Health & Beauty

ชู2วัดไทยต้นแบบฉันอาหารแพลนท์เบส ร่วมกับ'มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการ'



กรุงเทพมหานคร –23  พฤษภาคม 2567:นับเป็นครั้งแรกของโลกก็ว่าได้ที่วัดในประเทศไทยเปิดโอกาสให้อาหารแพลนต์เบสได้เข้ามามีบทบาทช่วยถนอมสุขภาพดูแลโภชนาการของพระภิกษุสงฆ์ไทยอย่างแท้จริง“วัดวชิรธรรมาวาส ลาดกระบัง”และวัดโสภณาราม ลำลูกกาคลอง 12 นำร่องจัดอาหารแพลนท์เบสสำหรับพระลูกวัดและบุคคลากรสัปดาห์ละครั้ง

งานนี้เป็นความร่วมมือทำโครงการร่วมกันระหว่าง"วัดวชิรธรรมาวาส"ลาดกระบัง “วัดโสภณาราม”ลำลูกกาคลอง12"มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการ"  Dharma Voices for Nutrition.(DVN Foundation.)ในนาม"โครงการครัวสุขภาพพระสงฆ์" และ "โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต"ภายใต้องค์กรพิทักษ์สัตว์สากล SinergiaAnimal องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม Dharma Voices for Animals. (DVA)

“วัดวชิรธรรมาวาส”นำโดย พระครูโฆษิตสุทธสร เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมมาวาส ลาดกระบังและ“วัดโสภณาราม”ลำลูกกาคลอง 12นำโดย พระครูอาทรธัญญานุรักษ์เจ้าคณะตำบลบึงคอไห เจ้าอาวาสวัดโสภณารามเมตตาร่วมมือรับเป็นวัดต้นแบบและวัดนำร่องให้กับโครงการครัวสุขภาพพระสงฆ์ โดยมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการ ทั้งสองวัดจะบริการอาหารจากพืช 100% แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี ผู้มาปฎิบัติธรรม รวมถึงบุคคลากรที่เกี่ยวข้องสัปดาห์ละ1วัน

ตามบันทึกข้อตกลงในทุกๆ วันเสาร์ วัดวชิรธรรมาวาส ลาดกระบัง จะฉันอาหารเมนูแพลนต์เบส (การทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลักและงดทานเนื้อสัตว์) ส่วนวัดโสภณาราม ลำลูกกาคลอง 12จะฉันในมื้อเช้าของทุกวันพระ

ตลอดระยะเวลาโครงการทางมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการจะให้สูตรอาหารและบริการเข้าไปจัดสอนแม่ครัวของวัดทำเมนูสุขภาพไร้เนื้อสัตว์ฟรีไม่มีค่าใข้จ่าย โครงการเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2567 ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2568 เป็นระยะเวลา 1 ปี

“พระครูอาทรธัญญานุรักษ์”เจ้าคณะตำบลบึงคอไห เจ้าอาวาสวัดโสภณาราม และ“พระครูโฆษิตสุทธสร” เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมมาวาสเป็นพระผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เล็งเห็นผลดีของการฉันอาหารแพลนต์เบส

ที่จะทำให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี ตลอดจนผู้มาปฎิบัติธรรมและญาติโยม จะได้มีสุขภาพดีแบบยั่งยืนยาวนาน ฉันแบบไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์โลก เป็นการส่งเสริมศีล 5 และยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

เพราะการบริโภคอาหารจากพืชผัก ผลไม้ และลดปริมาณเนื้อสัตว์ลง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคเบาหวานประเภท2 โรคมะเร็งบางชนิด อาการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน รวมถึงภาวะดื้อยา นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ทำจากผัก ผลไม้ ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการลดการบริโภคเนื้อสัตว์หมายถึงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ ลดการตัดไม้ทำลายป่า และการใช้ที่ดินทำกินที่มาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ รวมถึงช่วยลดของเสียที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ

ทางมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการหวังว่า การเริ่มต้นจากวัดต้นแบบทั้งสองแห่งนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยขณะนี้มีอีกหลายวัดได้แสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการฯ นอกจากจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากองค์กรพันธมิตรต่างๆ แล้ว ขอเชิญชวนให้ทุกคนที่มีศรัทธาต่อพระศาสนาได้ช่วยกันบำรุงรักษาสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ และรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยกันผ่านการถวายภัตตาหารที่ทำมาจากพืชผัก ผลไม้แทนเนื้อสัตว์

วัดหรือหน่วยงานองค์กรใดสนใจอยากให้ทางมูลนิธิไปจัดสอนทำอาหาร บรรยายให้ความรู้ด้านโภชนาการ การใช้อาหารเป็นยาหรืออยากเข้าร่วมเป็นภาคีเครื่อข่ายกัน สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ เพจมูลนิธิเสียงธรรมเพืีอโภชนาการ https://www.facebook.com/DVNthailand?mibextid=ZbWKwL