Think In Truth
'วิสาขบูชา'วันที่ชี้ว่าพุทธศาสนาอุบัติขึ้น ณ ที่ใด โดย: ฟอนต์ สีดำ
ในวันที่ 22 พฤษภาคม2567 เป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญของโลกวันหนึ่ง ที่ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลกต้องทำพิธีลำรึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการทำบุญตักบาตรและฟังธรรมที่วัดใกล้บ้าน หรือวัดบางแห่งก็ทำการถืออุโบสถศีล เพือชำระจิตใจให้สะอาด ตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ 3 ประการในพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี เหตุการณ์ทั้ง 3 ประการนั้น คือ
1. การประสูติ
- เจ้าชายสิทธัตถะ โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติใต้ต้นสาละลุมพินีวัน ณ เมือง Lumbini ประเทศเนปาล ในวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
- พระองค์ทรงประสูติโดยไม่ต้องผ่านครรภ์ เรียกว่า "โอปปาติกะ"
- มีเทพเทวดาจากทั้ง 33 ชั้นฟ้าลงมาสักการะพระองค์
- พระองค์ทรงเดินได้ 7 ก้าว และตรัสว่า "เราจะไม่เกิดอีกต่อไป"
2. การตรัสรู้
- เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์
- ทรงผ่านการบำเพ็ญเพียรทางกายและทางใจเป็นเวลา 6 ปี
- ในที่สุดก็ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ณ เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันเพ็ญเดือน 6 ปีพุทธศักราช 35
- พระองค์ทรงค้นพบ "อริยสัจ 4" และ "มัชฌิมาปฏปทา" ซึ่งเป็นหนทางพ้นทุกข์
3. การปรินิพพาน
- พระพุทธเจ้าทรงใช้ชีวิตสอนสั่งประชาชนให้พ้นทุกข์เป็นเวลา 45 พรรษา
- พระองค์ทรงปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย ในวันเพ็ญเดือน 6 ปีพุทธศักราช 80
สิ่งที่ชวนให้คิด คือ ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือเกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตรงกัน แต่คนละปี ความมหัศจรรย์ในการเกิดเหตุการณ์สำคัญทั้งสามเหตุการณ์ คือประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เกิดขึ้นในวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ นี่ก็ยังไม่เป็นที่น่าฉงนนัก เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ สิ่งที่น่าสงสัย คือ การที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีสถานที่ที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎก คือประเทศเนปาล และประเทศอินเดีย ซึ่งในขณะเดียวกัน ในวันวิสาขบูชา พระจันทร์เต็มดวงที่ประเทศไทย โดยที่ประเทศอินเดียกับเนปาลพระจันทร์ไม่เต็มดวง ซึ่งสามารถอธิบายโดยหลักวิทยาศาสตร์ และทฤษฎีทางดาราศาสตร์ได้ดังนี้
การหมุนรอบโลกของดวงจันทร์
ดวงจันทร์ใช้เวลาโคจรรอบโลก 1 รอบ ประมาณ 27.3 วัน หรือ 655.2 ชั่วโมง ใน 1 วัน (24 ชั่วโมง) ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ไปได้ 360 องศา / 655.2 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับ ประมาณ 0.55 องศาต่อชั่วโมง ดังนั้น ใน 1 วัน ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ไปได้ ประมาณ 13.2 องศา
สำหรับระยะทางที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ใน 1 วัน นั้น คำนวณได้ดังนี้
เส้นรัศมีจากจุดศูนย์กลางของโลกมีระยะทางเฉลี่ย ประมาณ 6,371 กิโลเมตร ใน 1 รอบ ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่บนเส้นรอบโลกเป็นระยะทาง 2π * 3,671 กิโลเมตร ซึ่งเท่ากับ ประมาณ 43,731 กิโลเมตร ดังนั้น ใน 1 วัน ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ในตำแหน่งเส้นรอบโลกไปได้ ประมาณ 1,603.5 กิโลเมตร
สรุป:
- ใน 1 วัน ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ไปได้ ประมาณ 13.2 องศา
- ใน 1 วัน ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่บนเส้นรอบโลกได้ ประมาณ 1,603.5 กิโลเมตร
