Think In Truth

'ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี'ตำนานสะท้อนไทย ปลอดอิทธิพลอินเดีย โดย: ฟอนต์ สีดำ



หากเราจะพิจารณาการสื่อสารหลักธรรมในพระสูตร ตามตำราพระไตรปิฎก ของพระพุทธศาสนา จะพบว่า การสื่อหลักธรรมใช้นิทานเป็นสื่อ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในหลักธรรมเป็นพื้นฐานก่อน แล้วค่อยไปจำแนกหลักธรรมเป็นขันธ์ต่างๆ ใน 48,000 พระธรรมขันธ์ และพระธรรมวินัยเพื่อเป็นบัญญัติในการถือปฏิบัติให้เป็นไปตามทำนองคลองธรรม ซึ่งจะเกิดผลได้ตรงที่เป็นสัจจธรรมที่ได้ระบุไว้  ตามหลักกฏแห่งกรรม  หรืออิทัปปัจจัยตา  ที่ต้องฝึกสมาธิพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท อย่างมีโยนิโสมนัสสิการ ภายใต้หลักการพิจารณาอริยสัจสี่ ที่ยึดมั่นในหลักการพิจารณาด้วยระเบียบวิธีธรรมจักรกัปปวัตณสูตร ดังนั้น ตำนานการกำเนิดโลกของ “ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี” นี้เป็นมูลเหตุ ที่จะถูกนำไปพิจารณาตามหลักวิทยปรัชญา (Philosophy of Science) ดั่งที่ได้กล่าวมาแต่ข้างต้น

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี เป็นตัวละครในตำนานไทยเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์ เชื่อกันว่าท่านเป็นมนุษย์คู่แรกของโลก เกิดจากฟองไข่ที่ลอยมาในน้ำ เมื่อฟองไข่แตกออก ปู่สังกะสาก็ออกมาจากฟองไข่ฝั่งซ้าย ย่าสังกะสีก็ออกมาจากฟองไข่ฝั่งขวา

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี มีหน้าที่สร้างโลกและมนุษย์ ท่านสร้างภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ สัตว์ และมนุษย์หลากหลายเผ่าพันธุ์ ตำนานของท่านปรากฏในคัมภีร์ปฐมกัปป์ ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ของไทย

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี เปรียบเสมือนต้นกำเนิดของมนุษยชาติในวัฒนธรรมไทย ตำนานของท่านสอนให้เรารู้จักเคารพบรรพบุรุษ รู้สำนึกถึงที่มาของชีวิต และความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน

ตำนานปู่สังกะสา ย่าสังกะสี พบได้หลายเวอร์ชั่น ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น แต่เนื้อหาหลักจะคล้ายคลึงกัน คือ เกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์และโลก โดยปู่สังกะสา ย่าสังกะสี เป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์

ตำนานนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยโบราณ เกี่ยวกับกำเนิดโลกและมนุษย์ ตำนานนี้ยังสอนให้เรารู้จักเคารพบรรพบุรุษ รู้สำนึกถึงที่มาของชีวิต และความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน

กำเนิดมนุษย์คู่แรก

ในอดีตกาลนานมาแล้ว ยังไม่มีโลก ไม่มีมนุษย์ มีเพียงน้ำกว้างใหญ่ไพศาล ไร้ซึ่งสิ่งใด อยู่มาวันหนึ่ง ฟองไข่ขนาดใหญ่ลอยมาในน้ำ ฟองไข่นั้นลอยไปลอยมา กระทบกับแสงอาทิตย์ เกิดเป็นประกายไฟสว่างไสว ทันใดนั้น ฟองไข่ก็แตกออก เป็นชายหนุ่มรูปงามนามว่า "ปู่สังกะสา" เกิดจากฟองไข่ฝั่งซ้าย และหญิงสาวสวยนามว่า "ย่าสังกะสี" เกิดจากฟองไข่ฝั่งขวา

การสร้างโลก

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี มองดูน้ำกว้างใหญ่ คิดจะสร้างโลกให้มนุษย์อาศัยอยู่ ปู่สังกะสาใช้พลังวิเศษกอบดินเหนียวจากใต้ทะเลขึ้นมา ปั้นเป็นแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า "มัชฌิมาประเทศ" ย่าสังกะสีใช้พลังวิเศษสร้างภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์นานาชนิด

การสร้างมนุษย์

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ต้องการสร้างมนุษย์ให้มาอาศัยบนโลก ปู่สังกะสาปั้นดินเหนียวเป็นรูปคน แต่รูปปั้นนั้นไม่มีชีวิต ย่าสังกะสีร้องไห้ น้ำตาของย่าหยดลงบนรูปปั้น ดินเหนียวจึงมีชีวิต กลายเป็นมนุษย์คู่แรก

