Think In Truth

'ยักษ์คุชานุมาน'...ในตำนานต่อต้านฮินดู โดย : ฟอนต์ สีดำ



ได้อ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ India Today พบว่าเจ้าของร้านอาหารในโรงแรมแห่งหนึ่งในอินเดียถูกจับขังคุกในเวลาสั้นๆ ด้วยข้อหาใช้จานกระดาษที่มีรูปพระรามซึ่งเป็นลายกนกไทยใส่อาหาร Biryani บริการลูกค้า แล้วถูกชาวศาสนาฮินดูชุมนุมต่อต้าน ที่เจ้าของกิจการไม่เคารพต่อพระราม เมื่อเช็คเข้าไปหลายสื่อ ก็พบว่าในประเทศอินเดียมีการนำเสนอข่าวนี้ในหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งก็ทำให้นึกถึงพระรามประเทศไทยขึ้นมา เพราะพระรามในประเทศไทย เป็นตัวแทนของศาสนาพราหมณ์สยามที่เคารพพระพรหมเป็นเทพสูงสุด พระรามเป็นสมมติเทพในสถานะพระมหากษัตริย์ ดังนั้นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีจึงมีพระนาม รามาที่.... และองค์ปัจจุบันก็มีพระนามหนึ่งว่า รามา10

และสถานที่แห่งหนึ่งที่มันผุดคิดขึ้นมาในหัวเลย คือ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เพราะสถานที่แห่งนั้น มีตำนานพระรามเดินดง และการคุกเข่าขอชีวิตของทศกัณฑ์ ซึ่งตำนานได้ผูกโยงเรื่องกับสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าหลุมเข่า หลุมอัณฑะ ปราสาทเฮือนหิน อีกทั้งยังมีประเพณีแห่ยักษ์คุ ชานุมาน เพื่อสืบสานตำนานการต่อต้านแขกทมิฬฮินดู ให้ลูกหลานได้ตระหนักถึงอดีตเพื่อการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบชาวพุทธ ที่ไม่ให้เกิดการรุกรานจากความเชื่ออื่น ที่ขัดต่อภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และวิถีทางสังคมของคนอีสาน

ในช่วงประมาณต้นเดือนมีนาคมของทุกปี จังหวัดอำนาจเจริญจะมีประเพณีเทศกาลแห่ยักษ์คุชานุมาน ซึ่งนายอานนท์ ภาคมาลี หมออนามัย ข้าราชการบำนาญ ได้เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซด์ go to know ไว้ว่า คำว่าคุแปลว่า คุกเข่า วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ แรกของเดิอนเมษายน ของทุกปี ชาวบ้านจะร่วมจัดงานประเพณีแห่ยักษ์คุ ชานุมาน ทุกคนร่วมใจกันออกมาจัดขบวนกันแห่รูปปั้นพญายักษ์ พร้อมพิธีฟ้อนรำสวยงาม แต่สิ่งแปลกตาก็คือ คนมี่เข้าร่วมงานจะต้องเพนต์แต่งหน้าเป็นยักษ์หรือใส่หน้ากากยักษ์ อันเป็นประเพณีที่ไม่เหมือนใคร จนกลายเป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่นจนถึงทุกวันนี้

ตามตำนานยักษ์คุที่บอกเล่าสืบทอดกันมาปากต่อปากจากผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่อำเภอชานุมาน มีรายละเอียดเรื่องราวดังต่อไปนี้ ณ ริมแม่น้ำโขง เขตสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอชานุมาน (หลังเก่า) มีประสาทหอนและมียักษ์ มานั่งคุกเข่ากราบไหว้ประสารทหิน บริเวณใกล้ฝั่งประเทศไทย รอยคุกเข่าและรอยนั่งปรากฏเป็นบึงเล็กๆอยู่ ชาวบ้านตั้งชื่อชุมชนว่า ยักษ์คุ โดยคำว่าคุ ในภาษาอิสานแปลว่าคุกเข่า ตำนานเมืองยักษ์คุ ชานุมานส่วนที่ 1 ตำนานยักษ์คุ สำนวนนี้สรุปได้ว่า ยักษ์ธรรมคุปต์พนมมือก้มลงกราบไปยังปราสาทเฮือนหิน 3 ครั้ง ด้วยความศรัทธาและสำนึกในพุทธคุณ เข่าทั้งสองและอัณฑะของยักษ์ธรรมคุปต์ จึงทิ่มลงไปในหินและพื้นดิน ทำเกิดเป็นร่องหลุมขนาดใหญ่ 3 หลุม ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏอยู่ ร่องรอยเป็นหลักฐานในพื้นที่อำเภอชานุมานดั้งนี้

