In Thailand
เพชรบูรณ์จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนา โจทย์วิจัยชุมชนให้ความรู้เห็ดเงินล้าน
เพชรบูรณ์-ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านโคก คนหัวเห็ดเกษตรอินทรีย์วิถีชีวิตนะโมฟาร์ม ตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจน์ คุ้มทรัพย์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาโจทย์วิจัยจากชุมชน โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเห็ด โดยมีนายประเทือง ลี้สุวรรณ และนางสาววรัญญา แสงเขียน ผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดจากนะโมฟาร์มเป็นวิทยากร ซึ่งมีเห็ดนานาชนิด จำนวน 27 ชนิด 36 สายพันธุ์ สามารถนำไปแปรรูป ต่างๆ เช่นการทำ ทาร์ตไข่ใส่เห็ดไส้กรอก ใส่เห็ด และมีเห็ดบางชนิดสามารถย่อยเศษพลาสติกได้
รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจน์ คุ้มทรัพย์ กล่าวว่า ด้วยฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ได้จัดให้มีการส่งเสริมการพัฒนา โจทย์วิจัยจากชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยที่เสริมสร้างขีด ความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้ ปรับใช้ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาในชุมชนที่นำไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าเพื่อให้นักวิจัย สามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการ พัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุน อื่น ๆ ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ จึงจัดให้มี โครงการ“ส่งเสริมการพัฒนาโจทย์วิจัยจากชุมชน” ให้กับบุคลากรสายวิชาการ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางหาโจทย์วิจัยชุมชนในการขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจน์ คุ้มทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ซึ่งโจทย์ในวันนี้ คือเห็ดเงินล้าน โดยมีชุมชนชาวบ้าน ให้ความสนใจในการเพาะเห็ด อีกทั้งยังมีการมาแลกเปลี่ยน ในการเพาะเห็ด โดยมีบุคลากรของ ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์ร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้ง จับประเด็นปัญหาในการเพาะเห็ด อีกทั้ง เรื่องของ การตลาด เพื่อส่งเสริมการขายการจำหน่าย ซึ่งที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้ไปจัด มาแล้ว 5แห่ง เช่น ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลชอนไพร อ.เมืองเพชรบูรณ์ ตำบลวังบาล อ.หล่มเก่า ตำบลแคมป์สน อ.เขาค้อ และล่าสุด คือตำบลบ้านโคก อ.เมือง ซึ่งผลตอบรับการเข้าร่วมจากชาวบ้านชุมชนค่อนข้างดี ซึ่งในการเขียนโครงการวิจัยจะได้ทุนสนับสนุนหรือไม่นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งแต่ สิ่งที่ได้คือ พันธมิตรชาวบ้านได้ความรู้นำไปประกอบอาชีพได้โดยในการอบรมในวันนี้มีการจัดสาธิต การทำขนมทาร์ตไข่ใส่เห็ดนางฟ้า และการทำไส้กรอก ซึ่งมีส่วนผสม ด้วยเห็ดนางฟ้าเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีเห็ดบางชนิด ที่สามารถ นำไปย่อยสลายเศษพลาสติกได้ด้วย