การขยายเผ่าพันธุ์มนุษย์

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี สอนให้มนุษย์รู้จักการสร้างบ้าน ปลูกข้าว หาอาหาร มนุษย์คู่แรกมีลูกหลานมากมาย แพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก ตำนานปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างเวลาโดยตรง แต่มีการตีความจากเนื้อหาในตำนานดังนี้ โดยที่ในตำนานได้มีระบุถึงการสร้างดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ดวงดาว มนุษย์ และสัตว์ 12 ชนิด  ตามปีนักษัตร เพื่อกำหนดเวลา วัน เดือน ปี รอบ 12 ปีนักษัตร

การแบ่งกลางวันกลางคืนหรือในภาษาจีนคือ   昼夜 อ่านว่า “โจ้วเย้”

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี สร้างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างยามกลางวัน ดวงจันทร์ให้แสงสว่างยามค่ำคืน การแบ่งกลางวันกลางคืน昼夜นี้ เปรียบเสมือนการเริ่มต้นของ "เวลา"

การกำหนดฤดูกาล

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี สร้างโลกให้มีภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์นานาชนิด สิ่งเหล่านี้ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เช่น ต้นไม้ผลัดใบ ดอกไม้บานสะพรั่ง สัตว์อพยพ ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นการบอก "เวลา" ผ่านปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า “ฤดูกาล” ซึ่งในอินเดียจะกำหนดฤดูกาลเป็น 4 ฤดู ตามระยะการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก ซึ่ง 1 รอบ โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ 2 ครั้ง และอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ 2 ครั้ง แต่ในประเทศไทยจะกำหนดฤดูการ 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน หนาว ซึ่งฤดูร้อน กับฤดูฝน จะเป็นช่วงที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ที่หันด้านประเทศไทยเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนฤดูปลายฝนกับฤดูหนาวเป็นช่วงที่โลกหันทางด้านขั้วโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์

กิจวัตรประจำวัน

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี สอนให้มนุษย์รู้จักการสร้างบ้าน ปลูกข้าว หาอาหาร กิจวัตรเหล่านี้ มีการกำหนด "เวลา" เช่น ตื่นเช้า ทำงาน กินข้าว นอนหลับ ฯลฯ กิจวัตรเหล่านี้ เป็นการบอก "เวลา" ผ่านกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งจะถูกบัญญัติถึงการกำหนดให้มนุษย์ได้ถือปฏิบัติตามจารีต หรือ “ฮีต” ซึ่งในประเทศไทยและ สปป.ลาว ก็มีการบัญญัติถึงจารีตเพื่อถือปฏิบัติที่เป็นวัฏจักรในวงรอบหนึ่งปี ที่เรียกว่า “ฮีตสิบสอง”

การนับเวลา

ตำนานไม่ได้กล่าวถึงวิธีการนับเวลาโดยตรง แต่มีการตีความว่า มนุษย์โบราณอาจสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฤดูกาล ซึ่งในประเทศไทยจะยึดปฏิทินจันทรคติเป็นการกำหนดเวลาที่สำคัญ โดยกำหนดกลุ่มดาวฤกษ์ซึ่งเป็นดาวประจำที่ 12 กลุ่ม เป็นดาวจักราศรี ปะกอบด้วย กลุ่มดาวแกะ-ราศีเมษ, กลุ่มดาววัว-ราศีพฤกษก, กลุ่มดาวคนคู่-ราศีมิถุน, กลุ่มดาวปู-ราศีกรกฏ, กลุ่มดาวสิงโต-ราศีสิงห์, กลุ่มดาวหญิงสาว-ราศีกันย์, กลุ่มดาวคันชั่ง-ราศีตุล, กลุ่มดาวแมงป่อง-ราศีพิจิก, กลุ่มดาวคนยิงธนู-ราศีธนู, กลุ่มดาวมกร(แพะทะเล)-ราศีมกร, กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ-ราศีกุมภ์ และกลุ่มดาวปลา-ราศีมีน  ซึ่งถ้าดวงอาทิตย์เข้าไปอยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์ใด จะถือว่าช่วงเวลานั้น เป็นเวลาของเดือนนั้น ดังนั้นในตอนเวลากล่งวันจะไม่เห็นกลุ่มดาวฤกษของดาวจักราศีของเดือนนั้น การสังเกตุจึงสังเกตุเวลาตอนเที่ยงคืน กับกลุ่มดาวที่อยู่ตรงข้าม