  1. ร่องรอยข้างซ้าย ปรากฏหลุมบริเวณหินไม่ลึกนัก และมีรูปร่างคล้ายคลึงกับอ่าง ขนาดกว้างผู้คนจึงเรียกบริเวณนั้นว่า แก่งต่างหล่าว ปัจจุบันกลายเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ ที่มีน้ำตลอดทั้งปี อยู่ในบริเวณพื้นที่ทำนาของนายคำปุน ทองจันดี และแม่วารี ทองจันดี บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุมาน โดยเจ้าของพื้นที่ ตั้งใจรักษาพื้นที่ในตำนาน
  2. รอยเข่าข้างขวา ปรากฏเป็นรอยหลุมลึก ณ บริเวณนาแมง ปัจจุบันเป็นบ่อน้ำส่วนใหญ่ ปัจจุบัน ถูกดินถมทับไปเพื่อปรับเป็นพื้นที่ทำนา ยังคงเหลือพื้นที่ บริเวณหลุมที่เป็นบ่อน้ำบางส่วน เจ้าของพื้นที่คือยายกอบ นาแมง อยู่ในเขตพื้นที่โนนสำราญ ตำบลชานุมาน
  3. รอยอัณฑะของยักษ์คุ (หลุมตรงกลาง) ณ บริเวณหนองใหญ่ ปัจจุบันหลุมดังกล่าว ถูกดินถมทับไปแล้ว พื้นปรับพื้นที่ใช้สอย เจ้าของพื้นที่คือนางนิ่มนวล นะเรืองคำ อยู่ในบริเวณบ้านยักษ์คุ ตำบลชานุมาน และส่วนแขนยักษ์คุที่กราบไป ส่วนหัว เกาะกลางน้ำโขง ที่ชาวบ้านเรียกดอนชะโนด ซึ่งปรากฏเป็นร่องรอยน้ำ ณ บริเวณหัวดอน

ตำนานยักษ์คุ เป็นเรื่องเล่าชาดกนอกนิบาตที่เป็นความเชื่อโยงกับวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ สถานที่สำคัญของอำเภอชานุมานและความสัมพันธ์สองฝั่งโขง ไทย – ลาวโดยมีเรื่องราวดังนี้

ในกาลครั้งหนึ่งพระลักษมณ์ – พระราม พานางสีดาเดินดงไปกลางป่า มียักษ์ที่ชื่อทศกัณฐ์ มาลักพาตัวนางสีดาไป ครั้งแรกขังไว้ริมแม่น้ำโขง นางสีดาร้องไห้คิดถึงพระราม บริเวณนั้นจึงเรียกว่าท่าสีดา หรือบ้านนาสีดา หรือบ้านนาสีดาในปัจจุบันยักษ์ทศกัณฐ์กลัวพระรามจะได้ยิน จึงพานางสีดาข้ามแม่น้ำโขง ไปขังไว้ที่ปราสาทเฮือนหิน(ฝั่งตรงข้ามบ้านท่ายักษ์คุ ) ตำบลชานุมาน อำเภออำนาจเจริญ ปัจจุบันเรียกบ้าเฮือนหิน แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อพระลักษมณ์และรามไล่ตามทัน จึงเข้าสู้รบกับทศกัณฐ์ ม้าของพระรามกระโดดเตะปราสาทเฮือนหินจนพัง ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ในขณะที่สู้รบกันนั้น นางสีดาได้หนีมาอยู่เกาะกลางแม่น้ำโขง แล้วปะแป้งแต่งหน้ารอพระราม จึงเรียกเกาะนี้ว่าดอนสีนวดหรือดอนชะโนด ในที่สุดเมื่อทศกัณฐ์ยอมแพ้ จึงร้องขอชีวิตโดยคุกเข่าไปที่ ปราสาทเฮือนหิน บริเวณที่คุกเข่าจึงเรียกว่า ท่ายักษ์คุกเข่า หรือท่ายักษ์คุ จนกระทั่งเป็นที่มาของคำว่าชานุมาร บริเวณยักษ์คุกเข่ากลายเป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่สามแห่งให้เห็นจนกระทั่งปัจจุบัน

หากจะเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเรื่องเล่าปรัมปรา ชาดกนอกณิบาต ที่ฟังจากตำนานโบราณของคนในทั้งถิ่นแล้ว จะพบว่า การลุกขึ้นมาต่อต้านแขกทมิฬฮินดู ในภาคอีสาน มีกระจายอยู่ทั่งทั้งภูมิภาค ไม่ว่าตำนานพระธาตุภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ตำนานพระธาตุปรางกู่ อำเภอธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด ตำนานปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชราสีมา และตำนานของชุมชนรอบๆ ปราสาทหินในพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดอีสาน จะมีตำนานการต่อสู้ของคนในพื้นที่ต่างๆ ที่คล้ายๆ กัน คือ การต่อสู้ด้วยกองทัพผู้หญิงเปลือยอก ร่วมกับกองทัพชายฉกรรจ์ ซึ่งตำนานการต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา นั้น ยิ่งใหญ่กว่าตำนานคลีโอพัตรา แห่งมาชิโดเนีย ของอียิปต์ เสียอีก

