In Thailand
แนวความคิดใหม่ การจัดงานอุปสมบท 'ลดโลกร้อน'ครั้งแรกของโลก
สิงห์บุรี-นายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เปิดเผยว่ากำลังเตรียมการจัดงานพิธีอุปสมบทนายป่าเหนือ ชีวะธรรม ,นายทะเลไทย ชีวะธรรม ซึ่งเป็นบุตรชายและนายนนทกร รอดเสือ ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาณ.พัทธสีมา วัดแหลมคาง ม.2 ต.แม่ลา อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี ช่วงวันที่30-31มีนาคม 2567นี้ได้เปิดเผยว่าการจัดงานครั้งนี้ จะดำเนินการภายใต้แนวความคิดจัดงานอุปสมบทแบบลดโลกร้อน เพื่อเป็นการรณรงค์ การจัดงานประเพณีสำคัญที่เป็นการรับผิดชอบต่อภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาตอนนี้
ซึ่งหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนก็ให้ความสำคัญเรื่องโลกร้อนซึ่งเห็นได้จากแคมเปญ หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นมาทั้งในประเทศไทยและในประเทศต่างๆทั่วโลก รณรงค์ให้ช่วยกันป้องกันภาวะโลกร้อนกันทั้งสิ้น แล้วเราเป็นส่วนหนึ่งบนโลกนี้เช่นกัน แล้วเราจะละเลยนิ่งเฉยต่อภาวะโลกร้อนได้อย่างไรกันถ้าอย่างนั้นเรามาช่วยกันลดภาะวะโลกร้อนคนละไม้คนละมือด้วยการจัดงานบวช แบบลดโลกร้อน เราสามารถจัดงานเลี้ยงที่ช่วยลดโลกร้อนได้
อาจจะสงสัยว่าจัดเลี้ยงแล้วเกี่ยวอะไร ทำให้โลกร้อน ได้อย่างไร เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อจะมีงานเลี้ยง ไม่ว่างานแต่งงาน งานวันเกิด งานบวช หรืองานอื่น จะมีกิจกรรมต่างๆเช่นการเล่นดนตรี การเปิดเครื่องเสียง,การรับประทานอาหารการดื่มกินเลี้ยงฉลอง,การติดตั้งไฟแสงสว่างประดับประดาในงาน,การแจกของที่ระลึก,การเดินทางมาร่วมงาน, การเข้าพักแรม ,หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ต้องมีการเผาผลาญน้ำมันหรือเชื้อเพลิงต่างๆตามกิจกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างก๊าซเรือนกระจกไปปกคลุมในชั้นอากาศ ทำให้เกิดสาเหตุของภาวะโลกร้อน และขยะที่เกิดจากการจัดงานมากมายภายหลังจัดงานก็เป็นแหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจก จำนวนมาก
จึงเป็นเรื่องดีไม่น้อยหากผู้ที่เป็นผู้จัดงานจะมีความคิดที่จะจัดงานแบบลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดแนวความคิดที่จะจัดงานอุปสมบทแบบที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อนเกิดขึ้นซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรก
การอุปสมบทเป็นประเพณีที่สำคัญของ บุตรหลานชายที่เป็นพุทธศานิกชน เมื่อถึงวัยที่พร้อมก็ต้องบวชตามประเพณีเพื่ออุทิศบุญกุศลให้บิดา มารดาญาติพี่น้อง การบวชดีที่สุดคือบวชแบบเรียบง่าย ไม่ต้องมีงานเลี้ยงหรือกิจกรรมอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดความสิ้นเปลืองเงินทองและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญทำให้ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติม ทำให้โลกร้อนขึ้น
สำหรับการจัดงานครั้งนี้นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ได้กำหนดรูปแบบและแนวทางประกอบด้วย
1.ถ้าเป็นไปได้ควรจัดงานแบบเรียบง่าย หรือหากมีความจำเป็นก็จัดงานพร้อมๆกันหลายคนที่พร้อมบวช สำหรับงานครั้งนี้จัดงานบวชพร้อมกัน 3คนทำให้ประหยัดพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติไปได้ 3 เท่าตัวจากการที่ต้องจัดงานอุปสมบท 3 ครั้งก็เหลือแค่ครั้งเดียว
2. เน้นการใช้บัตรเชิญทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือทางอีเมลล์เพื่อลดการใช้กระดาษพิมพ์บัตรเชิญ ช่วยลดต้นทุนการจัดงานได้ด้วย
3. การเลี้ยงแขกด้วยอาหารจากผู้ประกอบการอาหารในท้องถิ่นลดการเดินทาง และวัสดุที่ใช้ปรุงอาหารสดซึ่งผลิตได้ในท้องถิ่นเช่นกัน จำนวนและปริมาณพอสมควรต่อการบริโภค
4. ลดการใช้วัสดุ ประเภทโฟม พลาสติก หรืออื่นๆ
เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
5. ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดเหมาะสม เช่นเลือกใช้แสงสว่างพอประมาณ เลือกใช้หลอดประหยัดไฟ จำนวนเท่าที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมในงาน เครื่องเสียงในงานเลี้ยงควรเป็นแบบใช้กำลังไฟฟ้าต่ำไม่จำเป็นต้องมีเสียงดัง หรือแสงสี เกินความจำเป็น เครื่องปรับอากาศใช้เท่าที่จำเป็น ถือประสิทธิภาพเป็นสําคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก
สำหรับการจัดงานบวชครั้งนี้ยังมีการลดการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง ด้วยการเดินทางทางแม่น้ำโดยใช้แพที่ขับเคลื่อนโดยไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ มีการใช้ม้าซึ่งเป็นสัตว์พาหนะมาแห่นาค ลดการใช้รถยนต์เพื่อประหยัดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และที่สำคัญของที่ระลึกในงานจะเป็นกล้าไม้ป่าเพื่อให้แขกที่มาร่วมงานนำกลับไปปลูกเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของภาวะโลกร้อน เพียงเท่านี้พวกเราก็จะเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะช่วยป้องกันและรักษาโลกของเราจากภาวะโลกร้อนได้
และที่สำคัญอีกอย่างของงานนี้มีการคำนวณคาร์บอนที่ปล่อยจากกิจกรรมโดยอนุมานๆในการจัดงานตั้งแต่ก่อนเริ่มจนจบงาน เช่นการเดินทาง การพักแรม การเลี้ยงอาหาร พลังงานไฟฟ้าของเสียที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน ตลอดจนกิจกรรมอ่านๆ และจะทำการชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการจัดงาน (Carbon Offset) ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยเท่ากับปริมาณการปล่อยเพื่อให้งานที่จัดนั้นเป็น “Carbon Neutral Event”โดยการคำนวณโดยอนุมานๆจะมีปริมาณคาร์บอนที่ปลดปล่อยคร่าวๆที่ 159 ตัน
ซึ่งเราผู้จัดงานจำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตตามยอดที่คำนวณได้เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่เป็นปัญหาในขณะนี้
สำหรับผู้ที่จะจัดงานประเพณีประเภทต่างๆ และมีความเข้าใจ มีความตระหนักถึงปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญต่อโลกใบนี้ก็จะน่าเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการจัดงานประเพณี งานเลี้ยงอื่นๆต่อไป บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป
จินตนา ปานมี ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สิงห์บุรี