ความเชื่อจากการสังเกตุที่ดวงอาทิตย์เวียนไปตามกลุ่มดาวฤกษที่เรียกว่าจักราศี เป็นความเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยได้สมมติว่าเป็นเขาพระสุเมร ที่ธิดาของท้าวกบิลพรหมต้องผัดกันถือพานที่มีศรีษะของท้าวกบิลพรหมเวียนซ้าย(ประทักษิณ)รอบเขาพระสุเมรหนึ่งรอบ พอถึงวันขึ้น 15 เดือน 5 จึงมีการผัดเปลี่ยนธิดาองค์ใหม่มาถือพานแทนและปฏิบัติหน้าที่แทน ธิดาของท้าวกบิลพรหมเปรียบได้กับวันในหนึ่งสัปดาห์ คือวันอาทิตย์ นาม นางทุงษะ วันจันทร์ นาม นางโคราคะ  วันอังคาร นามนางรากษส (ราก-สด)  วันพุทธ นาม นางมณฑา  วันพฤหัสบดี นาม นางกิริณี  วันศุกร์ นามนางกิมิทา  และเสาร์ นาม นางมโหทร

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดา-มารดา" ของมนุษยชาติ ตำนานนี้สอนให้เรารู้จักเคารพต่อธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกับทุกสรรพสิ่งในจักรวาลและธรรมชาติ เคารพต่อบรรพบุรุษ รู้สำนึกถึงที่มาของชีวิต และความสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติ ยั่งยืน

ซึ่งโดยตำนานปู่สังกะสา ย่าสังกะสี จึงเป็นตำนานที่ไม่ใช้เล่าสืบทอดความสนุกสนาน แต่เป็นปฐมมูลที่สื่อถึงปัญญาแหล่งการถ่ายทอดวัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่ต้องดำเนินให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สังคม บนพื้นฐานแห่งความเคารพในความสมดุลแห่งการอยู่บนนิเวศน์โลก ที่มีความสัมพันธุ์กับธรรมชาติ และจักรวาล โดยไม่ได้มีส่วนที่ชี้ให้เห็นเลยว่า คนไทยได้รับอิทธิพลทางความคิดจากอินเดียเลย นอกจากกลุ่มนักวิชาการ ที่พยายามมองเรื่องตำนานที่เป็นชาดกนอกณิบาตเหล่านี้ เป็นเพียงเรื่องเล่าปรัมปรา โดยไม่มีเนื้อหาสาระอะไร นั่นเป็นการเหยียดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษอย่างไม่สมารถให้อภัยได้ ถึงแม้นจะมีความเรื่องเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงทางด้านดาราศาสตร์ เพราะยุคก่อนยังไม่มีเครื่อมือทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า แต่ก็สามารถสังเกตุและเอาข้อมูลจากการสังเกตุมากำหนดช่วงแห่งเวลา ฤดูกาล จารีตที่เป็นวัฒนธรรม วีถีชีวิตที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลได้อย่างมีความอุดมสมบูรณ์ มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน ไม่ต้องเกณฑ์กำลังคนไปล่าอาณานิคมเพื่อปล้น ชิง ในการนำไปเสพ แล้วยกเรื่องราวของตนขึ้นมาข่ม บิดเบือนความจริงทางประวัติศาสตร์และความเชื่อ

จึงอยากขอร้องนักวิชาการซึ่งมีอิทธิพลต่อการสื่อสารทางวิชาการ ได้ปรับวิธีแสวงหาความรู้ ด้วยการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลภายใต้การแสวงหาความรู้ความจริงตามหลักอริยะสัจ ถ้ายังเอาข้อมูลที่ยังไม่ตรง ข้อมูลที่ยังบิดเบือนมาร้อยเรียงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้มาก็จะกลายเป็นความรู้ที่ไม่จริง เป็นความรู้ที่มีองค์ประกอบแห่งการบิดเบือนปะปนอยู่ องค์ความรู้เหล่านั้น มีความสำคัญต่อการตัดสินใจของคนรุ่นหลังที่จะเป็นผู้สร้างอนาคตไปเรื่อยๆ หากคนรุ่นหลังยังต้องเสพข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจากคนรุ่นก่อน ถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจของคนรุ่นหลัง การสร้างอนาคตของคนรุ่นหลังก็จะผิดพลาด และจะนำไปสู่การสร้างสังคมโลกที่ไม่สมดุล ทีจะทำให้สังคมเกิดการแย่งชิงที่รุนแรง และอาจจะทำให้สังมนุษย์จะอยู่ในโลกใบนี้ยุ่งยากขึ้นไปเรื่อยๆ นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ท่านอยากเป็นผู้หนึ่งที่จะเป็นกลไกในการสร้างอนาคตที่ยุ่งยากให้กับโลกใบนี้อยู่ไหม?.....