย ความไม่แน่นอน และความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่หลังความตาย อาจเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์เชื่อเรื่องผี ส่วนPostaposteriori: ประสบการณ์ส่วนตัว การเล่าขาน ตำนานและวัฒนธรรม ล้วนเป็นปัจจัย posteriori ที่ส่งผลต่อความเชื่อเรื่องผี และการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับผี ผ่านงานศิลปะ วรรณกรรม ภาพยนตร์ สื่อต่างๆ ล้วนเสริมสร้างความเชื่อ

ความเชื่อเรื่องผี อาจมีทั้ง apriori และ posteriori ผสมผสานกัน apriori อาจเป็นพื้นฐาน แต่ posteriori เป็นตัวขับเคลื่อน เสริมสร้าง และเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ความเชื่อเรื่องผี เปลี่ยนแปลง พัฒนา และแตกต่างกัน ตามกาลเวลา วัฒนธรรม และสังคม ความเชื่อเรื่องผีในสังคมศาสนาโลก โดยเฉพาะสังคมชาวพุทธนิกายเถรวาท มีความสำคัญต่อการสร้างระเบียบทางสังคม ช่วยควบคุมพฤติกรรม สร้างความสามัคคี อธิบายสิ่งที่ไม่รู้ และรักษาสมดุล แต่ต้องระวัง ไม่ให้ถูกใช้เพื่อควบคุม กดขี่ และเอารัดเอาเปรียบ ผู้คน