ถ้าติดตามการอ่านหลักศิลาจารึกของพระเจ้าจิตเสน ตั้งแต่ปากน้ำมูล ไปจนสุดแม่น้ำชี ก็จะพบว่า พระเจ้าจิตเสนเป็นผู้รุกรานและทำลายรูปเคารพในศาสนสถาน ทุกแห่งที่ทำการยึดครอง อีกทั้งวางศิลาจารึกไว้เพื่อแสดงออกถึงความเคารพต่อพระศิวะ และความกตัญญูต่อบรรพบุรุษในประเทศอินเดีย โดยพระเจ้าจิตเสนได้หลอกลวงคนในภูมิภาคสุวรรณภูมิด้วยกาตั้งชื่อตนเป็นกษัตรินาม พระเจ้ามเหนทรวรมันต์ ซึ่งเสมือนเป็นองค์อินทร์ ที่เป็นที่เคารพของคนในสุวรรณภูมิที่นับถือศาสนาผีหรือพระอินทร์เป็นทุนหลัก จากปรางกู่คันธนามก็ได้เปิดธาตุแท้แห่งกษัตริย์ขอมจำแลง ผู้เข้ามามีอิทธพลเหนือสุวรรณภูมิด้วยการหลอกลวง โดยกดเทพเคารพในศาสนาพราหมณ์สยามของขอมลงไปให้ต่ำกว่ารูปเคารพของฮินดู นั่นคือ ศิวลึงค์ที่ปรางกู่คันธนาม เป็นแท่งสี่เหลี่ยมอยู่ต่ำสุดเหนือแท่นโยนีขึ้นมา เหนือจากสี่เหลี่ยมจะเป็นแท่งแปดเหลี่ยม เหนือจากแท่งแปดเหลี่ยมก็จะเป็นแท่งทรงกระบอกปลายกลมมน นั่นหมายถึงเทพสูงสุดคือพระศิวะ รองลงมาคือพระวิษณุกรรม และรองลงไปอีกคือพระพรหม ที่เคยได้วิเคราะห์และตีความว่านี่เป็นหลักฐานของการต่อต้านศาสนาฮินดูในภาคอีสาน

ตามตำนานยักษ์คุชานุมาน จะพบว่า เริ่มต้นเรื่อง จะเป็นเรื่องของเมืองมนุษย์ ที่มีพระราม พระลักษม์ และนางสีดา เป็นตัวหลัก แล้วโดยทศกัณฑ์มาลักขโมยนางสีดาไป และจบที่ทศกัณฑ์พ่ายแพ้ แต่ก็ไม่ได้ถูกฆ่าจนตาย วรรณกรรมรามเกียรติ์ของเมืองไทย ก็จะประมาณนี้ ส่วนฮินดูได้เคลมรามเกียรติ์ไปด้วยการแต่งเพิ่มตอนแรกสุดคือตอนยักษ์นนทกบนสวรรค์ และตอนสุดท้ายที่พยามแต่งเรื่องโยงความเป็นเครือญาติ ซึ่งก็ไม่ได้ต่างอะไรกับพระเจ้าจิตเสนที่รุกรานสุวรรณภูมิด้วยการหลอกเป็นองค์อินทร์

ความชาญฉลาดของบรรพบุรุษสยาม คือการสร้างวัฒนธรรมที่สืบทอดเรื่องราวต่างๆ ให้ลูกหลายชาวสยามได้จดจำ ด้วยการผูกโยงเรื่องราวต่างๆ ให้เข้ากับสถานที่ สร้างประเพณีให้คนในชุมชนได้ร่วมกันแสดงออกถึงการเคารพและจดจำเรื่องราวได้ ดั่งเทศการแห่ยักคุชานุมาน เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้จดจำว่า เคยมียักษ์ซึ่งหมายถึงพวกแขกทมิฬฮินดู ได้เข้ามารุกราน จับนางสีดา ซึ่งหมายถึงแปะชาชน ไปขังไว้ที่เฮือนหิน นั่นคือการบังคับให้เคารพต่อพระศิวะที่มีศิวะลึงค์ เป็นสัญลักษณ์ ปราสาทเฮือนหิน เป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาฮินดู เทศกาลแห่งยักษ์คุชานุมาน จึงเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่แสดงออกซึ่งการสืบทอดการต่อต้าน การรุกรานความเชื่อที่จะเข้ามาทำลายพระพุทธศาสนา ที่ต้องร่วมมือกับทั้งพุทธบริษัทสี่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสถาพรของศาสนาพุทธในดินแดนสุวรรณภูมิให้ยั่งยืนต่อไป