การเปรียบพิกัดตำแหน่งของเมืองที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในพระไตรปิฎกกับตำแหน่งที่พระจันทร์เต็มดวงในวันวิสาขบูชา คือประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยผู้เขียนขอยึดเอาตำแหน่งเดียว คือ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพราะในประเทศไทยยังไม่มีการพิสูจน์ว่าตำแหน่งไดเป็นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ถึงแม้นจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มพยายามที่จะชี้จุดตำแหน่งของการเกิดเหตุการณ์สำคัญในวันวิสาขบูชา แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับ จึงขอเอาตำแหน่งที่ใกล้เคียตำแหน่งเดียว คือตำแหน่งของพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นตำแหน่งเปรีบเทียบ ซึ่งมีสามารถระบุตำแหน่งพิกัดในแต่ละสถานที่ได้ดังนี้
1. สถานที่ประสูติ
- ชื่อสถานที่: ลุมพินีวัน
- ประเทศ: เนปาล
- พิกัด:27.2128° N, 83°42'50” E
2. สถานที่ตรัสรู้
- ชื่อสถานที่: พุทธคยา
- ประเทศ: อินเดีย
- พิกัด:25°08'94” N, 84°98'27” E
3. สถานที่ปรินิพพาน
- ชื่อสถานที่: กุสินารา
- ประเทศ: อินเดีย
- พิกัด:26°87'22” N, 83°81'04” E
4. สถานที่ดวงจันทร์เต็มดวงในวันวิสาขบูชา
- ชื่อสถานที่: พุทธมณฑล
- ประเทศ: ไทย
- พิกัด: 13°50'40”N, 100°17'46” E
เทียบช่วงเวลา และระยะระหว่างตำแหน่งที่ระบุในพระไตรปิฎกกับตำแหน่งที่พระจันทร์เต็มดวง สามารถเปรียบเทียบได้โดยนำพิกัดเส้นของแวงมาหาความต่างของมุมในการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ในแต่ละตำแหน่ง ดังนี้
1.) สถานที่ประสูติ
พิกัดของเส้นแวงของเมืองลุมพินีวัน ประเทศเนปาล= 83°42'50” E
พิกัดของเส้นแวงของพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม = 100°17'46” E
พิกัดทั้งสองเมืองต่างกัน = 16°34'56” หรือ 16.35 องศา
ดังนั้นเวลาทั้งสองเมืองห่างกัน 16.35/13.2 = 1.24 วัน หรือ 29.76 ชั่วโมง
หรือคิดเป็นระยะทางทั้งสองเมือง = 1,988 กิโลเมตร
ถ้าประเทศไทยมีพระจันทร์เต็มดวง ที่เมืองลุมพินีวัน = ขึ้น 13 ค่ำ ค่อนๆ ไป 14 ค่ำ
2) สถานที่ตรัสรู้
พิกัดของเส้นแวงของเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย = 84°98'27” E
พิกัดของเส้นแวงของพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม = 100°17'46” E
พิกัดทั้งสองเมืองต่างกัน = 16°19'19” หรือ 16.2 องศา
ดังนั้นเวลาทั้งสองเมืองห่างกัน 16.2/13.2 = 1.23 วัน หรือ 29.52 ชั่วโมง
หรือคิดเป็นระยะทางทั้งสองเมือง = 1972 กิโลเมตร
ถ้าประเทศไทยมีพระจันทร์เต็มดวง ที่เมืองลุมพุทธคยา = ขึ้น 13 ค่ำ ค่อนๆ ไป 14 ค่ำ
3) สถานที่ปรินิพพาน
พิกัดของเส้นแวงของเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย = 83°81'04” E
พิกัดของเส้นแวงของพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม = 100°17'46” E
พิกัดทั้งสองเมืองต่างกัน = 16°36'42” หรือ 16.36 องศา
ดังนั้นเวลาทั้งสองเมืองห่างกัน 16.36/13.2 = 1.24 วัน หรือ 29.76 ชั่วโมง
หรือคิดเป็นระยะทางทั้งสองเมือง = 1988 กิโลเมตร
ถ้าประเทศไทยมีพระจันทร์เต็มดวง ที่เมืองลุมพุทธคยา = ขึ้น 13 ค่ำ ค่อนๆ ไป 14 ค่ำ
จากข้อมูลดังกล่าวจะพบว่าสถานที่ทั้งประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพาน ที่ระบุในพระไตรปิฎก นั้นไม่ได้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จึงไม่สามารถจะเชื่อได้ว่า สถานที่ทั้งสามแห่ง เป็นสถานที่จริงตามที่ระบุในพระไตรปิฎกหรือไม่ ซึ่งถ้าหากว่าจะมีข้อแย้งว่า สมัยก่อน ไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย จึงไม่สามารถวัดและคำนวณออกมาได้อย่างเที่ยงตรง ซึ่งมันก็ขัดแย้งกับการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงได้ใช้ประปฏิทินจันทร์คติฉบับที่ใช้ในการคำนวณในบทความนี้ ซึ่งก็สามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้กอได้ตรงตามการคำนวณ ซึ่งถ้าหากจะอ้างว่าเครื่อมือไม่ทันสมัย ไม่สามารถคำนวณได้ตรง นั้นก็ไม่มีเหตุผลที่จะแย้งถึงความไม่ตรงของปฏิทินจันทรคติฉบับที่ใช้กับอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งใช้กันมาโดยตลอดก่อนสมัยพุทธกาล โดยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง(อ้างอิงจากการบันทึกการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ)
สิ่งที่น่าสังเกตุที่เป็นพิรุจในการกำหนดสถานที่ของเหตุการณ์สำคัญในวันวิสาขบูชา คือ การสังคายนาพระไตรปิฎก ที่มีมาบ่อยครั้งมาก ประหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ซึ่งจะมีบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ที่คนไทยไม่ทราบ พระไตรปิฎกถูกสังคยนามาแล้ว 14 ครั้ง โดยในแต่ละครั้ง ก็ไม่รู้ว่ามีเนื้อหาเดิมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรที่น้อยคนจะได้ทราบ และไม่มีใครรู้เลยว่าเนื้อหาสาระที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น มีข้อความว่าอย่างไร สิ่งที่ทำให้มีความรู้สึกว่า การบิดเบือนเนื้อหาในพระไตรปิฎกนั้นเป็นกระบวนการสมคบคิดที่เป็นกระบวนการใหญ่ ที่มีทั้งการทำลายและบิดเบือพระพุทธศาสนา เช่นตำแหน่งของเมืองกบิลพัสดุ มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จากอินเดีย มาที่เมืองกบิลพัสดุ์ อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐหรือแคว้นระบุที่ตั้งก็ไม่ตรงกับพระไตรปิฎก แต่ก็รีบชิงขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) เพื่อที่จะไม่ให้มีการค้นหาสถานที่จริงภายหลังหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นก็ยังเป็นความสงสัยที่เกิดขึ้น
จากความมีพิรุจน์ของข้อมูลหลักฐาน ที่มีความพยายามที่จะสร้างมหาศาสดาของโลกให้อุบัติขึ้นในประเทศอินเดีย เพื่อสร้างความเชื่อว่า อินเดียเป็นแหล่งอริยธรรมพุทธศาสนา ที่มีพระศาสดาที่ยิ่งใหญ่กำเนิดขึ้นที่ประเทศอินเดียนั้น เป็นความพยายามที่จะบิดเบือนความจริงหรือไม่ นั่นคือสิ่งที่ต้องค้นหา เพราะมีข้อมูลอีกหลายอย่างที่มีพิรุจไม่สอดคล้องกัน การสร้างหนังพระพุทธเจ้า พระมหาศาสดาของโลกที่สร้างโดยฮอลีวู้ด นั่นก็เป็นกระบวนการหนึ่งที่พยายามจะทำให้โลกเชื่อว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นที่อินเดีย ซึ่งก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้อินเดียฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้เท่าที่ควร ซึ่งก็มีแต่พระสงฆ์จากประเทศไทย เป็นผู้ไปจาริกเพื่อแสวงบุญ
แต่นั่นก็เป็นเพียงทุกข์ที่เกิดขึ้นจากแว็บของความคิดที่มองเห็นข้อมูลที่ไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน มีความขัดแย้งเชิงสังคมและวัฒนธรรม ที่แตกต่างไปจากสถานที่อุบัติของศาสนาพุทธมากมาย หรือแม้แต่ชื่อของตัวละครในตำนานพระพุทธศาสนา ก็ไม่สอดคล้องกับสถานที่และวัฒนธรรมทางภาษาเลย เช่น พระเจ้าสุโทธนะ ซึ่ง “สุโท” แปลว่า “ข้าวเหนียว” และ “สาโท” แปลว่า “เมรัยที่ทำจากข้าวเหนียว” ที่เป็นเหตุให้เกิดศีลข้อที่ 5 ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในอินเดีย มีสิ่งเหล่านี้กันหรือไม่??..นั่นคือความสงสัยในความไม่สอดคล้องของพระสูตรกับชีวิตจริงของสังคม รวมทั้งเวลา สถานที่ ที่ปรากฏในพระสูตรในพระไตรปิฎก ที่ถูกสังคายนามาแล้ว 14 ครั้ง จะถูกเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจากเดิมไปมากแค่ไหน
ถึงมันจะเกิดความทุกข์ อันเกิดจากความสงสัย จากพิรุจของเนื้อหา และความเชื่อที่ไม่สัมพันธ์กับความจริงของสังคม แต่ก็เป็นเพียงอารมณ์ที่รู้สึกอยากรู้ว่าความจริงคืออะไร เคยสอบถามไปยังหลายๆ คน ก็รวมทั้งพระผู้ใหญ่หลายท่าน ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน บางครั้งพระท่านก็ได้แต่ปลอบว่า “โยมจะยึดติดความสงสัยนั้นอยู่ทำไม มันเป็นทุกข์เปล่าๆ” ซึ่งนั่นก็เป็นธรรมหนึ่งที่เราได้รับจากพระผู้ใหญ่ที่ท่านอยู่ในวงการสงฆ์นี้มานาน แต่มันก็อดคิดไม่ได้ และก็ยังคงพยายามค้นหาความจริงในเรื่องต่างๆ ที่สงสัยอยู่ ซึ่งบางครั้งเราก็พบความจริงว่า มันเป็นอนิจจัง พระไตรปิฎกเองก็เป็นเช่นนั้น ความคิดของเราก็เป็นเช่นนี้ ความจริงมันก็เป็นอย่างนั้น หลักการและเหตุผลที่ถูกต้องมันก็เป็นอย่างโน้น และปัจจุบันเราเป็นอยู่อย่างนี้ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว เราก็ปล่อยวางมันไปซะ มันก็เบา ไม่เอามาหนักตัวเอง สิ่งที่นำเสนอในบทเขียนนี้ก็ไม่ได้มีเจตนาให้ท่านผู้อ่านต้องเก็บไปคิดจนยึดติดวางไม่ได้ เอาเป็นว่า เป็นเพียงเกมความคิดเพื่อให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เท่านั้นก็พอนะครับ